โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ระบบทาง เดินอาหารปกติของคนเราจะประกอบไปด้วยปาก ซึ่งรวมทั้งอวัยวะภายในช่องปาก เช่น ฟันและลิ้น เป็นต้น ต่อจากปากก็จะเป็นหลอดอาหาร ซึ่งส่วนปลายของหลอดอาหารจะติดต่อกับส่วนของระบบทางเดินอาหารที่อยู่ในช่อง ท้อง กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และสุดท้ายก็คือทวารหนัก นอกจากนี้ไส้ติ่งก็อยู่ในช่องท้องเช่นเดียวกันโดยอยู่บริเวณส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ การย่อยอาหาร (digestion) หมายถึง กระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุด จนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้ การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน - กระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไป โดย
การบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถทำให้อาหารมีขนาดเล็กสุด จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้ - การย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด โดย การเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง อาหาร กับ น้ำ โดยตรง และจะใช้เอนไซม์ หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยา ผลจากการย่อยทางเคมีเมือถึงจุดสุดท้าย จะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งอาหารที่ดีรับการย่อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
ส่วนเกลือแร่ และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง การดูดซึมอาหาร (absorption) หมาย ถึง การนำอาหารโมเลกุลเล็กๆ ที่ผ่านการย่อยแล้ว ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยที่กระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่จะเป็นการดูดซึมสารจำพวกยา และแอลกอฮอล์ ในขณะที่ลำไส้เล็ก มีการดูดซึมอาหารทุกประเภทมากที่สุด ทั้งนี้ผนังของลำไส้เล็กจะมีส่วนยื่นออกมาเรียกว่า วิลลัส เพื่อ เพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม โดยภายในวิลลัสประกอบด้วยเส้นเลือดมากมายเป็นตาข่ายเพื่อรับอาหารที่ย่อย แล้ว และส่วนแกนกลางเป็นเส้นน้ำเหลือง ซึ่งจะดูดซึมอาหารพวกกรดไขมัน และกลีเซอรอล นอกจากจะย่อยสารอาหารทั้ง 3 ชนิดแล้ว ยังดูดซึมอาหารที่ย่อยได้โมเลกุลพื้นฐานของสารอาหารชนิดนั้นๆ การย่อยอาหารในลำไส้เล็กจะเกิดได้ดีในสภาวะที่เป็นเบสจากตับอ่อน เอนไซม์กับการย่อยอาหาร เอนไซม์มีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน แต่มีคุณสมบัติต่างจากโปรตีนตรงที่ เอนไซม์สามารถเร่งปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ได้ โดยที่สารที่จะเป็นเอนไซม์ได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ - สามารถเร่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ได้
- เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วเอนไซม์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและจำนวน ในขณะที่สารเริ่มต้นถูกเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
- อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ซึ่งจะทำงานได้ดีในช่วง 25 -40 องศาเซลเซียล
- สภาพความเป็นกรด-ด่างมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของเอนไซม์นั้นๆ
ส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร ปาก และฟัน จะทำหน้าที่รับอาหารและบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ต่อจากนั้นอาหารจะถูกส่งผ่านเข้าสู่หลอดอาหาร และเมื่อมาถึงกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยอาหารให้เป็นโมเลกุลที่เล็กลงไปอีก โดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะมีฤทธิ์เป็นกรด อาหารที่ย่อยผ่านจากกระเพาะจะผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็ก ซึ่งจะมีน้ำย่อยจากตับและตับอ่อนมาช่วยย่อยอาหารพวกไขมัน หลังจากนั้นอาหารจะผ่านไปสู่ส่วนต่างๆ ของลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของระบบทางเดินอาหาร อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ลำไส้เล็กนี้ อาหารที่ไม่ถูกดูดซึมจะผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่ดูดน้ำ และเกลือแร่ที่จำเป็นบางส่วนกลับเข้าสู่ร่างกาย อาหารที่ผ่านลงมาที่ลำไส้ใหญ่จะค่อยๆ รวมตัวอัดแน่นขึ้นเป็นอุจจาระ แล้วถูกขับออกจากร่างกายทางทวารหนักต่อไป - ช่องปาก ภายในประกอบด้วย ฟัน ที่มีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ลิ้น มีหน้าที่ในการคลุกเคล้าอาหาร และต่อมน้ำลายที่ สำคัญ 3 คู่ คือ ต่อมน้ำลายใต้หู ต่อมน้ำลายใต้โคนลิ้น และต่อมน้ำลายใต้ฟันกรามล่าง ต่อมน้ำลายมีหน้าที่ในการสร้างน้ำลายออกมา โดยในน้ำลายนั้นประกอบไปด้วย น้ำ กับ น้ำย่อยอะมัยเลส ซึ่งมีผลต่อการย่อยอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่
- หลอดอาหาร ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่สามารถบีบตัวเป็นจังหวะในขณะที่อาหารผ่านลงมา ในทางเดินอาหารส่วนนี้ไม่มีการสร้างน้ำย่อยออกมา แต่ มีการหลั่งสารเมือกช่วยหล่อลื่น ระหว่างกลืนอาหารก้อนอาหารจะถูกผลักผ่านหลอดอาหารอย่างเร็ว โดยการหดตัวอย่างแรง ในคน และสุนัขจะกินเวลา 4-5 วินาที ถ้าอาหารไม่ผ่านไปในการหดตัวครั้งแรกจะมีการหดตัวครั้งที่ 2 โดยการกระตุ้นจากอาหารที่ค้างอยู่ทำให้เกิดการยืดตัวของผนังท่อ การหดตัวครั้งที่ 2 นี้จะผลักอาหารสู่กระเพาะอาหารได้
- กระเพาะอาหาร ประกอบ ขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่อัดกันหนามาก ด้านในมีลักษณะเป็นสันช่วยในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลงอีก ผนังด้านในสามารถสร้างเอนไซม์เปปซิโนเจน และกรดไฮโดรคลอริก หรือกรดเกลือ เปปซิโนเจนจะถูกกรดเกลือเปลี่ยนสภาพให้กลายไปเป็นเอนไซม์เปปซิน ซึ่ง มีความสามารถในการย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า เปปไทด์ แต่ยังไม่สามารถดูดซึมได้ การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารถูกควบคุมโดยระบบประสาท และฮอร์โมน พบว่ามีฮอร์โมนหลายชนิดมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของกรเพาะอาหาร เช่น แกสตริน และโคลีซิสโตไคนิน ซึ่งมีผลในการคลายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้น แต่ทำให้กระเพาะอาหารส่วนปลายหดตัว นั่นคือการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารเป็นผลมาจากเซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่รับ สัญญาณทั้งยับยั้ง และกระตุ้น
- ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารส่วนที่ยาวมาก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ดูโอดีนัม เจจูนัม และไอเลียม ที่ ผนังลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยขึ้นมาได้ ซึ่งมีหลายชนิด นอกจากน้ำย่อยที่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ยังได้รับน้ำย่อยจากตับอ่อน และน้ำดีมาจากตับ น้ำย่อยจากตับอ่อนมีหลายชนิดที่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันได้ ลำไส้เล็กยาวทั้งสิ้นประมาณ 3.5 เท่าของความยาวของร่างกาย ดังนั้นจะยาวประมาณ 6 เมตร ลำไส้เล็กเป็นบริเวณที่เกิดการย่อยระยะสุดท้ายด้วยเอนไซม์และเป็นที่ซึ่ง อาหารมีขนาดเล็กพร้อมที่จะถูกดูดซึม การดูดซึมและการย่อยด้วยเอนไซม์ส่วนใหญ่เกิดที่ผิวของเซลล์เยื่อบุ ถ้าเราดูที่พื้นที่ผิวของลำไส้เล็กด้วยตาเปล่าจะพบว่ามีพื้นที่เพียงครึ่ง ตารางเมตร แต่พบว่าพื้นที่ผิวสำหรับการดูดซึมจะมากถึง 250 ตารางเมตร ซึ่งเท่ากับสนามเทนนิสหนึ่งสนาม
- ลำไส้ใหญ่ เป็นทางเดินอาหารส่วนสุดท้าย ซึ่งไม่มีการย่อยเกิดขึ้น จึงทำหน้าที่ในด้านการดูดซึมน้ำ เกลือแร่ และวิตามินบางชนิด ใน ระหว่างมื้ออาหารลำไส้ใหญ่จะไม่มีการเคลื่อนไหว แต่หลังจากมื้ออาหารจะพบการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากสัญญาณอันเป็นผลจากการที่ มีอาหารพวกไขมันที่ส่วนต้นๆ ของลำไส้เล็ก และการที่ลำไส้ใหญ่เองถูกยืดออกจากการมีกากอาหาร ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหว คนเราสามารถบังคับการขับถ่ายได้โดยควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดทวารชั้นนอกไม่ให้ คลายตัว และกล้ามเนื้อหูรูดทวารชั้นในหดตัว เมื่อมีอาหารใหม่ผ่านเข้ามาก็จะเกิดการกระตุ้นที่ลำไส้ตรงอีกครั้ง
การ ที่จะทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารเป็นไปได้ตามปกติ ท่านจะต้องเอาใจใส่ดูแลให้ส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารได้ทำงานตามปกติ โดยหมั่นตรวจสอบสุขภาพปาก และฟัน รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รับประทานอาหารที่จะมีผลเสียต่อทางเดินอาหารส่วนต่างๆ เช่น ไม่ รับประทานอาหารเผ็ด อาหารรสจัด อาหารที่มีสารพิษหรือสารก่อมะเร็งปนเปื้อน รับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ และประเภทที่มีกากใยเพียงพอ ที่จะทำให้การขับถ่ายเป็นไปได้ตามปกติและ เชื่อกันว่า อาหารที่มีกากใยมากจะช่วยทำให้สารพิษหรือสารก่อมะเร็งทั้งหลายที่ปนกับอาหาร ได้ถูกขับออกมาได้เร็วขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งในร่างกาย ได้น้อยกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อ |