สมุนไพรรักษานิ่วในท่อไต การผ่าตัดนิ่วในท่อไต การสลายนิ่วในท่อไต ความสำคัญของท่อไต


959 ผู้ชม


สมุนไพรรักษานิ่วในท่อไต การผ่าตัดนิ่วในท่อไต การสลายนิ่วในท่อไต ความสำคัญของท่อไต

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดแล้ว

ผู้ป่วยแต่ละคนย่อมจะได้รับคำแนะนำเรื่องอาหารไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกาของผู้ป่วยในขณะนั้น ๆ แต่หลักเกณฑ์ใหญ่ ๆ ที่สามารถใช้ร่วมกันโดยแยกตามประเภทของอาหาร คือ
1. อาหารประเภทโปรตีน โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญ ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในร่างกาย และเนื้อเยื่อต่างๆ ในทางกลับกันเมื่อร่างกายย่อยสบายอาหารประเภทสารโปรตีนแล้ว จะเกิดการเผาผลาญเป็นของเสีย หรือเรียกว่า BUN(Blood Urea Nitrogen) ของเสียเหล่านี้ จะต้องถูกขับทิ้งผ่านทางไต
แต่เมื่อไตหยุดทำงานลง ของเสียเหล่านี้จะคั่งค้างกระจายไปตามกระแสโลหิตและไปสะสมตามอวัยวะต่างๆจนทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานผิดปกติ
การได้อาหารประเภทโปรตีนมากเกินไปจะทำให้เกิดของเสียในร่างกายเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตวาย ควรได้รับการควบคุมปริมาณของโปรตีน โดยใช้ผลการตรวจเลือด และอาการของผู้ป่วย เป็นแนวในการกำหนดปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ให้งดกินอาหารพวกโปรตีนเลยทีเดียว เนื่องจากร่างหายยังคงต้องการโปรตีน ไปช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออยู่ อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่, ถั่ว, นม, เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต 
คาร์โบไฮเดรต พบได้ในข้าว แป้งและน้ำตาลไม่ได้จำกัด ยกเว้น ผู้ป่วยโรคไตวาย สามารถกินอาหารในกลุ่มนี้ไม่ได้จำกัด ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีภาวะของเบาหวานร่วมด้วย ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเรื่องเบาหวาน เพื่อกำหนดปริมาณของอาหารคาร์โบไฮเดรตให้เหมาะสม
3. อาหารประเภทเกลือแร่ ผู้ป่วยโรคไตวาย จะมีความบกพร่องของการควบคุมปริมาณเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถปรับความพอดีของเกลือแร่ได้ จึงอาจพบภาวะเกิน หรือภาวะขาด ของเกลือแร่บางชนิดได้อยู่บ่อย ๆ วิธีควบคุมที่ดี คือ การควบคุมโดยใช้ผลการตรวจเลือดเป็นแนวทาง อาหารประเภทเกลือแร่ ที่ผู้ป่วยโรคไตวายต้องควบคุมอยู่ 2 กลุ่ม คือ
สมุนไพรรักษานิ่วในท่อไต การผ่าตัดนิ่วในท่อไต การสลายนิ่วในท่อไต ความสำคัญของท่อไต
ก. อาหารที่มีโปแตสเซียมปกติสารโปแตสเซียมจะถูกขับทิ้งทางไต แต่ถ้าไตหยุดทำงานลง จะเกิดการคั่งของโปแตสเซียมในกระแสโลหิต ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ การมีปริมาณโปแตสเซียมในกระแสโลหิตระดับสูง อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ผู้ป่วยโรคไตวายจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีสารโปแตสเซียมสูง ๆ ซึ่งได้แก่ ผลไม้, ผักใบเขียว, เนื้อสัตว์, และไข่แดง
ข. ประเภทเกลือแร่โซเดียม เกลือโซเดียม มีหน้าที่หลักในการควบคุมความสมดุลของน้ำ และความดันโลหิตในร่างกาย เมื่อมีภาวะโซเดียมสูง จะทำให้เกิดอาการบวม , ความดันโลหิตสูง, หัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ การกินเกลือโซเดียมมาก จะทำให้กระหายน้ำ ดังจะเห็นได้ จากเวลาที่เรารู้สึกกระหายน้ำมาก 
ผู้ป่วยโรคไตวาย จำเป็นจะต้องควบคุมปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันอยู่แล้ว จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม และอาหารหมักดอง
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคไตวายบางกลุ่ม อาจมีการสูญเสียโซเดียมมากกว่าปกติ จนเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เฉพาะรายไป สำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการเบื่ออาหารเนื่องจากอาหารมีรสจืดจนเกินไป เพราะถูกควบคุมอาหารเกลือแร่โซเดียม สามารถปรุงอาหารให้ออกรสหวาน หรือเปรี้ยวแทนได้ ยกเว้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์เป็นกรณีพิเศษเพื่อขอคำแนะนำเรื่องอาหารรสหวานต่อไป
4. น้ำ น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกายของเราทุกคน แต่ผู้ป่วยโรคไตวาย อาจเกิดภาวะคั่งของน้ำในร่างกายได้ เนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินที่ร่างกายรับเข้าไป ทิ้งได้ทั้งหมด 
ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล เพื่อควบคุมปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันให้เหมาะสม แต่ที่สำคัญ คือ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำแร่แม้จะมีผู้อ้างว่า น้ำแร่ช่วยให้มีสุขภาพีตามเพราะน้ำแร่ ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตอย่างยิ่ง เนื่องจากมีปริมาณเกลือแร่ที่ต้องขับทิ้งผ่านทางไต เมื่อไตหยุดทำงาน จะเกิดภาวะคั่งค้างของเกลือแร่นั้น ๆ ได้
อาหารผู้ป่วย ล้างไตทางช่องท้อง(ซี.เอ.พี.ดี.) 
ภาวะขาดอาหารนั้น พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง รวมทั้งผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธีฟอกเลือก หรือล้างไตทางช่องท้อง ต่างประเทศ เช่น ยุโรป หรืออเมริกาเหนือ พบภาวะขาดอาหารในผู้ป่วย ซี.เอ.พี.ดี. ถึงร้อยละ 40.6
ดั้งนั้นแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย ซึ่งควรเรียนรู้ลักษณะอาหารที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยเหล่านี้เพื่อป้องกันภาวะขาดอาหารและลดภาวะเจ็บป่วยและการตายลง
สาเหตุของการเกิดภาวะขาดอาหาร
1. การลดลงของอาหารที่กินเข้าไป สาเหตุสำคัญเกิดจาก
ก. การคั่งของของเสีย และการล้างไตไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร
ข. อาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เพราะความเครียดหรือกังวลจิตใจเกี่ยวกับโรคของตนเอง หรือปัญหาบุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีภาวะซึมเศร้าบ่อย จึงกินอาหารลดลง
ค. น้ำตาลจากน้ำยาล้างไตในช่องท้อง จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต แล้วนำไปสร้างเป็นพลังงานให้แก่ร่างกายประมาณ 500-700 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกหิว
ง. อาการแน่นท้องจากน้ำยาล้างไตในช่องท้อง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด กินอาหารได้น้อยกว่าปกติ
จ. มีการเปลี่ยนแปลงของการรับรสของอาหาร เช่น การขาดธาตุสังกะสี
ฉ. ยา เช่น อลูมิเนียม, แคลเซียม, เหล็ก, ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้ (dyspepsia)
2. โรคเก่าของผู้ป่วย เช่น โรคไตเป็นถึงน้ำ (polycystic kidney) ไต และตับ จะมีขนาดใหญ่เต็มช่องท้อง ทำให้แน่นท้องได้
3. อาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน โดยเฉพาะการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยกินอาหาร ได้ลดลง และยังมีการสลายอาหารที่สะสมในร่างกาย มากกว่าอาหารที่กินเข้าไป (catabolism)
4. ขบวนการและฮอร์โมนในร่างกาย เช่น อีริโธรปัว-อีดิน (Erythropoietin) จะลดลงในภาวะในไตวายเรื้อรัง เกิดภาวะโลหิตจาง ทำให้ผู้ป่วยไม่แข็งแรง กินอาหารได้น้อยลง
ในกรณีนี้ หากได้รับยานี้ทดแทนจะทำให้กินอาหารได้ดีขึ้น เพราะการขาด Growth Hormone และภาวะกรดในร่างกาย ก็มีผลต่อการขาดอาหารได้
5. ผลจากการล้างไต ทำให้สูญเสียโปรตีนออกมาทางน้ำยาประมาณ 9 กรัมต่อวัน โปรตีนที่เสียไปจะเป็น อับบูมิน ร้อยละ 50-80
ถ้ามีการติดเชื้อในช่องท้องจะเสียโปรตีนมากขึ้น 2 เท่า แม้รักษาการติดเชื้อในช่องท้องหายแล้ว แต่ยังมีการสูญเสียโปรตีนต่อเนื่องอีกหลายสัปดาห์
การประเมินภาวะโภชนาการ
1. ระดับฮัลบูมินในเลือด คือ ปริมาณของโปรตีนที่สะสมในร่างกาย สามารถบอกภาวะโภชนาการในร่างกายได้ดี และบ่งชี้ถึงอัตราการเจ็บป่วยหรือตายในผู้ป่วยล้างไตได้ เช่น 
ผู้ป่วยมีอัตราการตายต่ำ ถ้าอัลบูมินในเลือดมากกว่า 40 กรัม/ดล 
แต่ผู้ป่วยจะมีอาการตายปานกลางถ้าอัลบูมินในเลือด เท่ากับ 3-4 กรัม/ดล
และผู้ป่วยมีอัตราการตายปานกลางถ้า อัลบูมินในเลือก น้อยกว่า 3.0 กรัม/ดล
2. ระดับไขมันในเลือด เช่น โคลเลสเตอรอลในเลือด จะมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ
3. ระดับบีเอ็นยูเป็นผลรวมของการากินโปรตีนและปริมาณการล้างไต ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ภาวะโภชนาการที่ดีพอ
4. แอนโธรโปเมตรี (Anthropometry) 
คือ การใช้เครื่องมือวัดความหมายของผิวหนัง และไขมันใต้ผิวหนังสามารถเป็นสิ่งบ่งบอกภาวะโภชนาการได้ดีเช่นการวัดรอบแขน (midarmcircumference)
5. พีซีอาร์ (PCR=Protein catabolic rate) จะเป็นค่าคำนวณ ที่แสดงถึงอาหารโปรตีนที่ผู้ป่วยกินเข้าไป เพื่อโภชนาดการที่ดี และลดอัตราการเจ็บป่วยหรือตาย ควรปรับอาหารของผู้ป่วยให้มี พีซีอาร์มากกว่า 0.8 กรัม/กก./วัน
6. ปริมาณการล้างไต ถ้ามีปริมาณมากพอ เช่น Weekly Kt / V มากกว่า 1.7 ลิตร / สัปดาห์ / 1.7 m 2 หรือค่า weekly creatinine clearance มากกว่า 50 ลิตร/สัปดาห์ สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการที่ดีและเจ็บป่วยน้อย
สารอาหาร แนะนะให้กินในหนึ่งวัน
โปรตีน
พลังงาน (จากอาการและน้ำยา)
คาร์โบไฮเดรต (จากการกิน)
ไขมันไม่อิ่มตัว : ไขมันอิ่มตัว
อาหารมีกาก (Total fiber)
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
แมกนีเซียม
โปแตสเซียม
โซเดียมและน้ำ
วิตามิน
อาหารที่จำเป็นต่อผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 1.2-1.3 กรัมต่อกิโลกรัม ในสภาวะปกติ
41.4-1.6 กรัมต่อกิโลกรัม เมื่อติดเชื้อในช่องท้อง
35-42 กรัมต่อกิโลกรัม
ร้อยละ 35 ของพลังงานทั้งหมด
1.5:1.0
20-25 กรัม
1000-1400 มก.
800-1200 มก.
200-300 มก.
60-80 มิลลิอิควิ
ขึ้นอยู่กับความดันโลหิตและปริมาณน้ำในร่างกาย
วิตามินบี โพลิค
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการตรวจใด ๆ ที่สามารถบอกภาวะโภชนาการได้แน่นอน ต้องพิจารณาจากการตรวจหลาย ๆ ชนิด บางรายงานจะกำหนดภาวะขาดอาหารเมื่อ
- อัลบูมินในเลือด น้อยกว่า 4.0 กรัม/ดล.
- โคเสสเตอรอลในเลือด น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/ดล.
- Transferrin น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/ดล.
- น้ำหนักตัวของผู้ป่วยในปัจจุบัน น้อยกว่าร้อยละ 80 ของน้ำหนักมาตรฐาน
- พีซีอาร์ น้อยกว่า 0.8 กรัม /กก. /วัน
- การวัดความหนาของผิวหนังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
น้ำหนักตัวของผู้ป่วย ที่นำมาใช้คำนวณปริมาณอาหารต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้น้ำหนักมาตรฐานที่ควรจะเป็น หรืออาจใช้น้ำหนักของผู้ป่วยก่อนจะมีภาวะของเสียคั่งในร่างกาย เพราะถ้าใช้น้ำหนักตัวในปัจจุบันซึ่งขาดอาหารอยู่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับอาหารน้อยกว่าที่ควรจะได้รับ และทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวอยู่ในระดับนี้เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถแก้ไขภาวะขาดอาหารได้
ดังนั้น ต้องประเมินสภาวะอาหารของผู้ป่วยน้ำหนักที่ควรจะเป็น และปรับอาหารตามหมวดหมู่ของอาหารไปในคราวเดียวกัน คือ
สมุนไพรรักษานิ่วในท่อไต การผ่าตัดนิ่วในท่อไต การสลายนิ่วในท่อไต ความสำคัญของท่อไต
1. โปรตีน
ในขณะที่คนปกติควรกินอาหารโปรตีน ประมาณ 0.8-1.0กรัมต่อกิโลกรัมต่อวันผู้ป่วย ซี.เอ.พี.ดี. ที่มีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางช่องท้อง จะต้องกินโปรตีนอย่างน้อย 1.2 กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน 
และกว่าครึ่งหนึ่งของโปรตีนที่ได้รับ ควรเป็นโปรตีนชนิดคุณภาพสูง เช่น เนื้อปลา ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก โดยเกิดการคั่งของของเสีย น้อยกว่าโปรตีนทั่วไป
ส่วนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในช่องท้อง จะทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีนในช่องท้องมากขึ้น ต้องได้รับโปรตีนมากกว่า 1.4 กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
2. พลังงาน
คนปกติควรได้รับพลังงานอย่างน้อย 30-35 กิโลแคลอรี่ ต่อกิโลกรัมต่อวัน
แต่ผู้ป่วยล้างไตจะมีปัญหาการสร้างพลังงานลดลงดังนั้น จึงต้องให้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 35-40 กิโลแคลอรี่ / กก. / วัน โดยเป็นพลังงานจากอาหารคาร์โบไฮเดรต ประมาณ ร้อยละ 35-50 ของพลังงานทั้งหมด (ต้องรวมพลังงานจากน้ำตาที่ดูดซึมผ่านทางช่องท้อง) ที่เหลือเป็นพลังงานจากไขมัน
3. คาร์โบไฮเดรต 
การล้างไตทางช่องท้อง จะมีการดูดซึมน้ำตาลจากน้ำยา เข้าสู่ร่างกาย และจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานประมาณ 500-700 กิโลแคลอรี่/วัน หรือประมาณร้อยละ 15-30 ของปริมาณพลังงานที่ผู้ป่วยต้องการ ดั้งนั้น พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยต้องกินเพิ่มจึงไม่มากนัก เพราะหากได้รับอาหารคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจะเกิดภาวะไขมันไตกลีเซอไรด์ในเลือดเกินได้ และควรงดอาหารมีแอลกอฮอลล์และของหวานด้วย
4. ไขมัน
เนื่องจากผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง มักมีปัญหาไขมันสูงได้ เช่น โคเลสเตอรอล หรือไตกรีเซอไรด์ในเลือดเกิน ทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะโรคหัวใจ จึงควรลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง, เนื้อแดง รวมทั้งแอลกอฮอลล์, ของหวาน การให้คาร์นิติน 1.5 กรัม สามครั้งต่อสัปดาห์และการออกกำลังกาย จะสามารถลดปริมาณไขมันในเลือดได้
5. เกลือแร่ และน้ำในร่างกาย
ก. เกลือและน้ำ การกำหนดปริมาณเกลือและน้ำในผู้ป่วย ซี.เอ.พี.ดี. ขึ้นกับหน้าที่ไตที่เหลืออยู่และความสามารถในการล้างไตทางช่องท้องในผู้ป่วยรายนั้นว่า ดึงน้ำและเกลือแร่ได้ดีแค่ไหน ผู้ป่วยที่ยังพอมีหน้าที่ของไตเหลืออยู่บ้าควรควบคุม ปริมาณเกลือ ประมาณ 3-4 กรัมต่อวัน (โซเดียม 130-170 มิลลิกรัม/วัน) ส่วนปริมาณน้ำ ก็พิจารณาตามปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกรวมกับปริมาณน้ำที่ดึงออกมาจากการล้างไต คือ ปริมาณน้ำปัสสาวะบวกกับอีก 1-2 ลิตรต่อวัน
ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีหน้าที่ของไตเหลืออยู่นั้น ถ้าการล้างไตสามารถทำได้เต็มที่ก็สามารถกินเกลือได้ 3-4 กรัม ต่อวัน แต่ปริมาณน้ำดื่ม จะต้องเท่ากับปริมาณของน้ำที่ดึงจากการล้างไตเท่านั้น ข้อควรพิจารณาก็คือ 
ปริมาณของน้ำที่ผู้ป่วยรับเข้าไป อาจจะอยู่ในรูปของน้ำ, น้ำนม, กาแฟ, ข้าวต้ม, น้ำแดง, หรือน้ำแข็ง ฯลฯ มิฉะนั้น จะทำให้เกิดภาวะน้ำเกินและเกิดอาการบวมได้ง่าย
ข. โปแตสเซียม โปแตสเซียมมีความสัมพันธ์ระหว่างระดับโปแตสเซียมในเลือดกับอาหารโดยเฉพาะ โปรตีน คือ เมื่อกินอาหารโปรตีน 1 กรัม/กก./วัน พบว่าโปแตสเซียมในร่างกายคงที่
แต่ถ้ากินอาหารโปรตีน 1.5 กรัม/กก./วัน พบว่าโปแตสเซียมในร่างกายเพิ่มขึ้น 
นอกจากนั้น ควรระมัดระวังอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น ผลไม้ด้วย
ผู้ป่วย ซี.เอ.พี.ดี. มักจะมีภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ บ่อยกว่าระดับสูง เพราะมักจะเกิดภาวะขาดอาหาร จึงควรควบคุมโปแตสเซียมปริมาณ 60-80 มิลลิโมล/วัน และอาจเพิ่มขึ้นอีก 30-50 มิลลิโมล/วัน ในทุก ๆ 1 ลิตรของปัสสาวะของผู้ป่วย 
ส่วนในรายที่มีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูงมากควรลดอาหารที่มีโปแตสเซียมเด็ดขาด โดยเฉพาะผลไม้
ค. ภาวะความเป็นกรดในเลือด ภาวะนี้ทำให้เกิดการสลายของโปรตีนมากขึ้น จึงเกิดภาวะขาดอาหารได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ต้องพยายามปรับความเป็นกรดในร่างกาย ให้กลับมาใกล้เคียงกับปกติ คือพยายามรักษาระดับไบคาบอเนตในเลือด ให้สูงกว่า 22 มิลลิอิควิวาเลน / ลิตร โดยการปรับการขบวนการล้าง ซี.เอ.พี.ดี และกินโซดามินต์ เสริมเข้าไป
ง. แคลเซียม ผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องส่วนใหญ่ จะมีปริมาณแคลเซียม ดูดซึมจากน้ำยาเข้าสู่ร่างกายเล็กน้อยเท่านั้น การให้แคลเซียมคาร์บอเนตมากกว่า 1 กรัม/ต่อวัน จะช่วยรักษาระดับแคลเซียมในเลือด และยังช่วยลดระดับฟอสเฟตในเลือดได้ด้วย ในบางกรณี ที่ระดับแคลเซียมต่ำมาก ควรให้วิตามินดีเพิ่มเติม
จ. ฟอสฟอรัส ซี.เอ.พี.ดี. สามารถดึงฟอสฟอรัสจากร่างกาย 300 มก./วัน แต่ผู้ป่วยมักได้รับฟอสฟอรัสจากอาหารมากกว่า 800-1200 มก/วัน เสมอ จึงเกิดฟอสฟอรัสเกินได้ ในขณะเดียวกัน โปรตีนก็เป็นอาหารที่มีความจำเป็นเพราะมีฟอสฟอรัสสูง และต้อกินให้เพียงพอ
วิธีที่ดีก็คือ ใช้ยาที่ป้องกันการดูดซึมในลำไส้ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต ควบคู่ไปด้วย
ฉ. แมกซีเซียม แมกซีเซียม มาจากอาหารโดยเฉพาะจากโปรตีน, ยาระบาย หรือยาลกรด แต่ผู้ป่วยจะมีการขับ แมกนีเซียมจาก ซี.เอ.พี.ดี. น้อยมาก 
ดังนั้น ควรพยายามลดแมกนีเซียมที่กินเข้าไปด้วย
6. วิตามินและโลหะบางชนิด
ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง มักขาดวิตามินชนิดละลายน้ำ เช่น วิตามินบี, วิตามินซี และกรดโฟลิค เนื่องจาก กินอาหารไม่เพียงพอ การดูดซึมทางลำไส้ลดลง, รวมทั้งการสูญเสียไปกับน้ำยาล้างไต 
ในขณะเดียวกัน วิตามินชนิดละลายในไขมันโดยเฉพาะวิตามินเอ และอี ในเลือด กลับจะสูงกว่าปกติ 
ดังนั้น ควรให้วิตามินซี , บี 1 , บี 6 , และกรดโฟลิคเพิ่มเติม
7. การรักษาเสริม
ก. อาหารเสริมทางปาก ผู้ป่วย ซี.เอ.พี.ดี. ในช่วงแรกของการรักษา หรือช่วงมีการติดเชื้อ อาจเบื่ออาหาร, คลื่นไส้, อาเจียนได้ การให้อาหารเหลวทดแทน เช่น ไอโซคาลเอนชัวร์ ฯลฯ จะช่วยป้องกัน และรักษาภาวะการขาดอาหารได้ แต่ต้องพิจารณาปริมาณสารอาหารและเกลือแร่ที่ผสมอยู่ รวมทั้งราคา และอาการท้องเสียจากนม ในผู้ป่วยบางคนได้
ข. กรดอะมิโนจำเป็น โปรตีนชนิดอะมิโนจำเป็น ทำให้ร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นเนื้อเยื่อโปรตีน หรือพลังงานได้ง่าย อีกทั้งสลายเป็นของเสียน้อยมาก เมื่อเทียบกับอาหารโปรตีนทั่วไป การเพิ่มกรดอะมิโนจำเป็น ช่วยให้ผู้ป่วยได้ปริมาณโปรตีนเพียงพอ โดยไม่มีปัญหาเรื่องของเสียที่จะคั่ง แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องราคาแพง และรสชาติของยา
ค. ฮอร์โมน (อีริโธรปัวอีดิน) การให้ฮอร์โมนชนิดนี้ จะช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ไขภาวะเลือดจางได้ทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงแจ่มใสขึ้นกินอาหารได้ดีขึ้นและแก้ภาวะขาดอาหารได้ดีขึ้น
ง. โกร๊ทฮอร์โมน (Recombinant human growth hormone) ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทในการเพิ่มการสร้างและลดการสลายของโปรตีนในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยกินอาหารดีขึ้น และมีภาวะขาดอาหารน้อยลง
จ. ปริมาณการล้างไต การล้างไตที่เพียงพอสามารถลดภาวะการขาดอาหาร, การเจ็บป่วย, และการตายของผู้ป่วย
ฉ. น้ำยาล้างไตทางช่องท้องชนิดพิเศษ การใช้น้ำยาล้างไตที่ผสมกรดอะมิโนแทนน้ำตาล สามารถทำให้สภาวะอาหารของผู้ป่วยดีขึ้น
ช. ให้อาหารทางหลอดเลือด ผู้ป่วยที่กินอาหารไม่พอ เช่น ในช่วงที่มีการติดเชื้อในช่องท้อง สามารถให้อาหารทางหลอดเลือดได้
ซ. รักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ สามารถทำได้ ด้วยการควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารไขมัน, คุมน้ำหนัก, ออกกำลังกาย, งดแอลกอฮอลล์ และของหวาน แต่ในบางคนที่มีความผิด
ปกติมาก และมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อหัวใจ ควรใช้ยาลดไขมัน แต่ก็ต้องระวังผลข้างเคียงของยาด้วย
ฌ. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักมีปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากมีการดูดซึมน้ำตาลจากน้ำยาเข้าสู่ร่างกาย 
การใช้อินสุลิ น ผสมในน้ำยาล้างไต จะควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีกว่าการฉีดใต้ผิวหนัง 
การฉีดใต้ผิวหนัง ควรกระทำเฉพาะในกรณีที่เกรงว่า จะเกิดการติดเชื้อตามมาจากการผสมยาไม่ถูกวิธี ควรควบคุมอาหาร เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับปกติ คือ 120-150 มก./ดล
ญ. อาหารสำคัญผู้ป่วยเด็ก การล้างไตในช่องท้องในเด็ก จะสูญเสียโปรตีนออกมาในช่องท้องมากกว่าผู้ใหญ่ ในขณะที่น้ำตาลถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดภาวะไขมันผิดปกติได้ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ 
การได้รับอาหารโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมจะทำให้เด็กเจริญเติบโตปกติ นอกจากนั้น ควรปรับอาหารให้เหมาะสมตามอายุ และน้ำหนักของเด็ก เช่น 
เด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ ต้องการโปรตีน 3.0 กรัมต่อกิโลกรัม ต่อวัน เด็กอายุมากกว่า 5 ขวบ ต้องการโปรตีน 2.5 กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน 


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด