อาหารสําหรับคนเป็นโรคหัวใจรั่ว การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว


4,055 ผู้ชม


อาหารสําหรับคนเป็นโรคหัวใจรั่ว การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว

               อาหารสําหรับคนเป็นโรคหัวใจรั่ว

ลิ้นหัวใจรั่ว อย่ามัวเฉยชา

ลิ้นหัวใจรั่ว อย่ามัวเฉยชา

 

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

ลิ้นหัวใจรั่ว อย่ามัวเฉยชา
 (กรุงเทพธุรกิจ) 
โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน

          โรคหัวใจ อื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพก็ลดเสี่ยงได้ ต่างจากโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่สาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด

          เรียนกันมาตั้งแต่ประถม รู้กันดีว่าหัวใจมีสี่ห้อง แต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจคล้ายกลีบดอกทิวลิปคอยหุบคอยบาน ทำหน้าที่เหมือนวาล์วน้ำอัตโนมัติ เปิดปิดให้เลือดไหลผ่านจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง ส่งไปให้ปอดฟอกออกซิเจนกลับมาไหลเวียนสู่ระบบโลหิตอีกครั้ง
          ลิ้นหัวใจ บางคนโชคร้าย ใช้งานไปนานวันเกิดอาการลักปิดลักเปิดทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ รบกวนชีวิตประจำวันทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อย อาบน้ำยังเหนื่อยเลย ทางที่ดีควรไปให้แพทย์ตรวจอย่างละเอียด เล่าอาการให้หมดเปลือก พบเร็วรักษาเร็วไม่ต้องเสียเงินทองมากมาย 
           โรคหัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ไม่บริโภคอาหารเสี่ยงได้ ต่างจากโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย
          " โรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย หรือบางคนเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น" นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  อธิบาย
          การดำเนินอาการของโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

           ปัจจัยที่ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวที่อายุประมาณ 40-50 คือ การติดเชื้อที่ผิวของเนื้อเยื่อจากกระแสโลหิตนั่นเอง เช่น จากการทำฟัน ในขณะที่ช่องปากมีแผลอักเสบอยู่ ซึ่งภูมิต้านทานร่างกายที่ต่ำ จะทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่แผลและกระแสเลือด และทำให้ลิ้นหัวใจติดเชื้อได้ด้วย
           ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ บอกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีการทำสถิติว่า มีคนไข้ที่ป่วยเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่ว มากน้อยแค่ไหน แต่จากสถิติการวิจัยของต่างประเทศพบว่า 5-10% ของประชากร สามารถเกิดโรคลิ้นหัวใจผิดปกติได้ เพราะเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความผิดปกติแต่กำเนิดเป็นหลัก หรือเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ โดยลักษณะความเสื่อมจะแสดงในรูปของสภาพหย่อน ยาว หรือลิ้นหัวใจหนากว่าคนปกติ 
           มาตรฐานการวินิจฉัยโรค ลิ้นหัวใจรั่ว คือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อน หรือเครื่องอัลตราซาวนด์ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาทีก็สามารถรู้ผลการวินิจฉัยได้แล้วว่า หัวใจมีความผิดปกติอย่างที่สงสัยหรือไม่ และสภาพการทำงานของหัวใจปัจจุบันเป็นอย่างไร ด้วยค่าบริการตรวจประมาณ 2,500-4,000 บาทต่อคน
           การวินิจฉัย แพทย์จะดูการทำงานของหัวใจทุกอย่าง เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ เพื่อแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
           การรักษาในช่วงที่ ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำวิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรบอกแพทย์ก่อนที่จะรับการรักษาหากจำเป็นจริง เป็นต้น
          สำหรับผู้ป่วยรายที่ ลิ้นหัวใจรั่ว มาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิดเปิดลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยแพทย์ ว่าสมควรได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุดหรือไม่
          "การผ่าตัดซ่อมแซม ลิ้นหัวใจรั่ว สำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาสูงประมาณ 4-5 แสนบาทต่อครั้ง โดยรวมทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการหลังการผ่าตัดเบ็ดเสร็จ โดยผลการรักษาในบางรายอาจดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติได้ตลอดชีวิต และบางรายก็อาจมีการซ่อมแซมซ้ำก็ได้" ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ กล่าว
          ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมบางราย หากเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือไตวายซึ่งพบได้น้อย แพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจทันที การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจเสื่อม หรือเสียมาก แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบจากธรรมชาติที่ได้จากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว หรือเนื้อเยื่อหัวใจหมู และลิ้นหัวใจเทียมจากสารสังเคราะห์

          วิธีการรักษาดังกล่าวจะมีราคาค่ารักษาอยู่ที่ 5-6 แสนเป็นอย่างต่ำ และสามารถรักษาให้กับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย และผลการรักษาจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายคนไข้ต่อลิ้นหัวใจใหม่ด้วย การรักษาด้วยวิธีนี้ คนไข้จะต้องกินยาป้องกัน ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะกับเนื้อเยื่อลิ้นเทียมไปตลอด
          นพ.วิสุทธิ์ บอกอีกว่า แม้โรค ลิ้นหัวใจรั่ว จะพบในผู้ใหญ่วัย 40-50 ได้มาก แต่เด็กแรกเกิดบางรายก็เป็น ลิ้นหัวใจรั่ว ได้เหมือนกัน และมักมีสาเหตุจากความผิดปกติตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เช่น พัฒนาเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งการพยากรณ์โรคทำได้ยาก เพราะเนื้อเยื่อของเด็กยังไม่แข็งแรง ทำให้การรักษายาก และโอกาสในการรอดชีวิตน้อยไปด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
              การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valvular Heart Disease) อีกมหันตภัยเงียบสำหรับคนไทย


โรคลิ้นหัวใจรั่วเป็นอีกโรคหนึ่งที่ถือเป็นภัยเงียบสำหรับคนไทย ที่บอกเป็นภัยเงียบก็เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่อาการก็ไม่รุ่นแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ตั้งแต่เนิน โรคลิ้นหัวใจรั่วเมื่อเกิดกับใครแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือรบกวนชีวิตประจำวันของคนๆนั้น เพราะเวลาจะทำอะไรก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น
โรคลิ้นหัวใจรั่วจะแสดงอาการรุ่นแรงเมื่ออายุประมาณ 40 - 50 ปีขึ้นไป จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้นเกือบๆจะทุกการเคลื่อนไหว ซึ่งบางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว
โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิดงผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย
โดยโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย ทำงานได้น้อยลง หรือแม้กระทั่งบางคนเพียงเดินขึ้นเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น
อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว
การตรวจหาลิ้นหัวใจรั่ว
การตรวโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ให้ผลแม่นยำและเป็นมาตรฐาน จะตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงสะท้อนหรือเครื่องอัลตราซาวนด์ เรียกการตรวจชนิดนี้ว่า เอคโค่ (echocardiogram) ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือ และ ความชำนาญของแพทย์ในการทำ และแปลผลด้วย
โดยส่วนใหญ่การตรวจแบบใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ สามารถใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็สามารถรู้ผลการตรวจได้ว่าหัวมีความผิดปกติหรือไม่ และสภาพการทำงานเป็นอย่างไร เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วยว่าจะรักษาด้วยวิธีการใดถึงจะเหมาะสมกับอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
สาเหตุหลักๆของการเกิดลิ้นหัวใจรั่ว
1 มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยอาจไม่มีอาการใดๆในวัยเด็กก็ได้ หรือตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์
2 ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้นจึงเกิดการเสื่อมขึ้น ลิ้นหัวใจ จะหนาตัวขึ้นและเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ ทำให้ปิดไม่สนิท
3 โรคหัวใจรูห์มาติค ซึ่งเริ่มต้นจากการติดเชื้อ Streptococus ในคอ ซึ่งพบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบและรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหา สาธารณสุขของประเทศอยู่ พบบ่อยๆ ในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรืออยู่ในชุมชนแออัด
4 เกิดจากการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด (ในผู้ติดยา เสพติด) การเจาะตามร่างกาย(เช่น เจาะลิ้น เจาะอวัยวะเพศ)เป็นต้น 
อาการและการรักษา
การรักษาในช่วงที่ ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรงมาก แพทย์มักจะแนะนำให้ป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรบอกการเจาะตามร่างกายต่างๆ เช่น ผู้ที่ชอบเจาะลิ้น อวัยวะเพศ เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยรายที่ลิ้นหัวใจรั่วมาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิดเปิดลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา แพทย์จะเป็นผู้ชี้ขาดว่าวสมควรผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุดหรือไม่ ซึ่งโดยมากแพทย์จะผ่าตัดเฉพาะในรายที่ลิ้นหัวใจชำรุดมากเท่านั้น หากชำรุดเพียงเล็กน้อย หรือปานกลางแพทย์มักจะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและเฝ้าติดตามอาการไปเรื่อยๆ
เพราะการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจในแต่ละครั้งจะเสียค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจไม่สามารถรับประกันได้ทุกรายว่าจะหายเป็นปกติได้ตลอดชีวิตหลังการผ่าตัด โดยบางรายอาจต้องมีการผ่าตัดซ่อมแซมซ้ำอีก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองและการดูแลตัวเองของผู้ป่วยแต่ละราย
การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าตัวเองเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว
โรคลิ้นหัวใจรั่วหากลิ้นหัวใจรั่วไม่มาก อาการของผู้ป่วยก็จะเป็นปกติ นั่นคือผู้ป่วยสามารถที่จะใช้ชีวิตและมีกิจกรรมปกติของตัวเองได้เหมือนอย่างคนทั่วไป แต่ถ้าลิ้นหัวใจรั่วมาก เช่น หอบเหนื่อยมากแม้จะทำงานเพียงเล็กน้อย ก็ต้องทำกิจกรรม หรือทำงานให้น้อยลง หรือหากเป็นมากก็ต้องงดกิจกรรมเหล่านั้นเลย เช่นในกรณีที่เป็นมากและเป็นผู้ป่วยที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็ต้องลด หรือหยุดไปเลย รวมทั้งอาหารที่มีรสเค็มจัด มันจัด เป็นต้น
นอกจากนี้การออกกำลังกายแบบหักโหม ก็มักจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มีอาการรุ่นแรงเพราะอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ 
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ต้องการทำฝัน เช่น ถอนฝัน ขูดหินปูน ที่จะทำให้เกิดแผลในช่องปากก็ควรจะระวังให้มาก หากต้องทำก็ต้องแจ้งแพทย์ที่ทำให้ทราบด้วยเพื่อจะได้ให้แพทย์ให้ยาในการป้องกันการติดเชื้อก่อน หรือแม้กระทั้งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดใดๆ ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน
ที่มา:
Health-Protect.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 

          อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภค ของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน 
ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น ดังนี้

 
1.
จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
 
2.
เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
 
3.
รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
 
4.
เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
 
5.
บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล

การจำกัดการบริโภคอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัวและไขมัน ชนิด trans fat ร่วมกับจำกัดการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ และเนื่องจากโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูง เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากจะทำให้เกิดการสะสมของ plaque(ส่วนของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือด) ทำให้รูของเส้นเลือดแดงเล็กลง ทำให้เกิดโรคหัวใจวายและโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ
คำแนะนำสำหรับการบริโภคอาหารประเภทไขมัน

 
ไขมันอิ่มตัวและ trans fat ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
 
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
 
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated ควรบริโภค 10%-15% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
 
โคเลสเตอรอล ควรบริโภคน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน

ดังนั้น จึงควรงดบริโภคอาหารประเภท เนย, มาการีนชนิดที่เป็น hydrogenated, สารที่ทำให้แป้งกรอบ,หลีกเลี่ยงการรับประทาน ครีม, เกรวี่ รวมทั้งในการประกอบอาหารก็ควรงดการใช้น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว แต่เลือกใช้น้ำมันพืชชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันมะกอก, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ

อาหารหลายประเภทเช่น เนื้อสัตว์, เป็ดไก่, ปลา, นม, ไข่ เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ให้โปรตีน แต่บางชนิดจะมีปริมาณ ไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารโปรตีน ควรเลือกในกลุ่มที่มีปริมาณไขมันต่ำ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอล
ตัวอย่างเช่น ถ้าจะรับประทานนมก็ควรเลือกนมพร่องมันเนย, นมสูตรไขมันต่ำ (low fat) มากกว่าที่จะทานนมสด, การรับประทานเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานในส่วนที่ไม่ติดมัน, งดรับประทานในส่วนที่เป็นหนัง,งดการรับประทานเครื่องในสัตว์ เพราะมีปริมาณ โคเลสเตอรอลสูง การรับประทานไข่ก็ควรเลือกเฉพาะไข่ขาว งดรับประทานไข่แดงเนื่องจากมีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง
นอกจากนี้อาจเลือกรับประทานแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนที่ได้จากพืช เช่น อาหารประเภทถั่ว, ถั่วเหลือง, การรับประทานปลาโดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแล้ว ยังมีไขมันชนิดโอเมก้า-3 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และป้องกันภาวะหัวใจวายได้ด้วย
รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น

ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ แต่เป็นแหล่งของวิตามิน, เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารที่เรียกว่า phytochemicals ซึ่งพบในพืช และช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
แนะนำบริโภค

 
ผักผลไม้สดหรือแช่เย็น
 
ผักกระป๋องชนิดที่มีเกลือโซเดียมต่ำ
 
ผลไม้กระป๋องชนิดที่อยู่ในน้ำผลไม้

งดบริโภค

 
มะพร้าว
 
ผักที่ผ่านกระบวนการทอด
 
ผลไม้กระป๋องชนิดที่แช่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น

เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก (whole grain)
whole grain จะเป็นแหล่งสำคัญของเส้นใยอาหาร และยังมีวิตามินเกลือแร่หลายชนิด ได้แก่ thiamine, riboflavin, niacin, folate, selenium, zinc, iron
แนะนำบริโภค

 
แป้งข้าวเจ้าที่ไม่ได้เอารำออก (whole wheat)
 
ขนมปังชนิดที่ทำจาก whole grain หรือ whole wheat
 
ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง
 
พาสต้าชนิด whole grain
 
ข้าวโอ๊ตบดหยาบ

งดบริโภค

 
มัฟฟิน
 
วาฟเฟิล
 
โดนัท บิสกิต ขนมเค็ก พาย เส้นหมี่ที่ทำจากไข่
 
ข้าวโพดอบเนย

บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน
การบริโภคที่ไม่มากเกินไป ให้พอเหมาะและสมดุลกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะช่วยป้องกันการเก็บพลังงานที่เกินพอในรูปของไขมัน อันจะทำให้เกิดโรคอ้วน ที่เป็นอันตรายทำให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thaiheartclinic.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด