อาการโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ


893 ผู้ชม


อาการโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ
โรคไม่ดังก็ประมาทมิได้ 'ความดันโลหิต' 'ต่ำ-สูง'

อาการโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ           เข้าสู่ฤดูฝน ฝ่ายสาธารณสุขก็เตือนให้ระวังโรคติดต่อที่มักเกิดในฤดูฝน เช่น... โรคอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ โรคฉี่หนู หวัด หวัดใหญ่ คออักเสบหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ปอดบวม ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบเจอี มาลาเรีย เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งโรคเหล่านี้ช่วงนี้ยิ่งต้องระวังป้องกันให้ดี แต่ขณะเดียวกัน โรคที่เกิดได้ทุกฤดู ที่ไม่ใช่โรคติดต่อ โรคเดิมๆ ที่ไม่ดัง ก็ใช่ว่าไม่จำเป็นต้องระวังป้องกัน 
           และกลุ่มหลังนี่ก็รวมถึง "โรคความดันโลหิต" "ความดันโลหิตผิดปกติ" ซึ่งก็มีทั้ง "ต่ำ-สูง" ทั้งนี้ "ความดันโลหิต" เป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของสุขภาพร่างกาย โดยข้อมูลของหน่วยสุขศึกษาฝ่ายการพยาบาล
           โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระบุไว้ว่า ความดันโลหิต "เป็นเครื่องแสดงสมรรถภาพของระบบไหลเวียนโลหิต และการทำงานของหัวใจ"ความดันโลหิตคือแรงดันที่เกิดจากหัวใจบีบตัว เพื่อดันโลหิตในหัวใจและหลอดเลือดแดงใหญ่ออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
           ในทางการแพทย์ การวัดค่าความดันโลหิตจะวัดเป็นตัวเลขสองค่า เช่น 120/80 ตัวเลขหน้าคือ ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว ตัวเลขหลังคือค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว ซึ่งค่าปกติของความดันโลหิตจะอยู่ในช่วงประมาณ 110/70 - 120/80 มิลลิเมตรปรอทโดยค่าความดันโลหิตของคนปกติขณะพักอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ เชื้อชาติ สภาพภูมิอากาศรอบตัว อิริยาบถ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
           แต่ถ้าค่าเกิดต่ำหรือสูงเกินไปร่างกายจะมีปัญหา! ค่า"ความดันโลหิตต่ำ"หมายถึง ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/50 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งสาเหตุก็มีทั้งที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเกิดจากการปรับตัวของร่างกายไม่ ทันเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ และเกิดจากโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ของร่างกาย ได้แก่ พักผ่อนไม่เพียงพอขาดอาหาร โลหิตจาง หรือมีการสูญเสียโลหิตจากสาเหตุต่างๆ เช่นแผลในกระเพาะอาหาร ริดสีดวงทวาร ทั้งนี้เมื่อความดันโลหิตต่ำร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมบ่อย หน้ามืดเวลาเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว เช่น จากนอนเป็นนั่ง
           ประเด็นคือ... "ความดันโลหิตต่ำเกินไปมีอันตราย"จะทำให้โลหิตไหลเวียนเลี้ยงอวัยวะสำคัญของ ร่างกายไม่ทัน ซึ่งอันตราย โดยเฉพาะกับเซลล์ของสมอง กล้ามเนื้อหัวใจ ไต ถ้าความดันโลหิตลดต่ำลงมากๆ จะทำให้อวัยวะสำคัญขาดออกซิเจน อาจทำให้เป็นลมช็อก และ "อาจถึงขั้นเสียชีวิต" ได้!

อาการโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ

           คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ ก็คือ... รับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบ 5 หมู่, นอนพักผ่อนให้เพียงพออย่าง น้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง, ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าง น้อยสัปดาห์ละ3 ครั้ง, เปลี่ยนอิริยาบถท่าทางร่าง กายอย่างช้าๆ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้ทันและป้องกันมิให้เกิดอาการหน้ามืด
           "ความดันโลหิตสูง"ค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปนี่ก็ "อันตราย"ซึ่งแต่ละปีมีคนไทยป่วยด้วยสาเหตุนี้เป็นหลักแสนเช่นปี 2551 ปีเดียว มีผู้ป่วยด้วยสาเหตุนี้ 494,809 คน เสียชีวิต2,463 คน
           ทั้งนี้ นิตยา พันธุเวทย์ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคระบุไว้ว่า... ทั่วโลกต่างก็รณรงค์ป้องกันความดันโลหิตสูง ถึงขั้นมีการกำหนดวันรณรงค์ความดันโลหิตสูงโลก วันที่ 17 พ.ค.ของทุกปีเพราะมีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมากและขยายจำนวน เพิ่มขึ้นทุกปี โดยขณะนี้พบประมาณ 1.5 พันล้านคน และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตปีละประมาณ 7 ล้านคน ขณะที่ คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 11 ล้านคน ผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ในเกือบทุกๆ5 คน จะมี 1 คนที่ป่วยเป็นโรค "ความดันโลหิตสูง"
อาการโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ
           โรคความดันโลหิตนี้ "เป็นเพชฌฆาตเงียบ"การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไป ช่วงแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อเป็นแล้วจะ"ไม่มียารักษาให้หายขาด"และถ้าไม่ควบคุมความดันโลหิตให้ มีค่าใกล้เคียงค่าปกติเป็นเวลานาน จะทำให้เป็น โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไตวายตามมาได้อย่างไรก็ตาม กับโรคความดันโลหิตสูงก็สามารถจะป้องกันได้โดยกรมควบคุมโรคแนะนำ เคล็ดลับจัดการความเสี่ยงคือ "ลดเค็มเพิ่มผัก คุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย"เลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เค็ม ไม่หวาน มันน้อย ใช้เครื่องเทศ-สมุนไพรปรุงอาหารแทนเกลือ, เพิ่มการ รับประทานผักหลายสีและชนิด เพิ่มผลไม้สดที่ไม่หวาน ถั่ว แทนขนมกรุบกรอบ รับประทานมังสวิรัติอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งจะยิ่งดี และในแต่ละวันควรรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ในปริมาณพออิ่ม พอเหมาะกับการใช้พลังงานของร่างกาย
           นอกจากนี้ ต้องคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามวัย และคุมรอบเอวโดยเพศชายควรน้อยกว่า 36 นิ้ว เพศหญิงควรน้อยกว่า 32 นิ้ว,ออกกำลัง กายวันละ 30-60 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้มีความกระฉับกระเฉง เลี่ยงการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเสียบ้าง เช่น รีโมต ลิฟต์ เป็นต้น
           "โรคความดันโลหิต" แม้ไม่ดังแต่ก็ "ประมาทมิได้" นี่ก็เป็นอีกภัยร้ายทำลายสุขภาพอย่างเงียบเชียบ

ที่มา : เว็บไซต์ scimath

อัพเดทล่าสุด