พยาธิภาพดโรคหลอดลมอักเสบ แผนการสอนโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis)


894 ผู้ชม


พยาธิภาพดโรคหลอดลมอักเสบ แผนการสอนโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis)

 

 

หลอดลมขนาดเล็กอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchiolitis) เมื่อลูกของคุณมีอาการหอบเหนื่อย

หลอดลมขนาดเล็กอักเสบมีสาเหตุจากการติดเชื้อแล้วทำให้หลอดลมขนาดเล็ก ที่ต่อไปยังปอดเกิดการอักเสบแล้วตีบแคบ มีเสมหะมากขึ้น ทำให้หายใจลำบาก

  • ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็กที่มีหลอดลมขนาดเล็กอยู่แล้ว ทำให้อุดตันง่ายมากขึ้น
  • มักจะเกิดในช่วง 2 ขวบแรกครับ สูงสุดที่อายุ 3-6 เดือน
  • เกิดในเด็กผู้ชายมากกว่า  เกิดในเด็กที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยนมแม่มากกว่า และเกิดกับเด็กที่อยู่ในที่ๆแออัดมากกว่า
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่ายมากขึ้น หากได้รับควันบุหรี่ครับ

แม้ว่าส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง  แต่ในบางรายก็จะรุนแรงจนต้องรักษาที่โรงพยาบาล   และมีความเสี่ยงสูงในเด็กคลอดก่อนกำหนด  มีโรคหัวใจหรือโรคปอดแต่กำเนิดหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องครับ

เด็กที่เป็นโรคหลอดลมขนาดเล็กอักเสบมักจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดตามมา  ยากครับที่จะบอกว่าหลอดลมอักเสบเกิดก่อน หรือโรคหอบหืดเกิดก่อน

ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส  ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ RSV (Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งเชื้อ RSV มักจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่หลอดลมฝอยขนาดเล็กได้มากถึง 50% เลยทีเดียว  เชื้อชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกันได้แก่ Rhinovirus , เชื้อไข้หวัดใหญ่ ครับ

อาการที่เกิดขึ้น

อาการแรกมักจะมีอาการเหมือนกับโรคหวัดครับ

  • มีคัดจมูก
  • ไอ
  • ไข้ต่ำๆ

หลังจากนั้นอีก 2-3 วันก็จะมีไอ แล้วหอบเหนื่อยหายใจลำบากครับซึ่งจะมีอาการคือ

  • หายใจเร็ว
  • หัวใจบีบตัวเร็ว
  • หน้าอกบุ๋มระหว่างหายใจ
  • ระสับระส่าย  ไม่ยอมนอน ไม่ดูดนม

บางครั้งอาจมีอาการอาเจียนหลังการไอ  บางรายหยุดหายใจได้  ในรายที่รุนแรงอาการจะเลวลงเร็วครับ  และจะมีอาการหอบเหนื่อย เนื่องจากเสมหะอุดตันหลอดลม  เด็กอาจขาดน้ำเนื่องมาจากว่าต้องหายใจอย่างหนักครับ

เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายได้ครับ  ผ่านทางเสมหะ และน้ำลายครับ

การป้องกัน

วิธีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อนั่นคือ การล้างมือครับ  และไม่ให้เด็กติดต่อกับคนที่มีอาการ ไข้ ไอ อย่าให้คนสูบบุหรี่ภายในบ้านที่อยู่อาศัยครับ

โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันนะครับ

โดยทั่วไปมักจะหายเองภายใน 12 วัน  แต่เด็กบางคนอาจไอได้เป็นสัปดาห์

การรักษา

โชคดีครับ ที่โรคนี้ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง  ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะอาจไม่จำเป็นในรายที่เกิดจากไวรัส  แต่ว่าถ้าเกิดจากแบคทีเรียก็จำเป็นครับ  บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยขยายหลอดลมร่วมด้วย

เด็กบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ  ดังนั้นให้แพทย์ตรวจทุกครั้งครับ โดยเฉพาะถ้าเด็กมีอาการหายใจเร็ว หน้าอกบุ๋ม  ซึ่งแพทย์ก็จะให้น้ำเกลือและให้ออกซิเจนร่วมด้วยกับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดครับ น้อยรายที่จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ

การรักษาที่บ้าน 

แนะนำให้ดื่มน้ำครับ ถ้าเด็กไม่ยอมดื่มน้ำ อาจให้เด็กได้รับน้ำทีละน้อยโดยการตักป้อนบ่อยๆก็ได้ครับ

บางครั้งอากาศที่แห้งอาจทำให้เด็กขับเสมหะได้ยากมากขึ้น  บางครั้งอาจ

ถ้าเด็กมีไข้ ให้รับประทานยาลดไข้ครับ  ถ้าเด็กมีน้ำมูกอาจใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออกครับ

แหล่งที่มา : thaifittips.com

อัพเดทล่าสุด