ราชบัณฑิตสภาห่วงภาษาไทยวิกฤติ วัยรุ่น ดารา ต้นเหตุพาเพี้ยน ขณะที่นักท่องเว็บป่วน โพสต์ศัพท์คอมพิวเตอร์โดยใช้คำล่อแหลม ทั้ง "จิ๋มระทวย, แท่งหฤหรรษ์, พหุบัญชร" อ้างราชบัณฑิตบัญญัติขึ้น..
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากผลสำรวจต่างๆ และการศึกษาข้อมูลพบว่าสถานการณ์การใช้ภาษาไทยคนของไทย โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น ดารา สื่อมวลชน อยู่ในสภาวะวิกฤติและน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นนิยมใช้คำศัพท์แสลง คำผวน คำแปลกๆ ที่ไม่ถูกกาลเทศะ และคำหยาบคาย ที่สำคัญนำภาษาต่างประเทศมาผสมกับภาษาไทยกลายเป็นคำแปลกที่ไม่มีความหมาย และผิดหลักเกณฑ์ เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องนี้ หากปล่อยไว้ในอนาคตเด็กก็จะแยกไม่ออกว่าคำไหนเป็นคำไทยแท้ คำไหนเป็นคำที่วัยรุ่นบัญญัติขึ้นเอง
"การบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์จะไม่ใช้ภาษากำกวม หยาบคาย หรือสองแง่สองง่าม หลักการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์จะมีเฉพาะบางคำที่บัญญัติขึ้นใหม่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเรียกทับศัพท์ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้ภาษา จึงจะเสนอให้ราชบัณฑิตควรออกประกาศ ทำความเข้าใจและเกี่ยวกับคำศัพท์คอมพิวเตอร์ ป้องกันประชาชนสับสน" ราชบัณฑิตกล่าว
ข่าวจาก https://www.norsorpor.com
ประเด็นในการเชื่อมโยง
ใกล้ถึงวันภาษาไทย ๒๙ กรกฎาคมนี้ หลายฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทย ที่นับวันจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม มีทั้งใช้ผิด ๆ บัญญัติศัพท์ใหม่ และใช้ปะปนกับภาษาต่างประเทศ เหล่านี้ทำให้ภาษาไทยวิบัติ ยิ่งในยุคเทคโนโลยีล้ำสมัยเช่นนี้ ส่งผลให้การขยายผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากมีต้นแบบผิด ๆ มานำเสนอ เช่น การพูดของดารา การใช้ภาษาในอินเตอร์เน็ต เป็นต้น หากเราไม่อยากให้ภาษาไทยวิบัติไปมากกว่านี้ ควรหันมาช่วยกันจัดระเบียบภาษา โดยเฉพาะภาษาที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต
ประเด็นในการศึกษา
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต (วิชาภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๔)
ปัญหาการใช้ภาษาไทย
ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการดัดแปลง และไม่ตรงกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่าภาษาวิบัติใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย และการใช้คำศัพท์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในพจนานุกรมหรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจาก คำเดิม
สาเหตุของการวิบัติ
ภาษาวิบัติ เป็นภาษาที่นิยมใช้ในหมู่วัยรุ่นปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นจากการส่งเอสเอมเอสหรือข้อความสั้นๆ การส่งอีเมล์ การสนทนาออนไลน์(เอมเอสเอน) หรือการแสดงความคิดเห็นในโลกอินเตอร์เน็ต จนเดี๋ยวนี้ภาษาวิบัติถูกใช้อย่างแพร่หลายจนแทบจะกลายเป็นภาษาทาง การของวัยรุ่นไปซะแล้ว โดยไม่ได้รู้เลยว่า ต้นกำเนิดของภาษาไทยวิบัติ ว่าที่จริงแล้วเริ่มต้นมาจากการต่อรองค่าตัวของ “โสเภณี”
ในสมัยที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังมีการซื้อขายบริการทางเพศอย่างเสรีในเว็บ ไซต์ จะมีการพูดคุยกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งเป็นที่รู้กัน ว่าส่วนมากผู้ที่ทำอาชีพนี้ มักจะมีการศึกษาต่ำและวิถีชีวิตที่แร้นแค้น ( คือหมดหนทางในการทำมาหากินแล้ว ) จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่พวกเธอจะสะกดคำบางคำได้ไม่ถูกต้อง เช่นคำว่า ก็ สะกดเป็นคำว่า ก้อ , คำว่า เป็น สะกด เป็น คำว่า เปน , คำว่า จริง สะกดเป็นคำว่า จิง เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด ภาษาไทยวิบัติที่ใช้ในหมู่ผู้ซื้อ-ขายบริการทางเพศจึงได้แพร่หลายในหมู่วัย รุ่น สังคมออนไลน์ และมีการนำไปใช้ในหนังสือหลายประเภทอย่าง ผิดๆ ทั้งที่หลายคนก็มีปัญญาความรู้และการศึกษาที่ดีพอที่จะแยกแยะได้ว่าอะไรคือ ผิดอะไรคือ ถูก
ประเภทของภาษาที่วิบัติ
๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง → ตะเอง
๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย
๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม
• เธอ = เทอ
• ใจ = จัย
• ไง = งัย
• กรรม = กำ
๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์
กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น
• รู้ = รุ้
• เห็น = เหน
• เป็น = เปน
๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย)
เทพ = Inw
นอน = uou
เกรียน = เกรีeu
ข้อควรคำนึงในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทั่วๆ ไป ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
๑.ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า “ปอก” กับ “ปลอก” สองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า “ปอก” เป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า “ปลอก” เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
“วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ”
(ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี)
๒. ใช้คำให้เหมาะสม เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น
“ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า “ยังไง” เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควรใช้ “อย่างไร”
๓. การใช้คำลักษณนาม ใช้คำที่บอกลักษณะของนามต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น ปากกา มีลักษณนามเป็น ด้าม เลื่อย มีลักษณะนามเป็น ปื้น ฤๅษี มีลักษณะนามเป็น ตน เป็นต้น
๔. การเรียงลำดับคำ เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัด เรียงไว้ในประโยค เช่น
แม่เกลียดคนใช้ฉัน ฉันเกลียดคนใช้แม่
คนใช้เกลียดแม่ฉัน แม่คนใช้เกลียดฉัน
ฉันเกลียดแม่คนใช้ แม่ฉันเกลียดคนใช้
ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้
- เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร (ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร)
- เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง (ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย)
- เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา(ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)
๕. แต่งประโยคให้จบกระแสความ หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาค แสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบ ของประโยคบางส่วนไป เช่น
เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว (ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)
๖. ใช้ภาษาให้ชัดเจน ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้ เช่น “คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉัน” อาจแปลได้ ๒ ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า “คนใช้” เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง
๗. ใช้ภาษาให้สละสลวย ใช้ภาษาอย่างไพเราะราบรื่น ฟังไม่ขัดหู และมีความกะทัดรัด
- ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หมายถึง การใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน เช่น
“วันนี้อาจารย์ไม่มาทำการสอน”
คำว่า “ทำการ” เป็นคำที่ไม่จำเป็น เพราะแม้จะคงไว้ก็ไม่ได้ช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าตัดทิ้ง ความหมายก็ไม่ได้เสียไป ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น “วันนี้อาจารย์ไม่มาสอน”
- ใช้คำให้คงที่ หมายถึง ในประโยคเดียวกัน หรือในเนื้อความเดียวกัน ควรใช้คำเดียวกันให้ตลอด ดังประโยคต่อไปนี้
“หมอถือว่าคนป่วยทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน” (ควรแก้เป็น : หมอถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน”
- ไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ เช่น
“มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องจากไป” (ควรแก้เป็น “เขาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจากไป)
- มีเทคนิคการรวบความโดยนำหลายประโยคมาเขียนรวมกันให้กระชับรัดกุม สามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้
(๑) กรณีที่ประโยคเหล่านั้นมีประธานหลายคำแต่มีกริยาหรือมีพฤติกรรมอย่างเดียวกัน เช่น
“วิไลเป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยา สมหญิงก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยา และนพศักดิ์ก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยาเช่นเดียวกัน”
จะเห็นว่า ๓ ประโยคนี้มีประธานไม่ซ้ำกัน แต่มีกริยาอย่างเดียวกัน คือต่างก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยา ฉะนั้นจึงเขียนรวบความเสียใหม่ว่า
“วิไล สมหญิง และนพศักดิ์ ต่างก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยาเหมือนกัน”
(๒) กรณีใจความมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลกัน ให้เรียงใจความที่เป็นเหตุไว้ก่อน แล้วตามด้วยใจความที่เป็นผล หรือใจความที่เป็นการสรุปความ เช่น
“ใบหน้ายิ้มแย้ม ดวงตาแจ่มใส ตั้งใจในอันสนทนา วาจาไพเราะ เอื้อเฟื้อเหลือล้นคอยดูแลเสมอ เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของผู้จงใจคบ” ดีกว่าจะเขียนว่า
“เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของผู้จงใจคบ คือใบหน้ายิ้มแย้ม ดวงตาแจ่มใส ตั้งใจในอันสนทนา วาจาไพเราะ เอื้อเฟื้อเหลือล้น คอยดูแลเสมอ”
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น ย่อมทำให้การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ทุกประเภทมีประสิทธิภาพและได้ผลตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง
http://regelearning.payap.ac.th/docu/th203/content/internet.htm
https://board.alpharadiohatyai.com/index.php?topic=903.0
https://www.thaigoodview.com/files/u8041/edu-20081008115603.jpg