โรคสะเก็ดเงิน รักษา วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยสมุนไพร วิธีรักษา โรคสะเก็ดเงิน


941 ผู้ชม


โรคสะเก็ดเงิน รักษา วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยสมุนไพร วิธีรักษา โรคสะเก็ดเงิน

 

สมุนไพรไทย แก้โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน รักษา วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยสมุนไพร วิธีรักษา โรคสะเก็ดเงิน

 วิธีการรักษาโรคสะเก็ดเงินนั้น มีทั้งการจ่ายยาต้มสมุนไพร และการให้ยาทา

วิธีการรักษาโรคสะเก็ดเงินนั้น มีทั้งการจ่ายยาต้มสมุนไพร ที่มีรสเมาเบื่อ เพื่อแก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษโลหิต และการให้ยาทา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก้ผิว พวกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น กลีเซอรีน หรือโลชั่นบำรุงผิว โดยใช้ในปริมาณที่มากกว่าปกติ 2 - 3 เท่า

 ทั้งนี้ การให้ยารักษาโรคสะเก็ดเงินนั้น จะให้ตามอาการที่แสดงของโรค โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักด้วยกัน กล่าวคือ

 1. ผิวหนังชื้น ลอก แดง เป็นลักษณะที่แสดงถึงภาวะความผิดปกติของน้ำเหลือง โดยแพทย์แผนไทยจะจ่ายยาในกลุ่มของน้ำเหลืองเป็นหลัก

 2. ผิวหนังแห้ง ขุย ล่อน   เป็นลักษณะที่แสดงถึงภาวะความผิดปกติของโลหิต โดยแพทย์แผนไทยจะจ่ายยาในกลุ่มบำรุงเลือด

สรรพคุณของยาในแต่ละกลุ่ม

 การจ่ายยาในกลุ่มยาน้ำเหลือง อาทิ ข้าวเย็นทั้งสอง เปลือกขันทองพยาบาท เหงือกปลาหมอ เป็นต้น มีสรรพคุณดังนี้

 ข้าวเย็นทั้งสอง คือ ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ นิยมใช้คู่กัน มีสรรพคุณเหมือนกัน คือ แก้ประดง คุดทะราด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ ออกดอก เข้าข้อ ฝีแผลเน่าเปื่อย  พุพอง เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะพิการ

 เปลือกขันทองพยาบาท มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเหงือก และใช้เป็นยาถ่ายรักษาโรคตับพิการ และโรคผิวหนังกลากเกลื้อน

 เหงือกปลาหมอ มีสรรพคุณในการแก้โรคไข้หัว ตลอดจนสามารถแก้โรคผิวหนังได้ทุกชนิด รวมทั้งโรคเรื้อน และคุดทะราดด้วย

 การจ่ายยาในกลุ่มยาบำรุงเลือด อาทิ ฝาง คำฝอย คำไทย เป็นต้น มีสรรพคุณดังนี้

 ฝาง เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ  แก้ร้อน  ยาบำรุงโลหิตสตรี  ขับประจำเดือน  แก้ปอดพิการ  ขับหนอง  แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา  รักษาน้ำกัดเท้า  แก้คุดทะราด  แก้เสมหะ  และแก้เลือดกำเดา

 คำฝอย มีสรรพคุณ บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ

 คำไทย มีสรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้โรคโลหิตจาง แก้บิด

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน

 1. งดอาหารแสลง (ห้ามรับประทานเด็ดขาด) ได้แก่

 - ปลาไม่มีเกล็ด เช่น ปลาดุก ปลาไหล ปลากราย เพราะเมือกและความคาวของปลาจะทำให้อาการของโรคกำเริบมากขึ้นและจะทำมีอาการคันมากขึ้นด้วย

 - ปลาครีบแข็ง เช่น ปลาหมอ ปลานิล (สามารถรับประทานปลาช่อนได้)

 - ของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  เช่น เหล้า เบียร์

 - อาหารรสจัด อาหารรสมันจัด หวานจัด เค็มจัด อาหารทะเล

 2. หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเครียด

 3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับการปรึกษาแพทย์แผนไทยได้ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ณ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร หรือสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 037-211-088 ต่อ  3333

 

แหล่งที่มา : bangkokbiznews.com

อัพเดทล่าสุด