น่าสนใจมาก บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง สุข ทองอ้ม แบบอย่าง เศรษฐกิจพอเพียง


840 ผู้ชม


สุข ทองอ้ม
แบบอย่าง "เศรษฐกิจพอเพียง
"


ความ เป็นมาของลุงสุข ทองอ้ม เกษตรกรวัย ๖๑ ปี ก็ไม่ต่างจากเกษตรกรส่วนใหญ่ของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว คือทำนาอย่างเดียว
อย่างไรก็ดี ลุงสุขมีที่รกร้างอยู่ ๑ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ เมื่อมีการส่งเสริมให้ปลูกไม้ยูคาก่อนหน้าปี ๒๕๔๑ ลุงสุขจึงได้ถากถางที่แปลงนั้นเพื่อปลูกไม้ยูคาในเนื้อที่ ๕ ไร่
ปี ๒๕๔๑ ถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตลุงสุข เมื่อมีโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟู เข้ามาแนะนำให้ทำเกษตรแบบผสมผสาน ลุงสุขจึงตัดสินใจลงมือทำในทันที เพราะเห็นว่าการทำนาแบบเชิงเดี่ยวนั้น ในแต่ละปีก็มีผลผลิตเพียงอย่างเดียวคือข้าว
หลังจากตัดไม้ยูคาในแปลง เพื่อทำการเกษตรแบบผสมผสาน ลุงสุขก็นำไม้ผลจำพวก มะพร้าว มะม่วง ขนุน โดยมีแรงงาน ๒ คนกับภรรยา นางเหรียญ ทองอ้น ในช่วงแรกๆ นั้นลุงสุขมุมานะทำจนกระทั่งล้มป่วยเป็นไส้ติ่งอักเสบ
ปี ๒๕๔๕ ลุงสุขได้เข้าร่วม "โครงการนำร่องฯ ภูมินิเวศน์สุรินทร์" โดยได้รับการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตทั้งสระน้ำขนาดใหญ่ว่า ๓๐x๑๐ เมตร ลึก ๓ เมตร ซึ่งถ้าหากเก็บกักน้ำเต็มสระ ก็คงมีน้ำเพียงพอที่จะใช้ในการเกษตรทั้งตลอดทั้งปี
และสิ่งที่ ได้รับจากโครงการฯ อีก คือ ควาย ๑ ตัว และได้ออกลูกมาแล้ว ๑ ตัว โดยการให้แบบปันผล ซึ่งหากลูกควายแข็งแรงดีแล้ว ลุงสุขต้องคืนควายให้กับกลุ่ม เพื่อนำไปเลี้ยงดูและขยายพันธุ์ต่อไป
นอก จากนี้แล้ว ยังได้รับประสบการณ์และความรู้ จากการศึกษาดูงาน แต่ไม่ได้ไปร่วมมากนัก ทั้งนี้ เนื่องจากคิดว่าการลงมือทำ และลองผิดลองถูกด้วยตนเอง น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า เช่น ปริมาณการใส่ปุ๋ย ใส่น้ำให้ต้นไม้แต่ละชนิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเกษตรกรในละแวกใกล้เคียงกัน
อย่าง ไรก็ตาม การทำเกษตรผสมผสานของลุงสุขนั้น ถูกต่อต้านและไม่เห็นด้วยจากกลุ่มสมาชิกด้วยกัน โดยหาว่าทำแบบเชิงธุรกิจ เพราะมีแปลงไม้ผลที่หลากหลาย และลุงสุขเน้นการช่วยเหลือตัวเองในส่วนที่ภาครัฐยังช่วยไม่ถึง เช่น พันธุ์ไม้ และระบบไฟฟ้ารวมถึงการจัดการน้ำด้วยตนเอง
ด้วย เหตุนี้เอง ลุงสุขจึงถูกมองว่า ทำการเกษตรเพื่อเน้นผลผลิตออกจำหน่าย แต่ทั้งนี้ลุงสุขเล่าว่า ถ้าเราไม่ช่วยเหลือตัวเอง รอแต่ความช่วยเหลือจากภาครัฐ เราก็จะไม่ทำอะไรเลย เพราะคนที่ประสบปัญหาใช่ว่ามีเพียงแค่คนสองคนเท่านั้น แต่ยังมีเกษตรกรอีกมากมายทั้งประเทศที่ประสบปัญหาแตกต่างกันไป หากไม่ช่วยตัวเองหรือหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน มีหรือที่จะประสบความสำเร็จได้
บางครั้งบางหนลุงสุขถึงกับยอมลงทุนเหมารถเพื่อไปซื้อพันธุ์ไม้ถึงอำเภอกลางดง จังหวัดนครราชสีมา

ใน ฤดูร้อนนี้ ถึงแม้ว่าแปลงนากว่าร้อยละ ๙๐ ของจังหวัดสุรินทร์แลดูว่างเปล่าเวิ้งว่าง แต่ในแปลงเกษตรของลุงสุข กลับดูเขียวชอุ่ม ร่มเย็นอย่างไม่น่าเชื่อ ไล่จากด้านหน้าซึ่งเป็นแปลงไม้ผลนานาชนิด ส้มโอ, ละมุด, มะม่วง, มะนาว, มะกรูด, ชมพู่, มะกอก, ลิ้นจี่, เงาะ (กำลังทดลองปลูก), มะไฟ ฯลฯ ที่ลุงสุข และภรรยาได้พลิกผืนดินที่แห้งแล้ง มอบความชุ่มเย็นสำหรับผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือน
ถัดจาก แปลงไม้ผล เป็นเรือนพักอาศัยที่ทำแบบง่ายๆ มีเล้าไก่อยู่หลังบ้าน ทางทิศเหนือเป็น แปลงละมุดที่ลุงสุขได้ลงกล้าไปไม่นาน กำลังจะพ้นวัยอนุบาล ซึ่งกว่าลุงสุขจะค้นพบวิธีการให้น้ำก็ใช้เวลาลองผิดลองถูกไปไม่น้อยเหมือน กัน และก็ได้สูตรสำเร็จคือ ๑ ต้น ใช้น้ำประมาณ ๘-๘ ลิตร โดยใส่น้ำให้เต็มถังสีขนาด ๘.๙๒๕ ลิตร เมื่อเต็มแล้วก็เอากระสอบปุ๋ยปูทับฟางที่คลุมดินรอบๆ ต้น และราดน้ำลงไป ลุงสุขทำแบบนี้ทุกวันกับละมุดกว่า ๑๐๐ ต้น โดยอาศัยน้ำบาดาลที่ลงทุนเจาะเองในงบประมาณ ๑,๘๐๐ บาท
นอก จากนี้ ลุงสุขยังได้ค้นพบวิธีการปลูกส้มโชกุน โดยเฉพาะเรื่องการคลุมแปลงส้ม ลุงสุขพบว่าไม่ควรขุดหลุมลึกเกินไป และต้องขยายหลุมเพื่อใส่ปุ๋ย และให้น้ำในปริมาณที่พอเพียง
แรกๆ นั้นเกษตรกรบางคนที่ใช้ฟางคลุมต้นในปริมาณมากเกินไป ด้วยคิดว่าจะรักษาปริมาณน้ำมาก แต่ลุงสุขได้แนะนำเทคนิคให้คลุมฟางในปริมาณให้พอเหมาะ เพื่อให้รากได้รับอากาศและแสงแดดอย่างพอเพียง ซึ่งก็ได้รับการยอมรับจากเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน
ทุกๆ แปลงของแปลง ลุงสุขจะกั้นตาข่ายไว้เพื่อไม่ให้ไก่หรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้เข้ามาคุ้ยเขี่ย เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้ และนี่ก็หมายถึงระบบการจัดการแปลงที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับ ด้านหลังนั้น มีแปลงหวายที่เพิ่งจะลงกล้าจากเมล็ดที่เพาะเอง ถัดไป เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ที่ได้งบประมาณมาจากโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนแล้ว รอบๆ สระ จะมีพืชผักสวนครัวที่เราๆ ท่านๆ ได้บริโภคเป็นประจำทุกวัน กระเพรา, โหระพา, หอมแบ่ง, แตงกวา, มะเขือเทศ, ยี่หร่า, ข่า, ตะไคร้ ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะบริโภคเองแล้ว ยังเหลือเพื่อขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งกะเกณฑ์ดูด้วยสายตาแล้ว ถือเป็นรายได้ที่น่าจะพอเพียงสำหรับเกษตรกรอย่างลุงสุข
ปัญหา ที่สำคัญของลุงสุขที่ถือว่าต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ เรื่องไฟฟ้า เพราะต้องใช้ไฟฟ้าในการสูบน้ำ ปั๊มน้ำ สำหรับรดแปลง ทั้งไม้ผล และพืชสวนครัว
ส่วนไฟฟ้าที่ใช้อยู่ทุกวันก็อาศัยต่อสายมา จากหมู่บ้าน ซึ่งถ้าวันไหน ชาวบ้านพร้อมใจใช้ไฟฟ้าอย่างพร้อมเพรียงกัน นั่นก็หมายความว่าแปลงเกษตรของลุงสุขต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้
ลุงสุขเคยเสนอปัญหานี้ไปหลายหนแล้ว และก็ยังคงรอความหวังต่อไป
แปลง เกษตรฯ ผืนนี้ นอกจากจะสร้างความร่มเย็น สร้างอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ผู้อาศัยแล้ว ยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของหลายๆ หน่วยงาน
พ่อ เชียง ไทยดี ที่ถือว่าเป็นปราชญ์คนหนึ่งของแผ่นดินสยามนี้ เมื่อมาเห็นแปลงของลุงสุข ถึงกับเอ่ยปากว่า จะไปโพนทะนาและโฆษณาให้รับรู้ ว่านี่คือแหล่งเรียนรู้อีกเรื่องเกษตรธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งไม่เฉพาะจังหวัด สุรินทร์เท่านั้น แต่รวมถึงผืนดินขวานทองแห่งนี้
กระทั่งว่าจะให้ครูที่ไปเรียนรู้กับพ่อเชียง มาฝึกงานที่นี่
นี่คือภูมิปัญญาของเกษตรกร ที่ทุกวันนี้ ยังเขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก
การ ต่อสู้เพื่อเอาชนะธรรมชาติ ด้วยธรรมชาติ และการต่อสู้ในด้านแนวคิดจากการปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรแบบเชิงเดี่ยวมาเป็นแบบ ผสมผสานของลุงสุข กำลังให้ดอก ออกผล คืนธรรมชาติสู่ธรรมชาติ และมอบความสุขใจให้กับครอบครัวลุงสุข อย่างยั่งยืน มั่นคง และตลอดไป
ขอบพระคุณข้อมูลและภาพจาก https://www.kradandum.com respect


อัพเดทล่าสุด