วิธีแก้หน้ามืดความดันต่ำ การอบแห้งแบบไอน้ำร้อนยวดยิ่งความดันต่ำ ความดันเท่าไหร่ถึงว่าความดันต่ำ
วิธีแก้หน้ามืดความดันต่ำ
ช่วงนี้ไปโรงบาลบ่อย
เวลาวัดความดัน เรามักจะโดนทักเสมอว่า ความดันต่ำ นิดหน่อยค่ะ
90/60 เราก็ต้องถามหมอนิดนึง ว่า แล้วมันจะทำให้เราเป็นยังไงมั่ง ไอ้ความดันต่ำน่ะ
หมอตอบว่า ความดันต่ำ มันทำให้หัวใจเราทำงานหนักขึ้น เพราะความดันมันเกี่ยวกับการสูบฉีดเลือด ถ้าเลือดไปเลี้ยงสมอง ไต หัวใจ ตับ ไม่ทัน ก็แย่ ถ้าเลี้ยงสมองไม่ทัน ก็หน้ามืด เป็นลมบ่อย
แต่ปัญหาคือ เราไม่ค่อยจะเป็นลมง่าย ๆ
แต่มีช่วงหลัง ๆ เริ่มรู้สึกเหนื่อยง่าย ปกตินี่ เราทำงานคล่องแคล่ว ยกของหนักเป็นสบาย ๆ แต่ตอนนี้ ชักไม่ไหวแฮะ เริ่มเจ็บหัวไหล่ เจ็บข้อมือนิ้วโป้ง และเจ็บตรงเหนือหน้าอกมาทางรักแร้ กดลงไปแล้วเจ็บไปถึงหลังขึ้นคอ
หมอบอกว่า อาจเพราะเราออกกำลังกายน้อย
พักหลัง ก็แด๊นซ์น้อยลง พลอยทำให้สถิติการออกกำลังกายลดลง ร่างกายก็เลยต๊อแต๊ ปวกเปียก อ่อนแอ ไม่แรดเหมือนแต่ก่อน
ความดันก็เลยต่ำ เป็นฉะนี้
เท่าที่หมอแนะนำมา มันยังงง ๆ คือหมอบอกว่า ถ้าเราไม่ค่อยเป็นลม หน้ามืด ก็อาจจะแปลว่า ความดันเราปกติ
แต่เพื่อความถ่องแท้ เราก็ต้องหาข้อมูลเพิ่ม เพื่อสุขภาพของตัวเอง
คัดลอกมาจาก การค้นหาทาง goolgle แล้วเจอเอ็นทรี่นี้พอดี
https://sesai.exteen.com/20071004/entry
ผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพกลัวกันมากๆอยู่ โรคหนึ่ง คือ โรคความดันโลหิตสูง (HYPER� TENSION) กลัวนักกลัวหนาจนกระทั่งว่าเวลาไปขอประกันชีวิต ที่บริษัทประกันชีวิตที่ไหนก็ตาม เขามักจะขอให้ไปตรวจโรคดูก่อน ถ้าพบว่าความดันโลหิตสูงมาก บริษัทประกันชีวิตนั้นๆ มักจะไม่รับประกัน
แต่ถ้าความดันโลหิตต่ำซึ่งตรงกันข้ามกับความดันโลหิตสูง บริษัทรับประกันชีวิตมักจะมองข้ามไป รับประกันชีวิตโดยไม่ลังเล
และถ้าไปคุยกับใครซึ่งรู้เรื่องการแพทย์หรือเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพเสีย หน่อย บอกกับเขาว่า “ฉัน เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ” ก็มักจะได้รับคำทักว่า “ดีซิไม่ได้เป็นความดันสูงไม่เห็นจะน่ากลัวอะไร”
เรื่องของเรื่องก็คือ ความดันต่ำไม่เป็นอันตราย ก็จริง แต่ก็คงจะทำให้คุณเป็นคน อ่อนแอ ไม่มีแรง ปวดหัวเวียนหัวอยู่ตลอดเวลา ทำงานทำการแบบออกแรงหน่อยก็ทำไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น
ความดันโลหิตโดยทั่วๆไปสำหรับผู้ ใหญ่นั้น ถ้าเกิน 140/90 ขึ้นไป ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงเกินควร หรือถ้าต่ำกว่า 100/60 ก็ถือว่าต่ำเกินควร
ตัวเลขเหล่านี้เราจะรู้ได้จากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต (SPHYG MOMANOMETER) ซึ่งจะเป็นเครื่องวัดที่ต้องใช้หูฟัง (STETHOSCOPE) หรือจะเป็นเครื่องวัดอัตโนมัติแบบที่เรียกว่าดิจิตอลก็ได้
ความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้นได้จากต้นตอสองประการ คือ จากระบบบางอย่างของร่างกายบกพร่อง มาตั้งแต่เกิด หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเฉพาะหน้าบางประการ
สาเหตุบางอย่างจากระบบบกพร่องนั้น ได้แก่ คนที่โลหิตจางหรือเลือดน้อย ปริมาณรวมของเลือดต่ำและผนังของเส้นเลือดและการปั๊มของหัวใจผิดปกติ
