กลไกการเกิดมะเร็ง สาเหตุกลไกการเกิดมะเร็ง สมุนไพรต้านมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง วิธีป้องกันโรคมะเร็ง


1,197 ผู้ชม


กลไกการเกิดมะเร็ง สาเหตุกลไกการเกิดมะเร็ง สมุนไพรต้านมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง วิธีป้องกันโรคมะเร็ง

 

 

การค้นพบที่เหนือคาดในอณูพันธุศาสตร์ของมะเร็ง

 สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์  มุทิรางกูร
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปีพุทธศักราช 2551


                                       
                                          กลไกการเกิดมะเร็ง สาเหตุกลไกการเกิดมะเร็ง สมุนไพรต้านมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง วิธีป้องกันโรคมะเร็ง

                       ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์  มุทิรางกูร นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ผู้ทำการวิจัยทางด้านอณูพันธุศาสตร์ของการเกิดมะเร็งอย่างต่อเนื่อง โดยมีงานวิจัยหลักคือการศึกษาอณูพันธุศาสตร์ของมะเร็งโพรงจมูก และการตกแต่งสายดีเอ็นเอด้วยหมู่เมททิล เพื่อควบคุมการทำงานของยีนและปกป้องจีโนมของเซลล์ เป็นเครื่องมือสำคัญช่วยให้การตรวจวินิจฉัยมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งอาจพัฒนาสู่การป้องกันการเกิดมะเร็งได้ในอนาคต
 
กลไกการเกิดมะเร็ง

                       มะเร็งโพรงจมูกนั้น นับว่าเป็นมะเร็งที่พบมากอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะคนเชื้อสายจีน และรองลงมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุมาจากการติดเชื้อ Epstein-Barr Virus และสาเหตุจากปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีส่วน ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์  มุทิรางกูร และคณะ นับเป็นคณะวิจัยแรกที่ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่จีโนมของมะเร็งชนิดนี้ 
                                            กลไกการเกิดมะเร็ง สาเหตุกลไกการเกิดมะเร็ง สมุนไพรต้านมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง วิธีป้องกันโรคมะเร็ง
 
ระยะแรกได้รับทุนจาก สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 -2547 จนถึงปัจจุบันนี้ นับว่าได้ทำการศึกษาอย่างไม่ย่อท้อเป็นระยะเวลายาวนานร่วมสิบปีเลยทีเดียว นอกจากการกลายพันธ์และการแสดงออกของยีนส์ทั้งจีโนมแล้ว คณะวิจัยยังได้ศึกษายีนที่ส่งเสริมการเกิดมะเร็งโพรงจมูกด้วย

                       การศึกษาเกี่ยวกับกลไกการเกิดมะเร็งนั้น ก่อนอื่นที่เราต้องเข้าใจนั่นคือ เซลล์มะเร็งปรกตินั้นจะกลายพันธุ์เร็วกว่าปรกติ มีหลายกลไกที่ทำให้เซลมะเร็งกลายพันธุ์เร็วกว่าปรกติได้ แต่กลไกหลักคือ ทำให้ดีเอ็นเอกับโครโมโซมถูกตัดต่อแล้วก็อยู่ผิดที่ผิดทาง หลังจากนั้นก็มีปริมาณผิดปรกติซึ่งพบมากถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ของมะเร็งทั้งหมด และหากเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่าโครโมโซมหรือดีเอ็นเอของมะเร็งถึงกลายพันธุ์ได้เร็ว เราก็สามารถหาวิธีมายับยั้งกลไกพวกนี้ และสามารถหาวิธีมาป้องกันได้ 

                       มีอีกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเซลมะเร็งคือ กลุ่มเมททิวลดลง  โดยในดีเอ็นเอของคนเราเป็นนิวคลีอิกเอซิคที่เป็นสายคู่  มีเบส 4 เบส เซลทุกเซลของเราจะมีดีเอ็นเอเหมือนกันหมด  การทำงานของเซลล์ถูกกำหนดด้วยดีเอ็นเอ   ซึ่งในแต่ละเซลล์จะทำงานไม่เหมือนกันเพราะหมู่เมททิลที่แตกต่างกัน  ต้องการให้ดีเอ็นเอตรงส่วนไหนไม่ทำงานก็เอาหมู่เมทิลไปเกาะตรงส่วนนั้น การสร้างโปรตีนในบริเวณนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ก็จะสามารถหยุดยั้งการทำงานของดีเอ็นเอบริเวณนั้นได้  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเซลล์มะเร็งคือบริเวณนั้นหมู่เมททิลน้อยลง  โดยที่ไม่ทราบเหตุผลว่าเหตใดกันหมู่เมททิลจึงลดลง  แต่ก็มีคนทราบว่าเมื่อหมู่เมททิลลดลงการกลายพันธุ์จะเกิดเร็วขึ้น ซึ่งไม่ทราบกลไกเหมือนกันว่าทำไม 

เมื่อเริ่มทำการศึกษานี้คณะวิจัยพบว่า เมื่อหมู่เมททิลลดลงจะเกิดการกลายพันธุ์บริเวณนั้น เพราะฉะนั้นในงานวิจัย  ก็จะศึกษาว่าดีเอ็นเอที่กำลังฉีกขาดอยู่มีหมู่เมททิลอยู่หรือเปล่า เพราะรู้อยู่ก่อนแล้วว่าในเซลล์มะเร็งนั้นหมู่เมททิลจะลดลง ซึ่งพอลดลงมันก็จะเกิดการกลายพันธุ์  งานวิจัยนี้จึงพยามหาทางที่จะวัดดีเอ็นเอที่กำลังฉีกขาดอยู่คือยังไม่กลายพันธ์ว่ามีหมู่เมทิลเป็นอย่างไร  โดยตั้งสมมติฐานว่าหมู่เมททิลในส่วนที่ฉีกขาดแตกต่างกับในดีเอ็นเอทั้งหมด เช่น สมมุติว่าในดีเอ็นเอทั้งหมดมีหมู่เมทิลอยู่ 60 เปอร์เซ็นค์  เราสงสัยว่าหมู่เมทิลในส่วนที่ฉีกขาดจะเท่ากับ60 เปอร์เซ็นต์หรือเปล่า เพราะถ้าเท่ากันก็จะแสดงว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ไม่มีนัยสำคัญ แต่ถ้ามันมีนัยสำคัญ ก็เชื่อได้ว่ามันตัวเชื่อมกลไกในการกลายพันธุ์

การค้นพบที่เหนือความคาดหมาย

                       การค้นพบทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายครั้งเกิดขึ้นโยบังเอิญ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความบังเอิญนั้นต้องพบกันพอดีกับคนช่างสังเกต ในงานวิจัยนี้ก็เช่นกัน
                                            กลไกการเกิดมะเร็ง สาเหตุกลไกการเกิดมะเร็ง สมุนไพรต้านมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง วิธีป้องกันโรคมะเร็ง
 
                       มีตั้งสมมติฐานในส่วนที่ฉีกขาดจะมีหมู่เมททิลน้อย แต่พอทดลองไป กลับพบว่าในส่วนที่ฉีกขาดจะมีหมู่เมททิลแตกต่างอย่างมีนัยะสำคัญผิดจากที่เราคาดไว้  นั้นคือมีเยอะกว่าจีโนม โดยมีค่านัยยะสำคัญ 10-8 ซึ่งน้อยกว่า 0.5 ไปเยอะทีเดียว กล่าวง่ายๆว่าเกือบจะทุกเซลล์นั้นเอง

                       การพบดีเอ็นเอที่มีการฉีกขาดซ่อนอยู่ได้  อันนี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกคาดไม่ถึงเพราะดีเอ็นเอเป็นโมเลกุลที่สำคัญ ถ้ามันฉีกขาดพวกเขาเชื่อกันว่าเซลจะตรวจพบทันทีหรือไม่เซลก็ต้องตาย แต่ทางคณะวิจัยของคุณหมออภิวัฒน์ กลับสังเกตพบจุดนี้ โดยปรากฏว่าเซลล์ทุกๆชนิดสามารถพบการฉีกขาดอยู่ในเซลล์ได้ นี้คืออย่างแรก

                       อย่างที่สองพบว่าในส่วนที่ฉีกขาดนี้ จะพบหมู่เมททิลสูงกว่าปกติ  ซึ่งมันสามารถอธิบายได้ว่าทำไมเซลล์ที่มีหมู่เมททิลน้อยจึงเกิดการกลายพันธุ์  ทางคณะวิจัยได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมรวมทั้งมีรายงานในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันบอกว่าดีเอ็นเอที่มีหมู่เมททิลนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือดีเอ็นเอจะถูกซ่อมแซมช้า แต่ถ้าไม่มีหมู่เมธิลดีเอ็นเอจะถูกซ่อมเร็ว อันนี้ก็เป็นเหตุว่า ทำไมจึงวัดแล้วพบว่าที่ดีเอ็นเอที่ฉีกขาดอยู่จึงมีแต่หมู่เมททิล  เพราะอันที่มีหมู่เมททิลน้อยนั้นจะถูกซ่อมไปหมดแล้ว นั้นจึงทำให้สามารถวัดได้ 

                       แต่เหตุผลหนึ่งคือ เซลล์ที่หมู่เมททิลจะซ่อมช้าเพราะจะเป็นการซ่อมที่ละเอียดประณีตนั้นเอง

แต่ถ้าดีเอ็นเอ ที่ไม่มีหมู่เมททิลก็จะซ่อมเร็ว แต่การซ่อมเร็วโอกาสผิดพลาดมันก็ย่อมเยอะเช่นกัน  ในขณะที่เซลล์ที่ซ่อมช้า ความผิดพลาดก็จะน้อย หากต้องการหาวิธีในการป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดขึ้น ถ้าไม่รู้สาเหตุของการเกิดมะเร็ง ก็เหมือนกับว่าไม่สามารถไปดักทางมันไม่ถูกนั้นเอง ตอนนี้พอเรารู้ว่าหมู่เมททิลลดลง มันซ่อมแซมเร็วขึ้นแต่ผิดพลาดมากขึ้น
                                            กลไกการเกิดมะเร็ง สาเหตุกลไกการเกิดมะเร็ง สมุนไพรต้านมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง วิธีป้องกันโรคมะเร็ง
 
 ถึงแม้ตอนนี้ยังไม่มีวิธีป้องกัน แต่เมื่อก็สามารถหาวิธีป้องกันมันได้ ยกตัวอย่างเช่นว่า หากเรารู้ว่าหมู่เมทิลน้อยลง เราก็อาจจะหาวิธีเติมหมู่เมทิลเข้าไปในจีโนมได้ ช่วยให้ป้องกันมะเร็งได้ แต่ตอนนี้ที่ยังไม่ได้ เพราเรายังไม่ทราบว่าหมู่เมทิลลดลงเพราะอะไร แต่ป้องกันโดยอ้อมอาจจะพอได้ เช่น การที่เรารู้ว่าหมู่เมทิลจะลดลงถ้าเรากินผักน้อย  ผักเป็นตัวที่ไปช่วยสร้างหมู่เมททิล อย่างนี้เป็นต้น


บทสรุปของงานวิจัย

                                             กลไกการเกิดมะเร็ง สาเหตุกลไกการเกิดมะเร็ง สมุนไพรต้านมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง วิธีป้องกันโรคมะเร็ง

                       จากรายงานต้นฉบับทั้ง 68 ฉบับของผู้วิจัยและคณะ พบว่า ได้มีการรายงานการค้นพบใหม่หลายครั้ง ได้แก่ UPD15, เอนไซม์ทีโลเมอร์เรสในปื้นขาวในช่องปาก ดีเอ็นเอของ EBV ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก  ดีเอ็นเอของไวรัสฮิวแมนพาพิโลมาในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก การค้นพบยีนที่ส่งเสริมการเกิดมะเร็งโพรงหลังจมูก ได้แก่ ยีน PIGR และ HLA-E, หมู่เมททิลของยีน  SHP-1 ในเซลล์เยื่อบุผิวและการมีหมู่เมททิลลดลงในโรคสะเก็ดเงิน การค้นพบยีนที่มีหมู่เมททิลในเซลล์มะเร็งโพรงหลังจมูก หรือมะเร็งปากมดลูก และยีน TTC12 ในมะเร็งเม็ดเลือด การบรรยายลักษณะและปริมาณหมู่เมททิลในจีโนม และการศึกษาหมู่เมททิลของ EDSBs, การค้นพบบางส่วนมาจากการตั้งสมมุติฐานเพื่อตรวจสอบ ส่วน UPD15, SHP-1, TTC12, ลักษณะและปริมาณของหมู่เมททิลของจีโนม และ EDSBs เป็นการค้นพบแบบเกิดขึ้นโดยบังเอิญ

ตอนนี้ ทางคณะวิจัยได้ไปลงในรายละเอียดว่า ทำไมเซลล์ที่หมู่เมททิลที่ต่างกันนั้น ถึงซ่อมแซมช้าและซ่อมแซมละเอียด  ในขณะที่อีกแบบหนึ่งทำไมมันถึงเร็วและทำไมถึงไม่ละเอียด หรือในอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีใครรู้ว่าทำไมหมู่เมททิลลดลงในมะเร็ง เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่กำลังพยายามหาคำตอบ

                       เมื่อถามถึงอุปสรรคในการทำงาน คุณหมออภิวัฒน์บอกกับเราอย่างหนักแน่นว่า ที่ทำไม่ได้เลยนั้นไม่มี 
ในส่วนของอุปสรรคคุณหมออภิวัฒน์ บอกว่ามีสองอย่าง อย่างแรกคือการทำวิจัยในประเทศไทยค่อนข้างจะลำบาก เพราะว่าส่วนหนึ่งงานวิจัยเป็นการแข่งขันกันในนานาชาติด้วย จึงต้องทำงานวิจัยของให้ได้มาตรฐาน เท่าๆกับต่างประเทศ ต้องนับว่าคุณหมออภิวัฒน์ เป็น  ผู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนอยู่ในแนวต้นๆของประเทศ โดยได้ทุนจากสกว.(เป็นเมธิวิจัยอาวุโส)    ประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อปี ในช่วงเวลา 3 ปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนของคุณหมออภิวัฒน์ ซึ่งเป็นเมธิวิจัยอาวุโสของฮ่องกง
                     ซึ่งได้รับทุนระดับต้นๆของประเทศ อยู่ที่ 10 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณคร่าวๆก็ตกราว 40 ล้านบาท) ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี ถ้ามองในเรื่องเม็ดเงิน ก็จะเห็นว่าเป็นการลำบากในงานวิจัย เพราะว่าไทยให้การสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานค่อนข้างน้อย เพราะผู้ที่สนับสนุนอยากได้ เป้าหมายนั้นเอง  นั้นคือมองว่าทำอย่างไรถึงจะกันมะเร็งได้  ซึ่งงานวิจัยพื้นฐานมักจะมองไม่เห็นว่าจะเกิดผลเมื่อไหร่     แต่อย่างไรก็ตาม คุณหมออภิวัฒน์ก็ยังสามารถทำงานวิจัยได้ในระดับหนึ่ง เพราะอย่างไรแล้ว คุณหมออภิวัฒน์มองว่าบุคคลถือเป็นปัจจัยสำคัญในงานวิจัย มากว่าทุนทรัพย์  สามารถใช้คนใช้กำลังสมองอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ทุนที่มีอยู่ในเกิดประโยชน์สูงสุดด้วยวิธีที่ต้องเข้าใจทุกขั้นตอน รู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ในทุกขบวนการ  แล้วต้องให้มันเชื่อมโยงกันช่วยเหลือกันด้วย เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่อิงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง

                       ส่วนความจำเป็นในการร่วมมือกับต่างชาติ คุณหมออภิวัฒน์ ไม่ได้คิดว่าการร่วมมือกับต่างประเทศเป็นสิ่งเสียหาย แต่เฉพาะในเรื่องนี้ ต้องเรียกได้ว่าเมคอินไทยแลนด์ล้วนๆ ไม่ได้ร่วมมือกับที่ไหน ต้องไม่ลืมว่าตอนนี้มีความไม่เข้าใจเกิดขึ้นในหลายที่หลายคน ที่มักจะคิดว่างานวิจัยไทยจะประสบความสำเร็จได้ต้องพึ่งชาวต่างประเทศเสมอ ซึ่งถ้าหากดูทุนวิจัยในระดับนี้จะมีอยู่ข้อหนึ่ง ที่ถามว่ามีคอนเนคชั่นกับต่างประเทศไหม  ตรงจุดนี้คุณหมออภิวัฒน์ มองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายและเป็นเรื่องดีด้วย ที่จะร่วมมือกับต่างประเทศ แต่ต้องบอกอีกอย่างว่ามันไม่จำเป็นเสมอไป ที่จะพึ่งต่างประเทศเสียทีเดียว เชื่อมั่นว่านักวิจัยไทยเองนั้นสามารถพัฒนาและพึ่งพาตัวเองได้


มุมมองการทำงาน เคล็ดลับในความสำเร็จ

                       
                       เริ่มทำการศึกษามะเร็งแต่วิทยานิพนธ์ของคุณหมออภิวัฒน์ ไม่ได้ศึกษามะเร็ง หากแต่ทำเกี่ยวกับโรคทางพันธุ์กรรม และเทคโนโลยีที่ใช้ตอนศึกษาโรคทางพันธุกรรมคือแผ่นที่จีโนม  เพราะเมื่อย้อนไปสมัยมหาวิทยาลัยที่เรียนตอนนั้น คุณหมออภิวัฒน์ได้มีส่วนร่วมกับโครงการจีโนมมนุษย์ จึงทำให้ได้ช่วยในการทำแผ่นทีจีโนมจากกายภาพ ซึ่งกลับมาแล้วที่เมืองไทยไม่มีให้ทำเพราะว่าโครงการเสร็จแล้ว และมันเป็นเทคโนโลยีจำเพาะเพราะฉะนั้นก็ต้องเอามาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ในการศึกษามะเร็ง ทำให้มีการพัฒนาความรู้ไปอีกในระดับหนึ่ง 

                       หรือในอีกมุมนั้นคือถ้างานวิจัยในปัจจุบัน คือไม่ใช่ไอเดียคุณหมออภิวัฒน์ทั้งหมดแต่ได้มาจากการศึกษาด้วย ยกตัวอย่างเช่น ได้ทำการ
ศึกษาบางอย่างแล้วเกี่ยวกับยีนส์ ว่ามันถูกควบคุมด้วยหมู่เมททิลที่อยู่ข้างในหรือเปล่า จุดนี้ก็ได้ทำการศึกษาทั้งหมด 17 ยีนส์ ปรากฏว่าพบกลไกนี้ 2 ยีนส์ ใน 10 ยีนส์ที่ทำการศึกษาได้ แล้วคำถามจึงมีตามมาว่า มันจริงหรือเปล่า? เพราะแค่ 2 ใน 10 ยีนส์ จากยีนส์ของคนทั้งหมดประมาณ 3 หมื่นกว่ายีนส์ โอกาสที่ 2 ยีนส์ใน 10 ยีนส์จึงจะถูกมองได้ว่ากลไกนี้ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ตอนนั้นเองคุณหมออภิวัฒน์ ได้บอกกับเราว่า “ผมถึงทางตันเหมือนกัน เพราะวิธีการศึกษาของผมทางพันธุศาสตร์มันทำได้แค่นี้แหละ”  แต่คุณหมออภิวัฒน์ ก็สามารถหาทางออกได้เมื่อครั้งที่ไปประชุมที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ แล้วได้พบกับนักวิจัยระดับโลกคนหนึ่งชาวฝรั่งเศส เมื่อได้สนทนากันในประเด็นนี้ว่าทำอย่างไรดี นักวิจัยท่านนั้นจึงได้แนะนำมาว่าให้ดูทั้งจีโนม และในเรื่องของเงินทุนหากมีไม่พอที่จะทำการศึกษาทั้งจีโนม ก็ให้ใช้รีพอร์ตที่มันมีอยู่แล้วที่ออนไลน์ไปก่อนก็ได้ คุณหมออภิวัฒน์จึงได้ลองทำตามมคำแนะนำ โดยหาวิธีการที่จะพิสูจน์โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้ว แต่วิธีการที่จะพิสูจน์นั้นก็ต้องไปปรึกษานักคอมพิวเตอร์ เพราะด้วยข้อมูลที่มีนั้นมหาศาล จึงได้ไปปรึกษากับ อาจารย์ศุภเดชที่ไบโอเทค ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านไบโออินฟอร์เมติกส์ ช่วยเหลือด้านความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในจัดการข้อมูลทางชีวะวิทยา เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา อันนี้เป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่สำคัญทางวิชาการ เพราะเวลาที่มีการเอาไปใช้งานจริงๆ นั้นมันไม่ได้จำกัดสาขาที่สาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเอง นี่คือเคล็ดลับในความสำเร็จของคุณหมออภิวัฒน์

“ผมเคยสัมภาษณ์หลายที่ผมใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงาน” คุณหมออภิวัฒน์กล่าวว่า
                       คนไทยเข้าใจว่าปรัชญาเศรษฐกิจคือให้เราอยู่รอดแต่จริงๆมันไม่ใช่แค่นั้น มันสามารถทำให้เราประสบความสำเร็จได้ด้วย อยู่รอดได้ด้วย หมายความว่าถ้าเรามีเงินน้อยเราประหยัดเราก็อยู่ได้ จริงๆไม่ใช่แค่นั้น เราสามารถใช้ปรัชญานี้แข่งขันกับนานาชาติได้ ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีที่ผมพูดตั้งแต่ตอนแรกมันไม่มีใครคิดว่าจะมีใครศึกษาได้ในประเทศไทยเพราะมันต้องใช้ การลงทุนค่อนข้างสูง และมันต้องใช้ความรู้ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นมายาวนาน คือมันไม่ใช่การลงทุนสูงอย่างเดียวมันต้องต่อเนื่องอย่างยาวนานด้วยจึงจะมีการค้นพบทฤษฎีแบบนี่ ได้ คือต้องใช้ต้นทุนทางความรู้ต้นทุนทางความคิดเยอะ ต้องมีต้นทุนทางความรู้ที่คนอื่นไม่มี จึงสามารถค้นพบทฤษฎีเหล่านี้ก่อนคนอื่นได้

                       งานวิจัยทางมนุษย์และอณูพันธุศาสตร์ เริ่มจากการศึกษาเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงชีววิทยาของดีเอ็นเอ ความรู้นี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย ดังนั้นงานวิจัยพื้นฐานนอกจากจะมีความสำคัญต่อมนุษยชาติแล้ว ยังเป็นรากฐานที่ส่งผลถึงสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย งานวิจัยพื้นฐานในระดับนานาชาติเป็นงานวิจัยที่มีการแข่งขันสูงที่ต้องการการลงทุนที่มาก อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์คือความฉลาดและปัญญา ผู้วิจัยและคณะเชื่อมั่น ศรัทธาและนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลักในการทำงานวิจัย

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด