กริชปัตตานี (กริช ปัตตานี) มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี


2,150 ผู้ชม


กริชปัตตานี (กริช ปัตตานี) มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี

ปากฝักกริชชวา อีกแบบเรียก กายามัน Gayaman
ปากฝักจะรีๆหัวมนท้ายมน เหมือนเรือแคนนู
พบทั้งแบบหัวกระกดและแบบหัวไม่กระดก
กริชปัตตานี (กริช ปัตตานี) มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี
กริชปัตตานี (กริช ปัตตานี) มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี
ปากฝักกายามัน สไตล์ ยอคยาการ์ต้า เหมือนเรือแจว
กริชปัตตานี (กริช ปัตตานี) มีดกริชปัตตานี แหล่งสั่งทำกริชปัตตานี

กริช เป็นศาสตราวุธชนิดหนึ่ง มีลักษณะปลายแหลมมีขนาดสั้นบ้าง ยาวบ้าง ความยาวเฉลี่ยประมาณ 12-16 นิ้ว รูปตรงแต่ปลายเรียวแหลมเล็กก็มี ตรงกลางป่องก็มี เป็นรูปคดไปคดมาอย่างที่เรียกว่าคดกริชก็มี คดแต่ตอนปลายเพียงคดเดียวก็มี ชาวมลายูถือว่านักรบผู้ใดถือกริชหลายคด ผู้นั้นนับเป็นเป็นนักรบผู้ยิ่งยง และมีอำนาจเหนือกองทัพ มีคมสองคมใช้สำหรับฟันด้ายก็มี มีด้ามขนาดสั้นพอเหมาะ แต่การจะกำไว้ในมือได้สะดวก ด้ามและฟักมักแกะสลักเป็นรูปและลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม บางด้ามประดับด้วยเงิน ทองหรือทองแดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะผู้เป็นเจ้าของเป็นประการสำคัญ
กริชเป็นอาวุธประจำตัว ที่เคยนิยมใช้กันในภาคใต้ตลอดไปจนถึงชวา มาเลเซีย และประเทศใกล้เคียง เคยเป็นอาวุธประจำชาติของชวา และมาเลเซีย รวมทั้งถูกจัดอยู่ในเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่ง ของพระมหากษัตริย์ ของทั้งสองประเทศมาก่อน กริช นอกจากจะเป็นอาวุธสำคัญแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งถึงความเป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ผู้เป็นเจ้าของหรือวงตระกูลด้วย กริชถือเป็นของสำคัญ สามารถใช้แทนตัวเจ้าบ่าว ที่ติดภาระกิจอื่นได้และจะได้รับการพกพาติดตัวตลอด แม้แต่เวลาอาบน้ำหรือเข้านอน

- ประวัติความเป็นของกริช ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่ากริชเกิดขึ้น ในประเทศอินเดียก่อน เดิมมีลักษณะไม่ได้คดทำจากเขาเลียงผาชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่าชาวมลายูจำลองรูปกริชจากเขี้ยวเสือ บ้างก็ว่ากริชเริ่มปรากฏมีในประเทศอินโดนีเซียหรือชวาสมัยอิเหนา หรือ ปันหยี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2460 แต่หลักฐานเก่าแก่ที่พบ ณ เทวสถานแห่งหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ราว 600 ปี เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยนั้น มีปรากฏในจดหมายเหตุ ของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ พ.ศ. 2236 กล่าวถึงอาวุธของไทยว่า มีกริชรวมอยู่ด้วย และพระเจ้าแผ่นดิน เคยพระราชทานกริช แก่ข้าราชบริพารใช้เหน็บเอวทางด้านซ้ายก็มี
เมื่อ ประมาณ 200 – 300 ปีก่อน เจ้าเมืองรามันห์หรืออำเภอรามัน จังหวัดยะลา ปัจจุบัน ประสงค์จะให้มีกริช เป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง และต้องการมีกริชประจำตัวด้วยถึงกับเชิญช่างผู้ชำนาญการจากประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อว่า ช่างบันไดซาระ มาทำกริชที่เมืองรามันห์ในรูปแบบปัตตานีและรูปแบบรามันห์ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ จนกริชรูปแบบนี้ถูกเรียกขานในท้องถิ่นว่า กริชรูปแบบบันไดซาระ ตามชื่อของช่างทำกริชชาวชวาผู้นั้น ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการสืบทอดการทำกริช ในพื้นที่เมืองรามันห์ โดยเฉพาะที่ตำบลตะโล๊ะหะลอ มาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน กริชที่เมืองรามันห์นิยมทำเป็นหัวนกพังกะมากกว่าชนิดอื่น นกพังกะ คือนกที่มีปีกและตัวสีเขียวปากยาวสีแดงอมเหลือง คอขาวบ้างแดงบ้าง นอกจากนี้ยังทำเป็นหัวรูปไก่ หัวงูจงอาง และรูปคน ส่วนใหญ่สลักด้วยไม้หรือกระดูกปลา กริชมีหลายรูปแบบ เช่น กริชแบบกลุ่มบาหลี และมดุรา กริชแบบชวา กริชแบบคาบสมุทรตอนเหนือ กริชแบบบูกิส กริชแบบสุมาตรา กริชแบบปัตตานี กริชแบบซุนดา หรือซุนดัง และกริชแบบสกุลช่างสงขลา.....

จรรยาบรรณของช่างทำกริชขั้นพื้นฐาน มี 25 ข้อ ดังนี้ :
1. ก่อนจะลงมือทำกริชแต่ละครั้ง ทั้งผู้ทำและผู้สั่งทำจะต้องทำใจให้บริสุทธิ์เสมอ ภูมิปัญญาข้อนี้ บ่งบอกถึงการที่จะร่วมทำกิจกรรมด้วยกันนั้น จำเป็นจะต้องมีการทำใจให้มีจิตสำนึกที่ดี มีความนึกคิด ที่จะทำกริชให้ได้สมหวัง คนในสมัยโบราณ ถ้าเป็นมุสลิมทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ทำกริช และผู้สั่งทำกริชจะนัดวันปอซอ (ถือศีลอด) ก่อนสักวันสองวันสุดแล้วแต่กำหนดจึงจะมาลงมือทำกริชขึ้นมา
2. จะไม่ทำกริชขึ้นมาหากไม่มีคนสั่งทำ ภูมิปัญญาบอกว่า ช่างทำกริชจะไม่ทำกริชขึ้นมาตามใจชอบของช่างเอง โดยไม่มีคนสั่งทำทั้งจำนวน และรูปแบบของกริช เพราะช่างทำกริช เป็นเพียงผู้รับใช้บริการเท่านั้น ในสมัยโบราณนั้น ผู้บริหารจัดการในเรื่องกริชนี้เป็นเจ้าเมือง
3. จะไม่ทำอุปกรณ์และเครื่องมือ เกี่ยวกับการล่าสัตว์ป่าหากไม่มีคนสั่งทำ ในสมัยโบราณนั้นสัตว์ป่า เป็นสัตว์คุ้มครองอยู่ภายใต้อำนาจของเจ้าเมือง ฉะนั้นการทำเครื่องมือการล่าสัตว์ป่าอย่างเช่น (สา) , (ตะขอ , กอซอ) สำหรับใช้งานกับช้าง ฯลฯ ถ้าหากไม่มีคำสั่งจากเจ้าเมือง ก็จะทำขึ้นมาไม่ได้
4. ห้ามช่างทำกริชทำกริชให้กับผู้ใด ผู้หนึ่ง โดยไม่มีคนสั่งทำ ในสมัยโบราณช่างกริช จะทำกริชขึ้นมาโดยพละการไม่ได้ และจะทำให้กับผู้ใดผู้หนึ่งโดยไม่มีใครสั่งให้ทำนั้น ถือว่าช่างทำกริชมีจิตใจ ที่ไม่บริสุทธิ์ ประจบสอพลอ แต่จะทำให้กับเจ้าเมืองได้ เพราะถือว่าด้วยความจงรักภักดี
5. ห้ามช่างทำกริชโชว์ผลงาน โดยไม่มีคนสั่งหรือขอดู กริชที่ทำขึ้นมาเสร็จแล้วนั้น ช่างทำกริชจะไม่ให้คนอื่นดู นอกจากเจ้าของกริช ที่สั่งทำเท่านั้นเอง ,หากไม่มีคำยินยอม จากเจ้าของที่สั่งทำ และหากไม่มีใครขอดูแล้วก็ช่างทำกริช ไม่สามารถโชว์กริชที่ตนทำขึ้นมา
6. ห้ามช่างทำกริช รับเงินมัดจำค่าจ้างล่วงหน้า การทำกริชเป็นเรื่องที่ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น จบเรื่องแล้วจบทันทีไม่มีภาระผูกพันธ์ซึ่งจะนำไปสู่ทุกข์ต่อไปได้
7. หากมีเด็กและผู้ใหญ่มาสั่งทำกริชพร้อมๆ กัน จะต้องรับทำของเด็กก่อนเสมอ การทำกริช เป็นการบริการที่สนองความต้องการของผู้น้อย , ผู้ด้อยโอกาสมาก ซึ่งถ้าหากผู้ว่าราชการมาสั่งทำกริชพร้อมๆ กับนายอำเภอ ช่างทำกริช จะให้นายอำเภอก่อนเสมอ ฯลฯ
8. ห้ามช่างทำกริชติดสิ่งเสพติด ,ยาเสพติดหรือของมึนเมาทุกชนิด ในสมัยโบราณนั้น มีฝิ่นเป็นสิ่งเสพติดซึ่งทำให้เสียคน , เสียงาน , เสียเมือง , หากติดยาเสพติด ฯลฯ ภูมิปัญญา ถือว่าบุคคลที่ติดสิ่งเสพติด เป็นบุคคลที่ห้ามใจตัวเองไม่ได้ ระงับอารมณ์ไม่ได้ ฉะนั้นจึงห้ามช้างทำกริชติดสิ่งเสพติด ปัจจุบันบุหรี่ เป็นสิ่งเสพติดที่รำคาญและเป็นที่นิยมกันมาก
9. ห้ามสอนวิชาการทำกริช ให้แก่คนที่ไม่ปกติ หรือคนที่มีประวัติที่ไม่ดี หรือคนที่อยู่ในระหว่างทัณฑ์ การสืบทอดสืบสานวิชาการทำกริชจำเป็นมากๆ ที่จะต้องคัดเลือกบุคคล ที่จะสืบสานต่อไป ซึ่งไม่ให้วิชาการทำกริชตกไป ได้แก่บุคคลที่ไม่ปกติ หรือคนร้าย หรือบุคคลที่ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นคนดีหรือคนชั่ว
10. ห้ามสอนวิชาการทำกริชให้แก่มุสลิมที่ไม่ละหมาดหรืออ่านอัลกรุอานไม่เป็น ในสมัยโบราณนั้น ถือว่ามุสลิมที่ไม่ละหมาด และอ่านอัลกรุอานไม่เป็นนั้น เป็นคนดิบ ซึ่งจะเปรียบเทียบได้กับชาวพุทธว่า เป็นคนที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระก่อน
11. ห้ามทำกริชที่ลงอัคระหรืออายัตอัล – กรุอานให้แก่ผู้ที่ไม่เป็นมุสลิม ข้อห้ามเหล่านี้เป็นการกำหนด ให้มีการปกป้องรักษาศิลปะการทำกริช อย่าให้มีคำครหาเข้าใจผิดในการใช้กริชหรือการใช้กริชผิดวัฒนธรรม
12. ห้ามทำกริชให้แก่ผู้ที่สั่งทำเพื่อไปฆ่าคน หรือนำเอาไปใช้ในสิ่งที่ผิดกับหลักศาสนา
13. ห้ามช่างทำกริชนำธาตุเหล็ก หรือของมีค่าทุกชนิด ซึ่งเป็นของลูกค้าผู้สั่งทำกริชไว้ที่บ้านของช่างทำกริช หากไม่จำเป็นจริงๆ ช่างทำกริช จะรับของมีค่าหรือใบกริชของลูกค้า ที่มาสั่งทำหัวกริช หรือทำฝักกริช ไม่ได้ถ้าหากลูกค้า เอาใบกริชมาสั่งทำฝัก ช่างทำกริช จะต้องเอาใบกริช มาวัดขนาดบนกระดาษ หรือบนกาบหมาก แล้วขีดหรือตัดเป็นใบกริชตามขนาดที่ต้องการแล้ว ให้ใบกริชดังกล่าว กับเจ้าของใบกริช เอากลับไปโดยจะไม่เก็บใบกริชไว้ที่บ้านของช่างกริช และในกรณีอื่น ๆ ก็เหมือนกัน
14. ช่างทำกริชจะต้องมีการจดจำเป็นพิเศษ เกี่ยวกับบัญชีรับจ่ายการทำกริชให้แก่ผู้สั่งทำให้ชัดเจน ช่างทำกริชจำเป็นมากๆ ที่จะต้องมีการจดบันทึก ต้องมีบัญชีรับจ่าย เพื่อให้ลูกค้าผู้สั่ง ทำหายข้องใจและช่างทำกริชเอง ก็สามารถประเมินผลงาน และลำดับคิวในการดำเนินการทำกริชได้ไม่สับสน
15. ช่างทำกริชห้ามพูดว่าไม่ทัน ,ไม่ได้,ไม่เป็นแต่จะต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจเกี่ยวกับงานทำกริชอย่าให้มีปัญหา ช่างทำกริชเป็นสาขาช่างที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาที่ไม่มีคำว่าไม่ทัน เพราะการทำกริชเป็นงานที่ล่าช้ามาก เริ่มตั้งแต่ตีใบมีด, ทำหัวกริช ,ทำฝักกริช , และประดับตกแต่ง ซึ่งรวมเวลาในการทำแล้วตกแต่ง ละเล่มประมาณหนึ่งเดือนเป็นอย่างน้อย ฉะนั้น ช่างกริชจำเป็นจะต้องอธิบายให้ลูกค้าที่ไม่เข้าใจ ในกระบวนการทำกริชให้เข้าใจ ซึ่งลูกค้าบางคนใจร้อน อยากได้กริชเร็ว ๆ
16. การนัดหมายกับลูกค้าอย่าให้มีปัญหา การนัดหมายของช่างทำกริช จะต่างไปจากการนัดหมาย ของสาขาอาชีพอื่นๆ เพราะการทำกริชจำเป็นจะต้องมีการรวมสาขาอาชีพหลายสาขามาผสมผสานกัน อย่างเช่น ช่างตีเหล็ก , ช่างไม้แกะสลัก , ช่างทอง , โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์ ฉะนั้นการนัดหมายต้องมีแค่ประมาณการเท่านั้น
17. การซ่อมใบมีดกริชส่วนที่เป็นกั่น ,โกร่ง ,งวงช้าง,ฟันและปลายมีดได้
18. การซ่อมใบมีดกริชหรือดัดแปลงส่วนที่คด ให้เป็นตรงและส่วนที่ตรงให้คดไม่ได้ ช่าง ทำกริช จะไม่ทำลายศิลปะการทำกริชของคนอื่น ซึ่งถ้าหากกริชตรง ก็จะอนุรักษ์คงไว้กริชตรงต่อไป แต่ถ้าต้องการกริชคด ก็จะทำกริชคดเล่มอื่นมาใหม่อีก
19. ห้ามเจียรไนหรือลับใบมีดให้คมเด็ดขาด ใบกริชแต่ละเล่ม จะมีความคมภายในตัวอยู่แล้ว และจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะลับให้คม หรือตกแต่งส่วนที่ร้าวหรือแหว่งแต่อย่างไร ประกอบกับใบกริช บางเล่ม จะมีพิษร้ายแรง เนื่องจากส่วนผสมของเนื้อเหล็กมีสารพิษ ที่ทำปฏิกิริยาทางเคมี เมื่อโดนความร้อน จะเกิดควัน ถ้าหากโดนควันที่เจียรไน จะมีอันตรายกับช่างกริชได้
20. ห้ามแบกหรือหาบถ่านไม้ เข้าไปในโรงตีกริช แต่ให้ลากเข้าไป เป็นมารยาทของคนในสมัยโบราณ ซึ่งจะให้เกียรติกับสถานที่ ที่ซึ่งทำกริชเป็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นของสูง
21. ห้ามแสดงอาการ หรือออกเสียงเจ็บปวด ในเมื่อเกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำกริช การทำกริชเป็นเรื่องที่ต้องใช้สมาธิ , ความอดทน และเสี่ยงแก่การที่จะเกิดอันตรายกับช่างได้ตลอดเวลา ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เสียขวัญกำลังใจ จะต้องอดทน ไว้ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น พร้อมจะต้องทำใจในการระงับอารมณ์ด้วย
22. ห้ามช่างทำกริชกู้ยืมทรัพย์สิน หรือเงินทอง โดยมีดอกเบี้ย ช่างทำกริชเป็นสาขาอาชีพ ที่ต้องการความอิสระในการทำงาน , เป็นงานฝีมือที่ละเอียดอ่อนมาก , ใช้เวลามาก และกำหนดการเสร็จสิ้น ของชิ้นงานแต่ละชิ้นงานไม่แน่นอน ฉะนั้นเพื่ออนุรักษ์ศิลปะอันสวยงาม ซึ่งไม่มีที่ติเหล่านี้ให้คงอยู่ จึงห้ามไม่ให้ช่างทำกริชใจแตก ใจเสีย มีหนี้สิน ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน
23. ห้ามตีลูกเมียโดยไม่มีเหตุผล ให้ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาครอบครัว ช่างทำกริชจะตีลูกเมีย และสัตว์เลี้ยงไม่ได้หากไม่มีเหตุผล ซึ่งจะต้องเป็นคนใจเย็นมากๆ ไม่ให้วู่วาม มีเหตุผล จะต้องสร้างมาตรฐานของครอบครัวมีสุข
24. ห้ามบ่นหรือด่าลูกค้าเด็ดขาด ช่างทำกริช จำเป็นต้องสัมผัสกับผู้คนมากมายทุกระดับชั้นมีตั้งแต่คนดี และไม่ดีซึ่งจำเป็นจะต้องแยกแยะสภาพปัญหาของลูกค้าที่จะทำให้ช่างทำกริชใจแตก ตบะแตก ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ จากการที่ลูกค้าด่าว่าต่างๆ นานา ช่างทำกริชจะต้องฟังคำ กล่าวหาของลูกค้า และต้องพยายามหาคำตอบ และถอดบทเรียน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชาญฉลาด
25. ห้ามกินหรือดื่ม ในขณะที่ตีใบกริชโดยเด็ดขาด ช่างทำกริชต้องการสมาธิมาก ๆ ซึ่งในขณะที่ทำใบกริชนั้น ช่างกริชจะต้องควบคุมทั้งสมาธิ , ทั้งอารมณ์ , ทั้งกำลังกาย ตลอดจนลมในการหายใจไม่ให้แปรปรวน ในสมัยโบราณหากเป็นช่างกริชที่เป็นมุสลิมเขาจะปฎิบัติตัวในขณะที่ตีใบกริช เสมือนเขาอยู่ในศีลอด (ปอซอ) ตลอดจนเสร็จจากการตีใบกริช .....
www.konrakmeed.com

อัพเดทล่าสุด