วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคหัวใจ วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ สถิติการเป็นโรคหัวใจ


684 ผู้ชม


วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคหัวใจ วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ สถิติการเป็นโรคหัวใจ

 

 


โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย

ความหมายและความสำคัญของโรคไม่ติดต่อ
                 โรค ไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือดต่างๆเป็นต้น
        ขณะ นี้ความสำคัญของโรคไม่ติดต่อกำลังเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะประเทศไทย แต่รวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยโรคติดต่อลดลงเหลือเพียง 3 โรคใหญ่ คือ โรคเอดส์ วัณโรค และไข้เลือดออก แต่โรคไม่ติดต่อกำลังมีบทบาทในการเป็นภัยต่อสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และที่เป็นปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ โรคที่เกิดจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ
        สำหรับ กลุ่มเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อ ที่ผ่านมาคือวัยทำงาน เพราะมีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันเริ่มตั้งแต่แม่และเด็ก แม่ต้องมีความรู้ในการเลี้ยงลูก เพราะเด็กไทยเป็นเด็กที่อ้วนมากขึ้น อย่างน่าเป็นห่วง และเด็กที่อ้วนเมื่อเติบโตก็จะเป็นคนอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน ซึ่งขณะนี้เด็กไทยที่เป็นโรคเบาหวานก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น ตอนนี้ทุกกลุ่มต้องทราบว่าตัวเองมีสิทธิ์จะมีความเสี่ยง
       เ นื่องจากปัญหาสาธารณสุขไทยได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น การบริโภคเปลี่ยนไป มีวิถีชีวิตที่รีบเร่ง การออกกำลังกายน้อยลง และมีความเครียดเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรค ที่ไม่ติดต่อกำลังทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติปัญหาสาธารณสุขไทยมีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรกของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลล้วนเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อ
ภัย เงียบที่คุกคามสุขภาพของคนในยุคปัจจุบันเนื่องจากมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อ
สภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปมีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของ ประชากรโดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหลายประการ เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อ
ปัจจัย เสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความดันเลือด การขาดการออกกำลังกาย โคเลสเตอรอลและความอ้วน
 
 
 
แนวทางการปฏิบัติโดยทั่วไปในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ
         ๑.  ต้องรักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี
        ๒. จัดให้มีการสุขาภิบาลที่ดี
        ๓. ล้างพืชผักให้สะอาดก่อนรับประทาน รับประทานอาหารที่สุกสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน
        ๔.  เลือกซื้ออาหารที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา มีมาตรฐาน ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ
        ๕.ควรออกกำลังการอย่าสม่ำเสมอ
ตัวอย่างและแนวทางการป้องกัน รักษาโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ
การป้องกันโรค แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดย
1. การป้องกันปฐมภูมิ (Primary Prevention) เป็นการป้องกันก่อนที่จะมีโรคเกิดขึ้น
2. การป้องกันทุติยภูมิ (Secondary Prevention) เป็น การป้องกันในคนที่เกิดโรคขึ้นแล้วแต่ยังไม่มีอาการแสดงชัดเจน เพื่อลดผลเสียของโรคที่เกิดขึ้น โดยการวินิจฉัยโรคแต่เริ่มแรกก่อนมีอาการแสดง และให้การรักษาแต่เนิ่นๆ
3. การป้องกันตติยภูมิ (Tertiary Prevention) เป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้ว โดยให้การรักษา และการทำกายภาพบำบัด
 
ตัวอย่างของโรค อารการและวิธีป้องกัน
ชื่อโรค / สาเหตุ อาการ การป้องกัน
โรคตาฟาง
เกิดจากการขาดอาหารที่มีไวตามินเอ
 
 
ตามัวเวลากลางคืน นัยน์ตาแห้ง เคืองตาไม่กล้าสู้แสง และผิวหนังหยาบ แห้ง แตกเป็นสะเก็ด รับประทานน้ำมันตับปลา นม ไข่แดงมะเขือเทศ ฟักทอง ข้าวโพด กล้วย มะละกอสุก ขนุน มะม่วง ละมุด ฯลฯ
โรคเหน็บชา
เกิดจากขาดอาหารที่มีไวตามันบีหนึ่ง
 
 
 
เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ชาตามปลายมือปลายเท้า ขาลีบเรียว กล้ามเนื้อไม่ทำงาน เหนื่อยง่าย รับประทานข้าวซ้อมมือข้าวที่หุงไม่เช็ดน้ำ หรือใช้วิธีนึ่ง เนื้อหมู ปลา ไข่แดง เครื่องในสัตว์ถั่วต่างๆ และผักใบเขียว
โรคแผลที่มุมปาก
เกิดจากขาดไวตามินบีสอง
 
มุมปากแตกเป็นแผลทั้งสองข้างริมฝีปากแห้ง ลิ้นอักเสบ ผิวหนังมุมจมูกด้านนอกอักเสบ และแตก รับประทานนม ตับ หัวใจ ผักใบเขียวและผักกำลังแตกยอด เช่น ใบขี้เหล็ก ผักโขม ใบมันสำปะหลัง ผักชียอดแค
โรคโลหิตจาง
เกิดจากขาดธาตุเหล็ก ขาดโปรตีนขาดไวตามินบีสิบสอง ร่างกายเสียเลือดมาก หรือเป็นโรคพยาธิลำไส้
ซีด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หงุดหงิดเล็บบาง เปราะ รับประทานเนื้อสัตว์ ไข่แดง กุ้งแห้งปลามู หอยขม ผักแว่น ผักพังพวย โหระพา สะระแหน่ คึ่นช่าย กะปิ
โรคคอพอก
เกิดจากขาดเกลือแร่ไอโอดีน
ต่อมธัยรอยด์ที่คอโต ทำให้หายใจและกลืนอาหารลำบาก รับประทานอาหารทะเล ปลาทู หอย ปูและควรใช้เกลืออนามัย ประกอบอาหาร
โรคกระดูกอ่อน
เกิดจากขาดไวตามินดีและแคลเซียม
 
 
กระดูกพิการ โค้ง กระดูกข้อต่อโตร่างกายเจริญเติบโตช้า รับประทานกุ้งแห้ง ปลาแห้งปลาเล็กปลาน้อย น้อมันตับปลา นม ยอดแค ผักคะน้า ถั่วแดง ใบยอผักโขม คึ่นช่ายกะปิ
โรคผอมแห้ง
เกิดจากรับประทานอาหารไม่พอกับที่ร่างกายต้องการ
ผอมมาก ไม่มีไขมันใต้ผิวหนังอ่อนเพลีย ไม่มีแรง รับประทานให้พอเพียง มีสารอาหารครบและพักผ่อนอย่างพอเพียง
โรคอ้วน
เกิดจากรับประทาอาหารมากเกินไปหรือเกิดความผิดปกติของต่อมในร่างกาย
อ้วนมาก ไมีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว เหนื่อยง่าย ลดอาหารพวกแป้ง และไขมันควรรับประทานผัก ผลไม้ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ความดันโลหิตสูง
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุบางส่วนโดยเฉพาะคนไข้อายุน้อย เกิดจากโรคอื่น เช่น โรคไต โรคเบาหวาน
ปวดมึดบริเวณท้ายทอยมักจะเป็นมากเวลาตื่นนอน พอสายๆ จะรู้สึกค่อยยังชั่ว คนไข้จะอ่อนเพลียใจสั่น ควรงดอาหารเค็มจัดและติดต่อรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
โรคเบาหวาน
เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง ทำให้การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย มีน้อยจึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในกระแสเลือด มีสาเหตุจาก กรรมพันธุ์หรือจากการใช้ยา
อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อยกินข้าวจุ น้ำหนักลด ปัสสาวะมีมดขึ้น หรือเป็นแผลเรื้อรัง ชาตามมือและเท้า รับประทานอาหารและผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยที่สุด

แหล่งที่มา : mpirial.ispace.in.th

อัพเดทล่าสุด