รวบรวม คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2534 - 2555


24,502 ผู้ชม


รวบรวม 100 คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2553 - 2555

วันต่อต้านยาเสพติด 2555
วันต่อต้านยาเสพติดโลก ( International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking ) ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่ง
สหประชาชาติ (UNGA) เป็นวันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ผิดกฎหมาย
วันต่อต้านยาเสพติด
 
คำขวัญต่อต้านยาเสพติดสากล คือ
"Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs"
ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ สังคมของคุณ ต้องไม่มีที่สำหรับยาเสพติด"

-------

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
 
 คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดของไทย ประจำปี 2554    “สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน”
 
 
       “...ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่างโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงิน ค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อน อย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง...”
   พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   วันที่ 4 ธันวาคม 2545

-------

ความเป็นมาวันต่อต้านยาเสพติด
         ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา ยาเสพติด มา เป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่น ที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
        ต่อ มาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่าย เดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
        ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมาการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผน และเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพ ติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
         ผล จากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อเน้นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติดและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกใน การต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้เสนอเป็นข้อมติต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่ 26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตาม ข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530
        ประเทศไทย  สำนักงาน ป.ป.ส.ใน ฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน ประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531เป็นต้นมา
กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด
        สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จะจัดกิจกรรมรณรงค์พิเศษ "มหกรรมภาคีพลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด" ขึ้นโดยระดมพลังครั้งยิ่งใหญ่จากทุกภาคส่วนของสังคม และประชาชนทุกหมู่เหล่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 26 มิถุนายน 2547 ตั้งแต่เวลา 06.30 - 14.00 น. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี พิธีในช่วงเช้าเริ่มด้วยการใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง การกล่าวคำปฏิญาณตนและการแสดงเจตนารมณ์เป็น "พลังแผ่นดิน" ร่วมเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และการแสดงผลงานของภาคีพลังแผ่นดินที่จะร่วมต่อสู้เอาชนะยาเสพติดอย่างต่อ เนื่องและเป็นไปอย่างยั่งยืน เช่นพลังเยาวชน พลังครอบครัว พลังชมรม To Be Number One พลังผู้ประสานพลังแผ่นดิน พลังลูกเสือชาวบ้าน พลังภาคเอกชนและธุรกิจเอกชน พลังชุมชน เป็นต้น
        โดยในส่วนภูมิภาคจะมีการจัดงานและกิจกรรมรณรงค์พิเศษขึ้นในลักษณะเดียวกัน พร้อมกันทุกพื้นที่ จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ ณ จุดนัดหมายบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอทุกแห่ง

------

       สิ่งเสพติด หรือที่เรียกกันว่า "ยาเสพติด" ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
        พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรม
        ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสียเงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ยากระตุ้น หรือกดระบบประสาทที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มต่างๆ

      ยาเสพติด คือสิ่งที่เข้ามาทำลายสังคมและเยาวชนของชาติ เพราะเยาวชนไทยเป็นกลุ่มเด็กจำนวนมากที่สังคมควรให้ความเอาใจใส่ดูแลเขาเป็นพิเศษ ด้วยเหตุผลว่า เยาวชนเป็นวัยที่กำลังจะพัฒนาทางกาย และจิตใจอารมณ์ เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หลายๆ ครั้งที่มีกลุ่มเยาวชนกลายเป็นปัญหาสังคม เช่น การเที่ยวเตร่ เกเร ปัญหาการทะเลาะวิวาทระหว่างโรงเรียน สถาบัน ปัญหาการมั่วสุมเสพยาและมั่วสุมทางเพศ เป็นต้น
        หลายพฤติกรรมข้างต้นของเยาวชนจะเป็นไปในด้านลบมากกว่าด้านบวก และบางปัญหาเป็นปัญหาสำคัญมากที่เราควรจะเร่งแก้ไขโดยด่วน แต่เยาวชนไทยคงต้องรู้จักปรับตัวเองให้ถูกต้องเหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงออก การตั้งใจศึกษาเล่าเรียน การเลิกนิสัยเกเร เที่ยวเตร่ การเป็นลูกที่ดีและน่ารัก ของคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น...ทางภาครัฐ องค์กรเอกชน เเละสถาบันการศึกษาหลายเเห่งได้เล็งเห็นถึงปัญหาของยาเสพติดจึงได้จัดการรณรงค์การต่อต้านยาเสพติด ตั้งคำขวัญต่อต้านยาเสพติด เพื่อให้เด็กเเละเยาวชนได้เห็นโทษ พิษภัยของยาเสพติดเพื่อที่จะได้ไม่หลงเข้าไปในวังวนของยาเสพติด เเละกิจกรรมการประกวดการเเต่งคำขวัญรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดจึงเกิดขึ้นเพื่อให้เด็กเเละเยาวชนได้เเสดงความคิดการเเสดงออกต่อยาเสพติดให้โทษให้คนอื่นได้รับรู้เเละจดจำได้อย่างขึ้นใจ

      ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
    ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
    ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
    ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ

       จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
    ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
    ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาอี กระท่อม โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
    ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และเห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
    ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

      การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจาก
    ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง
    เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
    มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
    ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
    สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
    ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
    เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้

      ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ
    ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
    อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัวอยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
    ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
    ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
    ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
    ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
    ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
    ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง

       ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่างๆตามความสนใจ และความถนัดระมัดระวัง การใช้ยาและศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอน ให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติดดูแลเรื่องการคบเพื่อนคอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็น ประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว การสมัครเข้า ขอรับการบำบัดรักษายาเสพติดก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ และ เมื่อรู้ว่าใครผิด นำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากรนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(สำนักงาน ป.ป.ส.)

ตัวอย่างคำขวัญยาเสพติด
"ยาเสพติด คือมารร้าย บ่อนทำลายสังคมไทย"
"เลิกสูบ เลิกเสพ ในวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีในวันหน้า"
"ยาเสพติด ทำลายชีวิต สังคมมืดมิด ถ้าคิดติดยา"
"ยาเสพติดคือยาพิษ เสพชีวิตจะวอดวาย"
"ก้าวแรกที่ขึ้นเมรุ เริ่มจากมวนแรกที่คุณสูบ"
"ดูดนมสดจากเต้า มีประโยชน์กว่าดื่มเหล้า สูบบุหรี่"
"ปัญหาสมองเสื่อม เพราะพิษภัยยาเสพติด"
"นึกถึงครอบครัว ก่อนคิดจะลองยา"
"คนใดเป็นทาสยาเสพติด ทั้งเหล้า บุหรี่ ทั้งชีวีไม่เคยแพ้นรก"
"ประเทศไทยจะรุ่งเรือง ถ้าพลเมือง ไม่พึ่งยาเสพติด"

----------------

คำขวัญสำหรับการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ของ ปปส. และของ UNODC campaign themes since 2000
 
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2554 "สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน”
"Global Action for Healthy Communities Without Drugs”
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2553  "ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด"
"Health is the ongoing theme of the world drug campaign."
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2552 แนวคิด "ทำความดี ตามคำพ่อ" ภายใต้คำขวัญ "รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด"
"Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs."
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2551 แนวคิด "ทำความดี ตามคำพ่อ" ภายใต้คำขวัญ "รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด"
"Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs."
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2550 คือ "รวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน"
"Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs."
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2549 คือ "๖๐ ปี ทรงครองราชย์ รวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด"
"Value yourself...make healthy choices"
 -คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2548 คือ "พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด"
"Drugs is not child's play"
 -คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2547 คือ
"Drugs: treatment works"
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2546 คือ "พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด"
"Let's talk about drugs"
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2545 คือ "พลังมวลชน พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด
  "Substance abuse and HIV/AIDS"
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2544 คือ “รวมพลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด”
Sports against drugs"
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2543 คือ รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด
"Facing reality: denial"
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2542 คือ รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2541 คือ ร่วมใจเล่นกีฬา ใช้ชีวิตอย่างรู้ค่า ไม่พึ่งพายาเสพติด
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2540 คือ เล่นกีฬา ใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2539 คือ มุ่งทำความดี มีวินัย หลีกไกลยาเสพติด
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2538 คือ ล้อมรักให้ครอบครัว เหมือนล้อมรั้วป้องกันยาเสพติด
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2537 คือ ยาเสพติดป้องกันได้ ด้วยความเข้าใจจากครอบครัว
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2536 คือ ผิดกฎหมาย ทำลายชีวิต หากติดสารระเหย
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2535 คือ สมองฝ่อ รักษาไม่หาย คือพิษร้ายจากยาเสพติด
- คำขวัญต่อต้านยาเสพติด ปี2534 คือ ประสาทหลอน เป็นโรคจิตวิกลจริต เพราะกินยาบ้า

----------

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2550 - 2552
          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดสากล ยังคงสโลแกนเดิม (เพราะมีกำหนดใช้ปี พ.ศ. 2550 – 2552) คือ
          "Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs" ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ สังคมของคุณ ต้องไม่มีที่สำหรับยาเสพติด"
          ส่วนคำขวัญต่อต้านยาเสพติดของไทย ประจำปี 2552 คือ "ผิดช่วยรั้ง พลั้งช่วยเตือน แนะนำเพื่อน อย่าคิดลองยา

อัพเดทล่าสุด