อันตรายร้ายแรงจากระบบบกพร่องนั้น จะไม่ค่อยมี แต่ผู้ที่ความดันโลหิตต่ำมักจะ เป็นคนที่ไม่มีแรง เวียนหัว หัวหมุนและคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ทำงาน หนักไม่ค่อยจะได้ เหนื่อยง่าย ถ้าจะพูดแบบชาวบ้านก็คงเป็นเพราะว่า “คนเอว บางร่างน้อยไม่ค่อยมี เรี่ยวมีแรงอย่างนั้นแหละ”
ส่วนที่ความดันโลหิตต่ำเพราะมีโรคภัยเฉพาะหน้าเกิดขึ้นนั้น อาจจะเกิดขึ้นเพราะโลหิตจางแบบเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะ อุบัติเหตุเสียเลือดมาก หรือมีสิ่งที่เป็นท้อกซิน มากเข้าสู่ร่างกายอย่างกะทันหัน หรือต้องรับยาเคมีบางอย่าง เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งต้องรับเคมีบำบัด และต้องใช้รังสีบำบัด เป็นต้น
ขอพูดถึงวิธีแก้สำหรับผู้ที่มีโรคภัยเฉพาะหน้าก่อน ถ้าจะให้รู้ว่าเพราะโลหิตจางหรือไม่ คงจะต้องตรวจเลือดก่อน แล้วดูที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวก่อนเป็นตัวแรก ต่อจากนั้นให้ดูที่เฮโมโกลบิน (ตัวที่รับเอาออกซิเจนเข้าไว้ในเลือด) แล้วดูเฮมาโตคริต (เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด)
ถ้าชนิดของเลือดเหล่านี้ต่ำกว่าเกณฑ์จะค่อนข้างแน่ใจว่าโลหิตจาง และถ้าวัดความดันโลหิต ว่าต่ำกว่าเกณฑ์ก็ต้องให้เลือดเป็นการด่วน แต่การปฏิบัติเช่นนี้เป็นหน้าที่ของแพทย์นะครับ คุณทำเองไม่ได้ เมื่อแก้อาการโลหิตจางตามนี้ได้แล้ว ความ ดันโลหิตของคุณน่าจะขึ้นมาได้อยู่ในระดับปกติ
แต่อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเฝ้าดูเป็นพิเศษก็คือ การที่คุณโลหิตจางนั้นเกิดจากการเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ เลือด ออกภายในนี้อาจจะเป็นที่แผลในกระเพาะหรือลำไส้ คุณรับประทานอะไรเข้าไปเป็นกรดหรือย่อยไม่หมด ก็จะทำให้แผลภายในเลือดออกไม่หยุด อย่างนี้อันตรายแบบเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำอย่างแน่นอน
ฉะนั้น อย่าวางใจถ้าความดันโลหิตต่ำจนหมดแรงจะเป็นลม แต่ไม่ พบอาการผิดปกติอย่างอื่น ให้ดูให้แน่ว่ามีเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ รีบส่งโรงพยาบาลด่วนนะครับ
อ้อ โรคเฉพาะหน้าที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำอีกอย่างหนึ่งและไม่ค่อยมีใครสังเกตพบ ก็คือ ผู้ที่เป็นหวัดอย่างแรง หรือไปติดเชื้อหวัดใหญ่มา ความดันโลหิตมักจะต่ำ แต่ก็ไม่มีใครค่อยสังเกต เพราะถ้าใครเป็นหวัดใหญ่ ก็มักจะให้คนไข้นอนพัก ให้ยาแก้ไข้ ให้อาหารบำรุงไม่กี่วันก็จะหาย
แต่ข้อสังเกตนะครับ ถ้ามีโอกาสตรวจความดันโลหิตและปรากฏว่าเป็นความดันต่ำแล้วละก็ รีบให้ยาบำรุงเลือดด้วย ก็จะหายเร็วขึ้นแน่ๆ
ทีนี้ก็มาถึงการแก้ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำโดยทั่วไป
1. แก้ด้วยอาหาร ควรจะให้อาหารที่เพิ่มโปรตีน ให้มากๆ สำหรับท่านที่กินอาหารชีวจิตอยู่แล้ว เราให้กินโปรตีนทั้งจากพืชและจากเนื้อสัตว์ได้
จากพืชก็คือ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น
และเราให้กินปลาหรืออาหารทะเลได้ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง
คุณอาจจะเพิ่มปลาได้เป็นอาทิตย์ละสัก 3 ครั้ง และถั่ว-เต้าหู้ให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% แทนที่จะเป็น 15% ตามสูตรหนึ่งของเรา
2. กินวิตามิน B COMPLEX 100 มก. เป็นประจำวันละ 1 เม็ด และให้แถม B1 100 มก.
และ B12 500 ไมโครแกรม อีกอย่างละเม็ด
3. แคลเซียม 1,000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. กินประมาณ 1 เดือน เว้น 1 เดือน
4. วิตามิน E 400 IU. วันละ 1 เม็ด
5. ขอให้ออกกำลังกายเบาๆก่อน ใช้วิธีรำตะบองแบบชีวจิตจะดีที่สุด แรกใช้แต่ละท่า ประมาณ 20 ครั้ง เมื่อรู้สึกดีแล้ว ให้เพิ่มเป็นท่าละ 3 ครั้ง
6. ใช้หัวแม่มือนวดเบาๆ บริเวณกลาง หน้าอกแล้วเลื่อนไปที่บริเวณใกล้รักแร้สองข้าง
จาก.. คอลัมน์ชีวจิต หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Link https://gummyinpai.wordpress.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การอบแห้งแบบไอน้ำร้อนยวดยิ่งความดันต่ำ
การอบแห้ง
สัมภาษณ์ ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เรียบเรียงโดย : บัวอื่น
ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา รับรางวัล เข้ารับรางวัลนักจากสมเด็จพระเทพฯ
การอบแห้งอาหารนั้น เป็นการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะทางกายภาพ สี กลิ่น รสและเนื้อสัมผัสตามที่ต้องการ โดยทั่วไปการอบแห้งอาหารมักใช้อากาศร้อนเป็นตัวกลางในการอบแห้ง ซึ่งมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอบแห้งจะมีการหดตัวมาก คืนตัว (ดูดน้ำกลับ) ได้น้อย และ เปลี่ยนสีไปจากเดิม (มีสีไม่เป็นธรรมชาติ) ค่อนข้างมาก
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเทคโนโลยี การอบแห้งอาหารด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง เข้า มาใช้เพื่อลดหรือขจัดข้อจำกัดบางประการของการอบแห้งด้วยอากาศร้อน ซึ่งก็มีข้อดีคือ ไอน้ำก็จะดันเอาอากาศออกไปทั้งหมดเลย ทั้งระบบก็จะไม่มีอากาศ ปฎิกริยาที่ต้องการออกซิเจนก็จะไม่เกิด นั้นคือไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันต่างๆ เช่น ปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (Enzymatic browning) ปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (Lipid oxidation) หรือการเสื่อมสลายแบบต่างๆ เนื่องจากออกซิเจน (Aerobic degradation) ทั้งนี้เนื่องจากระบบอบแห้งไม่มีออกซิเจนเข้ามาเกี่ยวข้อง ระบบการอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งนี้จึงมีข้อดีในกรณีที่ไม่ต้องการให้มี การเกิดการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากเอนไซม์ขึ้นในกระบวนการ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่เราได้มันจะมีรูพรุนค่อนข้างมาก เนื่องจากมีการเกิดไอน้ำขึ้นในผลิตภัณฑ์ระหว่างการอบแห้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความหนาแน่นเชิงปริมาตรต่ำ ในขณะที่สมบัติในการดูดน้ำกลับดีขึ้น หมายความว่า เมื่อเรากัดลงไปแล้ว มันจะกรอบ เพราะฉะนั้นเนื้อสัมผัสก็จะดีกว่า ซึ่งสมบัติข้อนี้เป็นประโยชน์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปเป็นอย่าง ยิ่ง
แต่ด้วยความที่การอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่ สภาวะความดันบรรยากาศ จำเป็นที่จะต้องทำที่อุณหภูมิสูง (มากกว่า 100oC ) ถ้าเราใช้ไอน้ำที่อุณหภูมิที่สูง มาอบแห้งผักผลไม้ ย่อมไม่เหมาะหากผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ เช่น ผัก และผลไม้ ไม่สามารถทนความร้อนได้ถึงขนาดนั้น เพราะโดยปกติที่ทำการอบแห้งด้วยความร้อน เช่น อบแห้งกล้วยหรืออบแห้งผักผลไม้ มักจะใช้อุณหภูมิเพียง 50-60 oC หากใช้ความร้อนมากว่านั้น สภาพของอาหารก็จะไม่ดีแล้ว คุณค่าทางอาหารก็จะเสียไปเช่นกัน
เพราะฉะนั้น เมื่อข้อดีของการอบแห้งแบบใช้ไอน้ำยวดยิ่ง คือไม่มีออกซิเจน ทำให้เกิดรูพรุนเยอะ เป็นสิ่งที่ต้องการ แต่ที่ไม่ต้องการคืออุณหภูมิที่สูง คำถามมจึงเกิดขึ้นว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้น้ำเดือดที่อุณหภูมิต่ำๆ ได้ เพื่อให้ได้ไอน้ำที่สภาวะยวดยิ่งที่อุณหภูมิต่ำด้วย
ด้วยเหตุผลนี้เอง ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา และคณะผู้วิจัยจึงได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาวิธีการอบแห้งแบบใหม่ ซึ่งรวมเอาข้อดีของการอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งกับความสามารถในการอบแห้ง ที่อุณหภูมิต่ำมาใช้ในการอบแห้งอาหาร กระทั่งเป็นได้มาซึ่ง การอบแห้งอาหารด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
ตอนแรกที่เริ่มทำโครงการนี้คือ ประมาณปลายปี 2544 ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา และคณะผู้วิจัยพยายามมาคิดว่า อยากพัฒนากระบวนการอบแห้งใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับเมืองไทย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรค่อนข้างมาก กระบวนการอบแห้งที่ไม่ใช่แค่ รักษาคุณภาพแต่เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อที่จะเอาไปแข่งขันกับตลาดต่างประเทศหรือสู้กับของที่นำมาจากจากประเทศ ได้หรือแม้กระทั่งบริโภคกันเองในประเทศ เมื่อได้หันมาดูกระบวนการอบแห้งในหลายกระบวนการแล้ว ก็คิดว่ากระบวนการการอบแห้งอาหารด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำน่า สนใจ เพราะมันมีรายงานในต่างประเทศ ซึ่งเอากระบวนการที่คล้ายๆกับตรงนี้ไปอบแห้งไม้ ได้ท่อนไม้ที่อบแห้งเสร็จแล้วเอาไปทำเฟอนิเจอร์ จึงได้เกิดความคิดว่าน่าจะเอากระบวนการตรงนั้นมาดัดแปลง ให้มันเป็นกระบวนการที่ เหมาะสมกับอาหารได้ แต่จากการค้นคว้าข้อมูลกลับพบว่าไม่มีทำกับอาหารเลยในโลก จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่คณะวิจัยของอาจารย์ได้เริ่มลองทดลองทำ ค่อยๆศึกษา และพัฒนาเรื่อยๆ ประมาณ 7 ปี โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว.
หลักการของการอบแห้งของไอน้ำยวดยิ่งนี้ก็คือการใช้ไอ น้ำ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำที่ความดันใดๆ มาใช้ในการอบแห้ง เพราะคำว่า ไอน้ำร้อนยวดยิ่ง ตามนิยามของมันคือ ไอน้ำอะไรก็แล้วแต่ที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือด ซึ่งไม่สน ใจว่าจุดเดือดเท่าไหร่ ถ้าสมมติว่าสามารลดความดันที่ทำให้น้ำเดือดได้ที่ 40 oC ถ้าอบแห้งที่ 50-60 oC นั้นก็คือเป็น ไอน้ำร้อนยวดยิ่งแล้ว เมื่อต้อการที่จะอบในความร้อนระดับไหน ก็แค่ปรับความดันให้สัมพันธ์กันเท่านั้น ซึ่งจากความรู้พื้นฐานที่เรียนมาตั้งแต่เด็กๆ นั้นก็คือ การทำให้ไอน้ำจุดเดือดลดลงก็ต้องลดความดันลง เช่น เวลาขึ้นไปอยู่บนเขาจะสามรถต้มน้ำเดือดได้ที่อุณหภูมิต่ำลง แต่เมื่อเหไม่ได้ขึ้นไปอยู่บนเขา แนวทางก็คือ ต้องทำให้ความดันลดต่ำลงนั้นเอง นั้นก็คือหลักการของงานวิจัยนี้
หลักการไอน้ำร้อนยวดยิ่ง พร้อมภาพประกอบการอธิบาย
ในความดันบรรยากาศ ไอน้ำซึ่งมันมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดโดยปกติจะไม่เสถียร ทำให้เจ้าไอน้ำตัวนี้อยากจะกลับมาอยู่ที่จุดเดือดเสมอ วิธีการก็คือ เจ้าไอน้ำต้องรับน้ำเข้ามาเพิ่ม แล้วจึงจะทำให้วิ่งกลับมาที่จุดเดือดได้เชนเดิม
เริ่มต้นที่ไอน้ำอิ่มตัว คือเหมือนกับว่าเขาออกมาจากกาต้มน้ำ คำว่าอิ่มตัว ก็คือเขามีน้ำเต็มไปหมดแล้ว
ไม่ต้องการน้ำอีกแล้ว เพราะฉะนั้นเขาจะเสถียร ณ จุดนี้
พอเพิ่มอุณหภูมิเข้าไปอีกจนสูงกว่าจุดเดือด เขาก็จะไม่อิ่มตัว
แต่เขาอยากจะกลับมาที่นี่ เขาก็ต้องการน้ำเข้ามาเพื่อให้กลับไปอิ่มตัวเหมือนเดิม
เขาจะหาน้ำที่ไหน นั้นอย่างไรอาหารที่มีความชื้น
เขาจึงเข้าไปในกล่อง ที่มีอาหารเป็นของเปียกมีความชื้นนั้น
ในกล่องมีความชื้นอยู่เยอะ มีน้ำตัวน้อยๆกระจายเต็มไปหมด
เพราะตอนนี้เขาเป็นไอน้ำร้อนยวดยิ่ง เขาเจอไอน้ำเขาก็จับมือกับน้ำเลย
ไอน้ำร้อนยิ่งยอดหาไอนำมาเติมเต็มได้แล้ว
เมื่อเขาก็ออกไปจากเครื่อง เขาก็กลายเป็นไอน้ำอิ่มตัวเหมือนเดิม
หลักการก็ มีอยู่แค่เพียงแค่นี้เอง
เครื่องอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
ภาพเครื่องอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
ส่วนประกอบสำคัญคือ ห้องอบแห้ง ปั๊มสุญญากาศ และถังพักไอน้ำ อาจารย์ สักกมลได้กล่าวว่า “ไม่ใช่ระบบอะไรที่มันสลับซับซ้อน” โดยหลักการของเครื่องอบแห้งนี้ คือรับไอน้ำมาจากหม้อไอน้ำ ซึ่งหม้อไอน้ำมันมีอยู่ ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม ไอน้ำโดยปรกติความดันค่อนข้างสูงประมาณ 8 หรือ 10 เท่า ของความดันบรรยากาศ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องพักไว้ในถังพักไอน้ำ (เพื่อลดความดันไอน้ำลงจากระดับสูงให้เหลือประมาณ 2 bar) ถึงเวลาจะใช้งาน จึงปล่อยไอน้ำเข้าสู่ห้องอบแห้งซึ่งอยู่ในสภาวะสุญญากาศอย่างช้าๆ โดยไอน้ำอิ่มตัวจะเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำร้อนยวดยิ่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวกลางในการอบแห้งได้ และมีพัดลมเป็นอุปกรณ์ช่วยในการกระจายไอน้ำให้สม่ำเสมอในห้องอบแห้ง สำหรับเครื่องอบแห้งที่ใช้ในการทดลองในห้องปฏิบัติการนั้นจำเป็นต้องมี อุปกรณ์พิเศษเพื่อให้คณะผู้วิจัยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำหนัก และอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอบแห้งได้
แสดงแผนภาพการทำงานของเครื่องอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
เครื่องอบแห้งด้วยไอน้ำร้อน ยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำในรูปประกอบด้วย ห้องอบแห้งรูปทรงลูกบาศก์(7) (drying chamber) ทำด้วยสแตนเลสที่ติดฉนวนกันความร้อน(14)(insulator) ถังพักไอน้ำ(3) (steam reservoir) ที่มีการรักษาระดับความดันไว้ที่ประมาณ 200 kPa ซึ่งจะรับไอน้ำมาจาก เครื่องกำเนิดไอน้ำ (1) (boiler) ปั๊มสูญญากาศ(16) (vacuum pump) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมให้สภาวะภายในห้องอบแห้ง(7) (drying chamber) มีสภาพเป็นสูญญากาศ และในถังพักไอน้ำ (3) (steam reservoir) จะมีเครื่องกำจัดไอน้ำ(5) (steam trap) เพื่อลดปริมาณไอน้ำที่รับมาจากเครื่องกำเนิดไอน้ำ (boiler)ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อุปกรณ์ให้ความร้อน(11)(electric heater) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของไอน้ำด้วยเครื่องควบคุมแบบ PID (proportional-integral-derivative controller) มีค่าความถูกต้อง 1 องศาเซลเซียส ซึ่งติดตั้งอยู่ในห้องอบแห้ง (drying chamber) พัดลมไฟฟ้า(9) (electric fan) เป็นตัวที่ทำให้ไอน้ำกระจายทั่วห้องอบแห้ง (drying chamber) และสามารถปรับความเร็วรอบได้ ช่องทางเข้าไอน้ำ (steam inlet) และตัวกระจายไอน้ำ(8) (distributor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ไอน้ำมีลักษณะเหมือนกรวยกระจายทั่วห้องอบแห้ง (drying chamber) ถาดรับตัวอย่าง(10)(sample holder) ทำด้วยสแตนเลส ตัวโหลดเซลล์ (load cell) ทำหน้าที่วัดน้ำหนักของตัวอย่างต่อเนื่องทุกๆ 30 วินาที ซึ่งจะอยู่ในห้องขนาดเล็ก (smaller chamber) ที่เชื่อมกับห้องอบแห้ง (drying chamber) (ถูกควบคุมมีสภาวะสุญญากาศเหมือนห้องอบแห้ง) เข็มวัด และตัวบันทึก (15)(recorder)(on-line weight indicator and logger) โดยอุณหภูมิของไอน้ำ และตัวอย่างจะถูกวัดอย่างต่อเนื่องโดยเทอร์โมคัปเปิ้ลชนิด K และส่งสัญญาณไปยังตัวรับ (data acquisition card) ซึ่งติดตั้งอยู่ในพีซี (17)ทำหน้าที่เป็นตัวอ่าน และบันทึกอุณหภูมิที่วัดได้
การดำเนินการทดลอง
นำตัวอย่างที่เตรียมไว้ (แครอท มันฝรั่ง และกล้วย) ประมาณ 30 กรัม วางบนถาดรับตัวอย่าง (sample holder) ที่อยู่ภายในห้องอบแห้งทรงลูกบาศก์ (drying chamber) ปิดวาล์วปรับความดัน (vacuum break-up valve) เพื่อให้ภายในห้องอบแห้งเป็นสูญญากาศ จากนั้นปิดประตูห้องอบแห้งด้วยแผ่น alkilic และเปิดวาล์วไอน้ำ (steam valve) เพื่อให้ไอน้ำจากเครื่องกำเนิดไอน้ำ (boiler) ไหลมาเก็บยังถังพักไอน้ำ (steam reservoir) โดยรักษาระดับความดันของไอน้ำในถังพักไอน้ำไว้ที่ 200 กิโลปาสคาล จากนั้นเปิดสวิตซ์ปั๊มสูญญากาศ (vacuum pump ) เพื่อปรับความดันภายในห้องอบแห้งให้เป็น 7 กิโลปาสคาล เมื่อความดันภายในห้องอบแห้งเท่ากับ 7 กิโลปาสคาลแล้วค่อยๆเปิดวาล์วควบคุมไอน้ำ(steam regulator) ให้ไหลเข้าห้องอบแห้งอย่างช้าๆ โดยรักษาอัตราการไหลไว้ที่ประมาณ 26 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ซึ่งที่ระดับความดันต่ำนี้จะทำให้ไอน้ำภายในห้องอบแห้งกลายเป็นไอน้ำร้อน ยวดยิ่ง ในระบบจะมีอุปกรณ์ให้ความร้อน (electric heater)เป็นตัวรักษาอุณหภูมิของไอน้ำที่ใช้ในการอบแห้ง ในทุกครั้งที่ทำการทดลองจะต้องมีการอุ่นตัวอย่างก่อนทุกครั้ง โดยภายในห้องอบแห้งจะมีเทอร์โมคัปเปิ้ล ชนิด K เป็นตัววัดอุณหภูมิภายในห้องอบแห้ง และอุณหภูมิของตัวอย่างและบันทึกอุณหภูมิลงในโปรแกรม Bild Time สำหรับน้ำหนักของตัวอย่างจะมีโหลดเซลล์ (load cell) เป็นตัววัดและบันทึกน้ำหนักลงในโปรแกรม RS Key ทุกๆ 30 วินาที ตั้งแต่เริ่มต้นการทดลองจนสิ้นสุดการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้เปิดวาล์วปรับความดัน (vacuum break-up valve)เพื่อให้ภายในห้องอบแห้งมีสภาพเป็นบรรยากาศปกติ ก่อนที่จะเปิดประตูห้องอบแห้ง และนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปหาปริมาณความชื้นด้วยตู้อบแห้งสูญญากาศ (vacuum oven)
รูปเปรียบเทียบ อาหารที่ได้จากการอบแห้งด้วยอากาศร้อน ที่ใช้กันทั่วไป
และแบบที่ใช้วิธีการอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
จะเห็นได้ว่ามีลักษณะทางกายภาพ ทั้งรูปทรง และสีที่ใกล้เคียงของเดิมมาก มีการหดตัวที่น้อยกว่า คืนตัว (ดูดน้ำคืนกลับ) ได้มากกว่า และมีสีเข้มกว่า มาก คืนตัว (ดูดน้ำกลับ) ได้มาก และ สีไม่ค่อยเปลี่ยนไปจากเดิม (มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ) รวมทั้งเมื่อนำไปตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีก็พบว่ามีคุณค่าทางสารอาหารที่ มากกว่าเช่นกัน
เครื่องอบแห้งด้วยอากาศร้อน เพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ได้
จากการการอบแบบใช้ไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
เครื่องตรวจลักษณะทางกายภาพ ของลักษณะผิวสัมผัสของอาหาร
เครื่องตรวจเพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณค่าทางอาหารอย่างไร
ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการใช้เครื่องอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีนี้ หากเราไปอบของที่ถูกมากๆอาจจะไม่คุ้มกับต้นทุน น่าจะเหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า(Value) สูงพอสมควร เช่น มันฝรั่งแทนที่จะทอดก็นำมาอบด้วยวิธีนี้ ซึ่งจะได้เนื้อสัมผัสที่ใกล้เคียงกับของทอด แต่ข้อดีที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน ผู้บริโภคอาจจะยอมเสียเงินมากกว่าเดิมเพื่อที่จะซื้อของที่ดีต่อสุขภาพ หรืออย่างกล้วยที่อเมริกา บานานาชิปกำลังเป็นที่สนใจ และไม่เพียงแค่บานาชิป แต่รวมถึงของขบคี้ยวทั้งหลาย ที่ตอนนี้แนวโน้มขยับไปที่พวกผักผลไม้ เพราะความที่คนมองว่าถ้าการเอาผักผลไม้มาทำให้เป็นองขบเคี้ยว ก็น่าที่จะดีต่อสุขภาพ ในการอบแห้งก็จะต้องเลือกวิธีการอบแห้งที่เหมาะสม ซึ่งวิธีอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ ก็ได้ทดลองกับผลิตภัณฑ์หลายอย่างพอสมควรแล้วว่ามีความเหมาะสม แม้ในส่วนของต้นทุนที่แน่นอนว่าต้องสูงขึ้น แต่ก็เชื่อว่ายังอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคน่าจะพอรับได้
กว่าจะพัฒนามาเป็นอบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ
เริ่มต้นอาจจะฟังดูว่าเป็นหลักการง่ายๆ แต่ในทางปฎิบัติจริงๆ ไม่ได้ง่ายอย่างที่ว่านัก เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างใหม่ ไม่ค่อยมีคนทำวิจัยมาก่อน ยิ่งในเมืองไทย ไอน้ำยวดยิ่งที่ความดันต่ำนั้นยังไม่มีใครทำมาก่อนเลย เพราะฉะนั้นจึงทำให้ขาดความรู้ขาดประสบการณ์ในเรื่องพวกนี้ค่อนข้างมาก ตอนที่เราเริ่มทำงานวิจัยใหม่ๆ แทบจะกล่าวได้ว่าไม่ทราบว่าจะสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง และยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะไปได้ดี ต้องใช้เวลาพัฒนาอยู่หลายปีกว่าจะเรียนรู้ว่า ข้อจำกัดอยู่ตรงไหน ปัญหาอยู่ตรงไหน จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และตอนนี้ก็เหลือเพียงขั้นตอนการผลิตตัวเครื่อง อบแห้งด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งที่สภาวะความดันต่ำ ให้ออกมาใช้ในในอุตสาหกรรม และเมื่อถึงวันนั้น เชื่อว่าจะทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรของไทยได้ดีทีเดียว
Link https://www.vcharkarn.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ความดันเท่าไหร่ถึงว่าความดันต่ำ
หากจะพูดถึงโรคความดันโลหิตสูง เชื่อว่าผู้อ่านคงคุ้นเคย เพราะเป็นปัญหาที่พบบ่อย แต่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจผิดกันได้บ่อยๆ ทั้งหมอและคนไข้ ที่ว่าเข้าใจผิดนั้นไม่ได้หมายความว่าตัวเลขความดันโลหิตเท่าไหร่ที่จัดว่า สูง เพราะโดยทั่วไปก็เข้าใจกันถูกต้องอยู่แล้วว่าถ้าตัวเลขสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ก็จะถือว่ามีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ แต่ปัญหามักจะอยู่ตรงที่ว่า เมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่าป่วยเป็น "โรคความดันโลหิตสูง" กันแน่
คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงคือ ปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะ ซึ่งที่จริงแล้ว จากประสบการณ์การเป็นหมอมา 30 ปีของผู้เขียน พบว่าคนไข้ที่ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูงมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และทุกรายที่พบจะมีความดันสูงมากชนิดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากโรคที่พบได้น้อย โดยจะเป็นคนละเรื่องกันกับคนส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดศีรษะ พร้อมๆ กับที่มีความดันโลหิตสูง และบ่อยครั้งที่พบว่าเกิดจากความเครียดหรือความกลัวเมื่อปวดศีรษะจนทำให้ ความดันสูงได้
