เขียน คำลงท้าย จดหมายสมัครงาน นิยมกันมากที่สุด เพราะดูดี


6,871 ผู้ชม


โครงสร้าง ของจดหมายสมัครงาน (Structure of Application Letter)

โดยรวบรัด เพื่อสะดวกต่อการใช้งานโดยสรุปแล้วจดหมายสมัครงาน ประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่ 8 ส่วนตามโครงสร้างนี้


1. ที่อยู่ของผู้ส่งจดหมาย (Sender's address)
ต้องเขียนให้ละเอียด และสะกดคำให้ถูกต้อง
2. วันเดือนปี (Date)
ควรเขียนคำเต็มอย่าย่อดังที่เคยอธิบายมาแล้ว
3. ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ (Receiver's address)
คือชื่อ และที่อยู่ของนายจ้างซึ่งดูได้จากโฆษณานั้นๆ
4. คำขึ้นต้นจดหมาย (Salutation)
ก็คือ การทักทายกันนั่นเอง ซึ่งก็มีกฎย่อๆ ว่า ถ้าไม่ทราบชื่อผู้รับก็ใช้ Dear, Sir, Dear Madam, เป็นต้น
และลงท้ายจดหมายว่า yours faith fully, แต่ถ้าทราบชื่อผู้รับก็ให้ใช้ผู้รับ เช่น Dear Mr. Aslin,
และลงท้ายจดหมายว่า Yours Sincerely, เป็นต้น
5. เนื้อหาของจดหมาย (Body of Letter)
โดยปกติเนื้อหาจดหมายจะแบ่งออกเป็นแค่ 3 ย่อหน้าเท่านั้น โดยแต่ละย่อหน้าประกอบด้วยเนื้อหา
คร่าวๆ ดังนี้
ย่อหน้าที่ 1 - วัน เดือน ปี ของข้อความที่ลงโฆษณา - แหล่งที่พบข้อความที่ลงโฆษณา -
บอกตำแหน่งงานที่ตนสมัคร
ย่อหน้าที่ 2 - อายุของผู้สมัคร - สถานภาพการสมรส และสุขภาพ - วุฒิการศึกษา พร้อมทั้ง
ระบุวิชาที่เรียน - ประสบการณ์ที่สำคัญ หรือความสำเร็จที่ได้รับการยกย่อง
ย่อหน้าที่ 3 - อาจจะบอกว่าได้แนบเอกสารอื่นๆ มาด้วย - บอกเหตุผลที่ต้องการงานนี้
-ขอเข้ารับการสอบสัมภาษณ์
6. คำลงท้ายจดหมาย (Complimentary Close)
(ดูเพิ่มเติมในข้อ 4)
7. ลายเซ็น (Signature)
เมื่อเซ็นแล้วต้องมีชื่อนามสกุลเต็มกำกับไว้ด้วย
8. สิ่งที่ส่งมาด้วย (Enclosures)
อาจจะใช้คำย่อว่า Enc: หรือ Encl: แล้วระบุเอกสารที่แนบไปด้วยนั้น ตามลำดับ ครับก็คงจะละเอียด พอที่จะเข้าใจนะครับ

---------------------------------------------

การเขียนประวัติย่อ Resume

อนึ่ง คำว่า "Resume" นี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า
Summary  แปลเป็นไทยสรุปหรือย่อฉะนั้นเวลาเขียน จะใช้การสะกดแบบ
ฝรั่งเศส หรือแบบภาษาอังกฤษ ก็ได้ด้วยกันทั้ง 2 แบบ ปัจจุบันนี้ Resume
นับว่ามีความสำคัญเท่าๆกับจดหมายสมัครงาน(ApplicationLetter)ก็แทบจะว่าได้
จะเห็นได้จากข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่างๆโดย
ฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อมกับจดหมายสมัครงานด้วย
ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่า ผู้สมัครต้องแนบเอกสาร
อะไรไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น
1. If you are interested, please send application in English with resume, detailed with your experience
and qualifications together with one recent photo to............
(ถ้าท่านสนใจ โปรดส่งจดหมายสมัคร เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยประวัติย่อและรายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์และคุณวุฒิ พร้อมกับทั้งรูปถ่ายหนึ่งรูปไปยัง......)
2. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to............
(โปรดยื่นจดหมายสมัครงาน พร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนวประวัติย่อ และรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่...........)
3. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to..............
(โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง............)
4. Please address your application with full resume, salary expected, recent photograph, and telephone number to...............
(โปรดส่งจดหมายสมัครงานพร้อมด้วยประวัติย่อ เงินเดือนที่ต้องการ รูปถ่ายปัจจุบัน และหมายเลขโทรศัพท์ไปยัง.........)
5. Interested person please send application with full resume, salary required and a recent photo to .........)
(ผู้ที่สนใจโปรดส่งจดหมายสมัครงานพร้อมด้วยประวัติย่อ เงินเดือนที่ต้องการ และรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง............)
6. Please apply in person or in handwriting in English with full resume giving details of working experience, qualifications, contacting place and telephone number, and send a copy of transcript, ID Card, House Registration together with one recent photo to..........
(โปรด สมัครด้วยตนเอง หรือส่งจดหมายสมัครงาน เขียนด้วยลายมือเป็นภาษาอังกฤษพร้อมทั้งประวัติย่อ
ซึ่ง ให้รายละเอียด เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน คุณวุฒิ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และส่งสำเนาผลการศึกษา บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปยัง...)
7. Please apply in writing giving full resume and recent photo to........
(โปรดเขียนจดหมายสมัครงานด้วยลายมือตนเอง พร้อมทั้งให้ข้อมูลเต็มในประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง.......)
จาก ตัวอย่างทั้ง 7 ข้อที่มาให้ดูนี้ ก็จะพบว่าส่วนใหญ่นายจ้างต้องการ Resume ของเราด้วยนั่นก็หมายความว่า Resume มีความสำคัญมากในกระบวนการสมัครงานเช่นกัน


Resume มี 3 รูปแบบด้วยกัน
การเขียน Resume ที่นิยมพูดถึงกันบ่อยที่สุดมีอยู่ 2 แบบ นั่นคือแบบที่
"เรียงตามลำดับเวลา"  (Chronological) และ "เรียงตามหน้าที่" (Functional)
ทั้งสองแบบมีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบในตัวเอง เมื่อถึงเวลาต้องนำเสนอข้อมูล 
สำหรับรูปแบบที่สาม ซึ่งผสมทั้งสองแบบแรกไว้ด้วยกัน กำลังได้รับความนิยม
มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง ลองมาดูภาพรวมของแต่ละแบบ เพื่อที่คุณจะได้ตัดสินใจ
ได้ว่าแบบไหนคือ Resume ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
1. เรียงตามลำดับเวลา
Resume แบบเรียงตามลำดับเวลา เป็นรูปแบบที่ธรรมดาที่สุด และนายจ้างก็ชอบมากที่สุดเหมือนกัน รูปแบบนี้จะเน้นไปที่ ประสบการณ์การทำงาน
ประวัติการทำงานของผู้สมัคร จะต้องกลับกันกับลำดับเวลา นั่นคืองานล่าสุด จะต้องอยู่บนสุดในรายการ Resume แบบเรียงตามเวลาจะเป็นประโยชน์์
อย่างยิ่งถ้าประสบการณ์ทำงานของคุณ มีความเกี่ยวข้องกับงานที่สมัคร และคุณก็ต้องการอยู่ในอาชีพสายเดิมต่อไป ว่าที่นายจ้างจะสามารถเห็น
ได้อย่างง่ายดาย ว่าคุณทำอะไรไปบ้างคุณก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไร และเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาอย่างไร ถึงแม้ว่ารูปแบบนี้จะเป็นที่นิยมมากก็ตาม
แต่ก็มีเหตุผลบางอย่างที่ Resume แบบนี้อาจไม่ใช่สำหรับคุณถ้าคุณเพิ่งจะก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่ชีวิตของการทำงาน Resume
แบบนี้จะทำให้คุณเป็นผู้ "ขาดประสบการณ์" ไปทันทีหรือ ถ้าคุณกำลังสมัครงานอีกครั้ง หลังจากที่หายไปเป็นเวลานาน ใน Resume แบบนี้จะบ่งชี้
ได้อย่างดีว่าคุณอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร โดยมีรูโหว่ ในประวัติการทำงานของคุณ จะเป็นหลักฐาน และคุณก็อาจถูกถามถึงเหตุผลด้วย และในทำนองเดียวกัน
ประวัติการทำงาน ที่เต็มไปด้วยงาน ระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้นายจ้างในอนาคตของคุณ สงสัยว่าคุณจะมีความสามารถ "ถูกจ้าง" ได้อีกหรือไม่
ประวัติการทำงานยาวๆ อยู่กับบริษัทเพียงแห่งเดียวอาจบอกอะไรเป็นนัยๆ ได้ เป็นต้นว่าคุณอาจรู้สึกอึดอัดใจที่จะทำงานต่อไป
2. แบบเรียงตามหน้าที่รับผิดชอบ
Resume แบบนี้ไม่ได้เรียงตามลำดับเวลา แต่จะเน้นที่ทักษะ และผลงานของคุณ ประวัติการทำงานจะสรุปไว้ หรือหลีกเลี่ยงที่จะนำมารวมกัน
ทักษะและประสบการณ์ตรงที่ผ่านมา (รวมถึงการศึกษา)จะนำมาไว้ตอนต้นของ Resume  ซึ่งถูกจัดรวมไว้ เพื่อที่ว่าที่นายจ้างจะได้เห็นว่า ทักษะของคุณนั้น
เกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัครอย่างไร (ใน Resume แบบเรียงตามลำดับเวลา นายจ้างอาจแค่ดูที่งานที่คุณเคยทำมาก่อนเพื่อดูว่าคุณมีประสบการณ์ที่เขา ต้องการ)
Resume แบบนี้อาจต้องใช้ความพยายาม ในการเขียนมากกว่า แต่คุณก็มีอิสระ ในการเน้นที่พรสวรรค์ของคุณแทนที่จะเป็นประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา
Resume แบบเรียงตามหน้าที่รับผิดชอบ จะช่วยคุณได้มาก หากคุณเคยดำรงตำแหน่งคล้ายๆกันมาบ้าง  ซึ่งจะทำให้คุณ  "ตอกย้ำ"  ทักษะของคุณได้มากกว่า
การลงรายละเอียด ประวัติการทำงานที่ไม่จำเป็นแต่ Resume แบบเรียงตามหน้าที่นี้ อาจเพิ่มความสงสัยให้แก่นายจ้าง ว่าคุณกำลังปิดบังข้อมูลอะไรบางอย่าง
ไม่ได้หมายความว่า Resume แบบเรียงตามหน้าที่ จะถูกละเลยหรือเป็น Resume ที่ไม่ได้ผล แต่นายจ้างที่กำลังมองหา ประวัติการทำงานที่โปร่งใส
ชัดเจนอาจจะไม่ชอบ Resume รูปแบบนี้นัก โดยเฉพาะถ้าคุณใช้ เพื่อปิดบังประสบการณ์ หรือช่วงห่าง ระหว่างประวัติการทำงานของคุณถ้าคุณไม่มีปัญหาใดๆ ล่ะก็
จงใช้ Resume แบบเรียงตามลำดับเวลาจะดีกว่า ถ้าคุณยังชอบไอเดีย ของการเรียงตามหน้าที่ คุณอาจทำให้มันเป็นที่ยอมรับมากขึ้นโดยการรวมสองอย่างเข้าด้วยกัน
3. Resume แบบผสม
Resume แบบนี้ก็คือ การนำ Resume แบบเรียงตามหน้าที่ โดยเพิ่มประวัติการทำงานเข้าไปทักษะและผลงาน ยังคงนำมาไว้เป็นอันดับแรก จากนั้นตามด้วยประวัติ
การทำงาน คุณต้องบอกด้วยว่าทำงานที่ไหน เมื่อไหร่ และตำแหน่งอะไร Resume แบบนี้จะทำให้นายจ้างไม่ลำบากใจในประสบการณ์การทำงานของคุณ และยังคง
ทำให้คุณ สามารถเน้นความสามารถ และเน้นว่าคุณจะใช้ความสามารถนั้น กับงานที่คุณสมัครได้อย่างไร ในขณะที่เหล่านายจ้างทั้งหลายก็ยังคงชอบ
Resumeแบบเรียงตามลำดับเวลามากกว่า และ Resume แบบผสมผสานก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง



7 องค์ประกอบสำคัญของประวัติย่อ Resume

เนื้อหาของ ประวัติย่อ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่ทราบเรื่องเหล่านี้แล้ว จะเขียน Resume ให้ดีได้ยาก

1. หัวเรื่อง (Heading)
ซึ่ง ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุด ส่วนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก (Low case letters)

2. จุดมุ่งหมาย (Objective)
จุด มุ่งหมายหรือตำแหน่งที่ต้องการสมัคร (Career objective/Position sought) ถ้าต้องการสมัครในตำแหน่งใด ก็ให้ระบุชื่อตำแหน่งนั้น หรือไม่ก็อาจจะบอกเป็นสายงานที่ตนต้องการทำก็ได้

3. การศึกษา (Education)
เช่น จบจากไหน สาขาวิชาอะไร จบเมื่อไร แล้วให้ระบุการศึกษา จบมาล่าสุดไว้ก่อน กล่าวคือ อาจจะเรียงการศึกษา ชั้นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ซึ่งโดยมากขั้นต่ำสุด ระบุแค่ชั้นมัธยม ไม่ต้องไปถึงชั้น  ประถม ผลการเรียนเป็นอย่างไร การศึกษาหลักสูตรพิเศษอื่นๆ มีอะไรบ้าง อะไรคือวิชาเอก (Major) วิชาโท (Minor) ส่วนปริญญาที่ได้รับ ก็ไม่ควรใช้คำย่อ ควรมีคำเต็มกำกับ และในกรณี ที่จบจากต่างประเทศ ก็ควรระบุประเทศ ที่จบการศึกษานั้นๆ มาด้วย เช่น Master of Business Administration (MBA), USA, (ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา)

4. ประสบการณ์ (Experience)
ประสบการณ์ ในการทำงานนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการสมัครงาน เพราะนายจ้างสามารถใช้รายละเอียดเหล่านี้ นำไปพิจารณาเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า เหมาะสมกับงานในหน่วยงานของตนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วนักศึกษาจบใหม่ จะมีประสบการณ์น้อย หรือแทบไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควร ระบุงานที่เคยทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทำเต็มเวลา (Full-time) หรือทำไม่เต็มเวลา (Part-time) ก็ตาม หรือแม้แต่งานที่ทำโดยไม่มีค่าจ้างตอบแทนก็ตาม ซึ่งก็อาจจะเป็นกิจกรรมพิเศษ หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Special-Activities Or Extra-curriculum activities) เช่น เคยเป็นผู้นำนักศึกษา หรือหัวหน้าทีมนักกีฬา เป็นต้น

5. คุณสมบัติพิเศษ (Special Qualifications)
เกี่ยว กับคุณสมบัติพิเศษนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมี ถ้าไม่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ก็ตัดออกไป คุณสมบัติพิเศษที่กล่าวถึงนี้ เช่น ความสามารถทางด้านภาษา ด้านการเขียน หรือขับรถยนต์ได้ รู้เส้นทางดี เป็นต้น

6. รายละเอียดส่วนตัว (Personal Details) รายละเอียดส่วนตัวประกอบด้วย

    1. Sex = เพศ

    2. age = อายุ

    3. Date of birth = วันเดือนปีเกิด

    4. height = ความสูง

    5. weight =น้ำหนัก

    6. health = สุขภาพ (ใช้ good health หรือ Excellent)

    7. address = ที่อยู่

    8. Marital status = สถานภาพการสมรส (Married/Single) หรืออาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม

    9. religion = ศาสนา

    10. Military status = สถานภาพทางทหาร

    11. Place of birth = สถานที่เกิด

    12. nationality = สัญชาติ

    13. race = เชื้อชาติ

7. บุคคลอ้างอิง (References)
บุคคล ที่เป็นนายจ้างเก่าของเรา จะเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เป็นบุคคลอ้างอิง แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้ออกจากงาน กลัวนายจ้างจะรู้ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็น ครู อาจารย์ที่เคยสอน เพื่อนร่วมธุรกิจ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ต้องไม่ใช่ญาติ หรือเพื่อนสนิทของเรา และที่เรียกว่าบุคคล อ้างอิง อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่จะสามารถ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของเราได้ และควร
อ้างมา 2-3 ท่าน พร้อมทั้งที่อยู่ที่จะติดต่อได้ และอาชีพของเขาเหล่านั้น

อัพเดทล่าสุด