สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อาหารที่ควรงดโรคความดันโลหิตสูง ปัญหาโรคความดันโลหิตสูง
ดูแลตัวเองเมื่อเป็นความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง กลายเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง และเราก็ไม่อยากให้คุณต้องเสี่ยงกับความร้ายแรงที่ว่านี้ ดังนั้น มาลองทำความรู้จักกับโรคความดันโลหิตสูงและดูแลตนเองถ้าต้องเป็นโรคนี้กันดีกว่า
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่มีค่าเเรงดันที่ทำกับผนังหลอดเลือดสูงกว่าปกติ เเรงดันในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานทำให้ผนังหลอดเลือดบริเวณตำเเหน่งต่างๆ เสื่อมลง ถ้าผนังหลอดเลือดที่เสื่อมนี้เกิดขึ้นที่สมองสามารถทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองเเตกหรือตีบได้ เกิดที่หลอดเลือดหัวใจสามารถทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ เกิดขึ้นที่หลอดเลือดที่ไตสามารถทำให้การทำงานของไตลดลงอาจถึงไตวายได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความกดดันโลหิตสูง ได้เเก่
มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตราฐาน
มีอายุมากกว่า 45 ปี สำหรับผู้ชาย เเละ 55 ปี สำหรับผู้หญิง
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
ผู้ที่สูบบุหรี่ เเละดื่มสุรา
เป็นเบาหวาน
มีความเครียดสูง
วัดค่าความดันโลหิตกันหน่อย
ค่าปกติของความดันโลหิต คือ ความดันที่ไม่เกิน 120/80 มม. ปรอท ทุกคนควรวัดความดัน อย่างน้อย 1 ครั้งใน 2 ปี ถ้าตรวจพบว่ามีค่าความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ ควรได้รับการตรวจบ่อยครั้งขึ้น และในคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็ควรควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม. ปรอท ในผู้ป่วยที่มีโรคต่อไปนี้ร่วมด้วย อันได้เเก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคไต โรคเบาหวาน เเละโรคหลอดเลือดบางชนิด
อันตรายแน่ถ้าไม่ดูแลตนเอง
เกิดภาวะสายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว เพราะถูกแรงดันเลือดจากภาวะความดันโลหิตสูง หรืออาจรุนแรงถึงขึ้นตาบอด หลอดเลือดในตาอาจแตกจนพบการตกเลือดในตาให้เห็นอย่างชัดเจน หรือมีอาการบวมในชั้นตาที่รับภาพ
เกิดอาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก ซึ่งเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รุนแรง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อาการแสดงคือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการชักหรือไม่รู้สึกตัว และหากไม่เสียชีวิตก็อาจเกิดอัมพาต
นอกจากนี้ ยังมีภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นผลสืบเนื่องมากจากโรคความดันโลหิตสูงเพราะกล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้นเพื่อออกแรงบีบส่งเลือดต้านความดันในหลอดเลือด จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต ห้องหัวใจแคบลง และสูญเสียความสามารถในการบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาการแสดงคือเกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก และภาวะความดันโลหิตสูงยังเป็นสาเหตุสำคัญทำให้หลอดเลือดงหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความผิดปกติที่ระบบไต เช่น ไตพิการ หรือไตอักเสบ เกิดอาการบวมน้ำตามร่างกาย
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมีความดันโลหิตสูง
1. ลดน้ำหนัก
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
3. ลดอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ
4. ลดความเครียด
5. งดสูบบุหรี่
6. ลดหรืองดเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์
7. หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
8. รับประทานยาเเละมาพบเเพทย์อย่างเป็นนิสัย
อาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
นอกจากการดูแลตนเองในแบบข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงยังสามารถ เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายของโรคได้อีกด้วย
ในประเทศไทยได้มีการแนะนำอาหารหรือสมุนไพรเพื่อลดระดับความดันโลหิต เช่นการรับประทานกระเทียม ใบขึ่นช่าย หญ้าหนวดแมว หรืออีกหลายอย่าง แต่ยังไม่ได้มีการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการวิจัยบทบาทของอาหารต่อความดันโลหิตที่เรียกว่าThe Approaches Dieatary Stop Hypertension เป็นการศึกษาแผนการรับประทานอาหารร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ซึ่งให้ผลดีต่อการรักษาความดันโลหิตสูง และยังป้องกันความดันโลหิต
รายการอาหารที่ควรรับประทาน
ในแต่ละมื้อของผู้ป่วยความดันหิตสูงควรประกอบด้วย
แป้ง ข้าว บะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว หรือขนมจีน ที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วนไม่เกิน 2 ทัพพี
ผัก มื้อละจาน อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ
เนื้อสัตว์ 4-5 ชิ้นคำ ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่นๆ หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง
ผลไม้ขนาดกลาง มื้อละผล เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปปะรส 6 ชิ้น หรือมะละกอ 8 ชิ้น หริแตงโม 12 ชิ้น หรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผล หรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวง หรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ
นม ต้องเป็นชนิดพร่องมันเนย หรือโยเกิร์ต วันละ 2 กล่อง
ถั่ว ได้แก่ถั่ลิสง มะม่วงหิมพานต์ แอลมอนต์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม ถั่วลันเตา ถั่วแระ ถั่วเขียว ฯลฯ
น้ำมัน ให้ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพดแทนน้ำมันปามล์ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารทอด ผัด ให้ใช้อบ ต้มหรือเผา
แหล่งที่มา : e-magazine.info , lifestyle.th.msn.com