คนที่มีความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการป่วยให้เห็น แต่ถ้าแสดงอาการ แสดงว่าผลของความดันสูงนั้นกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจโต บีบตัวไม่ปกติ หัวใจล้มเหลว มีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ส่วนปัญหาต่อหลอดเลือด เช่น ตามัว ไตเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
การวัดความดันโลหิตเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นความดันโลหิตสูงหรือ ไม่นั้นสำคัญมาก เพราะถ้าไม่สูงจริงแล้วไปกินยาลดก็จะเกิดอันตราย และต้องเข้าใจก่อนว่า ความดันโลหิตของคนปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ในช่วงหนึ่ง การแกว่งตัวของค่าความดันนี้จะมากขึ้นเมื่อเกิดความไม่ปกติ เช่น ความเจ็บปวด ตื่นเต้น ตกใจ เครียด กังวล เป็นต้น
การวัดความดัน โลหิตเพื่อดูว่ามีความดันสูงจริงหรือไม่ ต้องวัดหลายๆ ครั้งหลังจากที่นั่งพักและผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว และนำค่าทั้งหมดมาพิจารณาดูการแกว่งตัว หากค่าที่วัดได้ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติก็ยังไม่ต้องไปใช้ยา ในบางกรณีหมออาจต้องพิจารณาจากสภาพร่างกายหรือความเจ็บป่วยอื่นประกอบด้วย ไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขเท่านั้น
สำหรับเรื่องของความดันโลหิตต่ำนั้น พบ ว่าเข้าใจผิดกันบ่อยและต้องอธิบายกันยาว เพราะความดันต่ำนั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นความผิดปกติของแรงดันโลหิตที่มีค่าต่ำกว่าปกติ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น บาดเจ็บรุนแรงจนเสียเลือดมาก เสียน้ำและเกลือแร่มาก โลหิตเป็นพิษ หัวใจล้มเหลว หรือระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เป็นต้น
บางกรณีก็พบในคนที่ป่วย เป็นความดันโลหิตสูงแล้วได้รับยาลดความดันโลหิต จนทำให้ความดันลดต่ำลง ซึ่งอาจมีอาการหน้ามืดหรือเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่าเป็นนั่งหรือยืน แต่ก็จะมีอาการอยู่เพียงชั่วครู่เท่านั้น
การรักษาความดันโลหิต ต่ำจริงๆ นั้น จะใช้ยาเพิ่มความดันชนิดฉีดในกรณีฉุกเฉินและทำในโรงพยาบาล ดังนั้นคนไข้ที่ไปซื้อยาเพิ่มความดันมากิน อาจเป็นเหยื่อของการโฆษณาสรรพคุณยาที่เกินจริง
มีหลายคนไปหาหมอบ่อยๆ ด้วยอาการหน้ามืดตาลาย เวียนหัว มึนหัว ซึ่งเข้าข่ายอาการผิดปกติเล็กน้อยของระบบประสาททรงตัวประกอบกับความวิตก กังวล ถ้าไปเจอหมอบางคนที่ขี้เกียจอธิบายมาก อาจจะบอกว่าเป็น "โรคความดันต่ำ" หรือที่หนักไปกว่านั้นคือบอกว่า "เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ" ทั้งๆ ที่ไม่มีหลักฐานมาสนับสนุน
คนไข้บางคนยังดูแข็งแรง อยู่ในวัยหนุ่มสาว เอะอะอะไรก็ "เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ" เสียแล้ว ถ้าเป็นคนแก่ก็ว่าไปอย่าง แต่ถึงแม้เป็นคนแก่ ก็ต้องมีเหตุผลสนับสนุนและบ่งว่าสมองผิดปกติ เช่น พูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก ชา ชัก หรือเป็นอัมพาต ไม่ใช่แค่อาการ มึนงง เวียนศีรษะ ก็หาว่าความดันต่ำหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อย่างนี้ผู้เขียนเคยใช้คำว่า "โรคมั่ว" มาแล้ว
การพิจารณาค่าความดันโลหิตและการรักษานั้น ควรดูหลายอย่างประกอบกัน เช่นสภาพร่างกายและจิตใจ การวัดหลายๆ ครั้งในสภาวะที่ผ่อนคลาย รวมทั้งพิจารณาอาการพื้นฐานของร่างกายและความเจ็บป่วยประกอบกับตัวเลข ส่วนคนไข้ก็อย่าวิตกกังวลจนเกินเหตุ ควรพิสูจน์ให้แน่นอนโดยมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอว่าเป็นความดันสูงหรือ ความดันต่ำจริงๆ
อย่าให้ต้องใช้คำว่า "โรคมั่ว" บ่อยๆ เลยครับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++