เป็นการเขียนเพื่อบอกความเป็นมา เกี่ยวกับประเด็นของหัวข้อ และกล่าวถึงปัญหาในลักษณะกว้างๆ เข้าสู่แคบๆ พร้อมบอกเหตุผลที่ทำสัมมนาหรือประเด็นนี้ หรือเรียกร้องถึงความสำคัญ ของประเด็นที่จะนำเสนอ
การเขียนคํานํา และ ตัวอย่างคํานํา
การเขียนคำนำ การเขียนคำนำที่ถูกต้องเหมาะสำหรับทำรายงาน พร้อมตัวอย่างการเขียนคำนำ
เป็นการเขียนเพื่อบอกความเป็นมา เกี่ยวกับประเด็นของหัวข้อ และกล่าวถึงปัญหาในลักษณะกว้างๆ เข้าสู่แคบๆ พร้อมบอกเหตุผลที่ทำสัมมนาหรือประเด็นนี้ หรือเรียกร้องถึงความสำคัญ ของประเด็นที่จะนำเสนอ
โดยหน้านี้อาจมีหัวเรื่องซ้ำอีกก็ได้ และเพื่อให้มีความสมบูรณ์ในหน้านี้ ควรเริ่มมีอ้างอิงในเนื้อเรื่อง
การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง
คือ การบอกถึงแหล่งข้อมูลที่นำมาจากเอกสารฉบับไหน หนังสือ หรือ วารสาร และเอกสารตีพิมพ์เล่มใด หากมีผู้สนใจและอยากศึกษาเพิ่มเติมในเนื้อหาจะได้กลับไปตามจากแหล่งข้อมูล ดังกล่าว
การอ้างอิงจะมี 2 แบบ คือ การอ้างอิงนอกเนื้อเรื่อง หรือการเขียนเอกสารอ้างอิง ซึ่งการเขียนแบบที่ 2 จะขอพูดในหัวข้อถัดไป
การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง จะขอพูดก่อนเนื่องจากในบทนำจะเริ่มมีการอ้างอิงในเนื้อเรื่องบางแล้ว และการอ้างอิงในเนื้อเรื่องเมื่อตรวจกับอ้างอิงนอกเนื้อเรื่อง หรือการเขียนเอกสารอ้างอิง จะต้องพบ และบอกรายละเอียดครบ สามารถสืบค้นและติดตามได้ โดยการเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องจะมี 3 ลักษณะ คือ
การเขียนอ้างอิงต้นประโยค โดยใช้รูปแบบ ชื่อ (พ.ศ. หรือ ค.ศ. พบว่า………………)
ซึ่งชื่ออาจจะมีทั้ง 2 คน 3 คน หรือมากกว่า ถ้ามากกว่า 3 คน ให้ใช้คำว่า และคณะ (….) ในภาษาอังกฤษใช้ et al. (….) โดยจะเอียงหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องเหมือนกันหมด ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะใช้สกุลมาอ้างอิง เช่น O. P. Thomas. 1982. เวลาเขียนอ้างอิงต้นประโยคให้อ้างอิงว่า Thomas (1982) เป็นต้น และ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ใช้จะต้องเป็นปีที่ตีพิมพ์ ส่วนประโยคต่อปีที่ตีพิมพ์ อาจใช้คำว่า พบว่า……, รายงานว่า……, กล่าวว่า…….., แสดงให้เห็นว่า………หรืออื่นๆ การอ้างแบบนี้รวมถึงข้อมูลจากเว็ปไซด์ด้วย ตัวอย่างเช่น
ธันวา (มปพ.) กล่าวว่า……….(ในกรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์)…………….……………………………………
นิรนาม (2547) แนะนำว่า………..(กรณีไม่ทราบผู้แต่ง)………………………………………………………
สุกัญญา (2539) พบว่า…………………………………………..……………………………………………………………
สินชัย และนวลจันทร์ (2530) รายงานว่า……………………………………………………………………………
สาโรช และคณะ (2521) อธิบายว่า……………………………………………………………………………………..
อุทัย และคณะ (2533 ข) ; สาโรช และเยาวมาลย์ (2528) ศึกษาพบว่า…………………………
Thunwa (eds.) กล่าวว่า………………..(ในกรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์)…………………………………….
Anonymous (2004) แนะนำว่า……………(กรณีไม่ทราบผู้แต่งชาวต่างประเทศ)……………….
Coon (1971) แสดงให้เห็นว่า………………………………………………………………………………………..
Fox and Vevers (1960) เสนอว่า………………………………………………………………………………….
Banday et al. (1992) เสนอแนะว่า……………………………………………………………………………….
Coon (1971) ; Fox and Vevers (1960) ; Banday et al. (1992) ได้ศึกษาเปรียบ
เทียบพบว่า……………………………………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ : อุทัย และคณะ (2533 ข) คือ กรณี ชื่อ และ พ.ศ. ทั้งไทย และอังกฤษซ้ำจึงใช้อักษรกำกับรวมถึงการเขียนอ้างอิงนอกเนื้อหาด้วย
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงต้นประโยค
การเขียนอ้างอิงท้ายประโยค โดยใช้รูปแบบ (ชื่อ, พ.ศ. หรือ ค.ศ.) โดยจะมี
ลักษณะการเขียนชื่อและพ.ศ. คล้ายการเขียนอ้างอิงต้นประโยค
ตัวอย่างเช่น
………………………………………………(ธันวา, มปพ.) กรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์
………………………………………………(นิรนาม, 2547) กรณีไม่ทราบผู้แต่ง
………………………………………………(สุกัญญา, 2539)
………………………………………………(สินชัย และนวลจันทร์, 2530)
………………………………………………(สาโรช และคณะ, 2521)
……………………………(อุทัย และคณะ, 2533 ข ; สาโรช และเยาวมาลย์, 2528)
……………………………(Thunwa, eds.) กรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์
……………………………(Anonymous, 2004) กรณีไม่ทราบผู้แต่งชาวต่างประเทศ
……………………………(Coon, 1971)
……………………………(Fox and Vevers, 1960)
……………………………(Banday et al., 1992)
……………………(Coon, 1971 ; Fox and Vevers, 1960 ; Banday et al., 1992)
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงท้ายประโยค
การเขียนอ้างอิงแบบเชื่อมต่อ โดยใช้รูปแบบ …..………………สอดคล้อง กับ ชื่อ (พ.ศ.
หรือ ค.ศ.) หรือ ขัดแย้งกับ ชื่อ (พ.ศ. หรือ ค.ศ.) การเขียนอ้างอิงแบบเชื่อมต่อนี้ เป็นการผสมการเขียนอ้างอิงต้นประโยค และการเขียนอ้างอิงท้ายประโยค โดยรูปแบบการเชื่อมประโยค จะคล้ายกับรูปแบบการเขียนอ้างอิง ทั้ง ชื่อ และ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ตีพิมพ์ ตัวอย่างเช่น
สุกัญญา (2539) พบว่า…………………….สอดคล้องกับรายงานของ Fox and vevers (1960) ที่เสนอว่า…………………………………………… แต่ขัดแข้งกับ Banday et al. (1992) โดยอธิบายว่า…………………………………………………………………………………………………………………………….
จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว………………………………………………(Coon, 1971 ; Fox and Vevers, 1960 ; Bandan et al., 1992)
ตัวอย่างคํานํา
คํานําทำรายงานเรื่องระบบสืบพันธุ์
เนื่องจากระบบสืบพันธุ์เป็นระบบที่สำคัญระบบหนึ่งของร่างกาย ที่ทำหน้าที่ในการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์
ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงได้อาศัยตำราหลบายเล่ม ซึ่งขอขอบคุณห้องสมุด.................
เป็นอย่างสูง ที่ให้โอกาสค้นคว้าเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ขอขอบพระคุณคุณครู..................................
ผู้สอน ที่ท่านได้ให้คำแนะนำ จนรายงานฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้าพเจ้าหวังว่า เนื้อหาในรายงาน
ที่ได้เรียบเรียงมาอย่างละเอียดนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี หากมีสิ่งที่จะต้องปรับปรุง
ข้าพเจ้าพร้อมรับฟังและแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป ขอขอบคุณ
การเขียนคํานํา , ตัวอย่างการเขียนคํานํา , การเขียนคํานํารายงาน , วิธีการเขียนคํานําที่ดี , ตัวอย่างการเขียนคํานํารายงาน , การเขียนคํานํารายงานที่ถูกต้อง , ตัวอย่างการเขียนคํานําในรายงาน
ที่มา www.aimza.com