พรรณนาโวหาร เป็นเรียงความที่ใช้การบรรยายความโดยละเอียด เขียนจากความรู้สึกของผู้เขียน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ เกิดจินตนาการ
ปีกน้อย....ที่ไม่อาจโบยบิน
ภาพจาก oknation.net
หลังจากชายคนหนึ่งพบรังไหมของตัวอ่อนผีเสื้อเขาเฝ้าจับตาความคืบหน้ามาตลอด กระทั่งได้เห็นรอยปริ ขนาดเล็กปรากฏอยู่ที่ผิวภายนอก ชายคนนั้นจึงนั่งลงและเฝ้าจับตามองความเคลื่อนไหวของตัวอ่อนผีเสื้ออยู่นานหลายชั่วโมงเขาเห็นมันพยายามดิ้นรนจะพ้นจากช่องเล็ก ๆของรังไหมให้ได้แต่เมื่อไม่สำเร็จ เจ้าตัวน้อยก็หยุดเคลื่อนไหว เหมือนจะยอมรับว่าไม่อาจขืนทำอะไรได้มากไปกว่านั้น
รูปภาพ : http://variety.teenee.com/foodforbrain/28365.html
เมื่อตัดสินใจได้ว่าจะช่วยตัวอ่อนแล้ว... ชายคนนั้นจึงหยิบกรรไกรขึ้นมาตัด เปิดช่องรังไหมจนกว้างพอที่ตัวอ่อนจะสามารถออกมาได้อย่างง่ายดาย ตัวอ่อนผีเสื้อน้อยจึงออกมาเผชิญโลกทั้งสภาพร่างกายบวมกลม ตรงข้ามกับปีกที่มี ขนาดเล็กนิดเดียว!แต่เขาก็เฝ้าจับตามองตัวอ่อนนั้นต่อไปด้วยความหวังว่า อีกไม่ช้า... ปีกของมันจะขยายใหญ่ขึ้นและแข็งแรงพอจะพยุงร่างกายมันได้ เมื่อถึงเวลาอันควร แต่เมื่อเวลาผ่านไป... กลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง!
ภาพจาก board.palungjit.com
ผีเสื้อน้อยต้องเดินและคลานไปมาทั้งชีวิต ด้วยสภาพร่างกายบวมกลมและปีกแห้ง เล็กที่ไม่เคยมีโอกาสจะบินได้ภายใต้การดูแลอย่างอ่อนโยนของชายผู้หวังดี สิ่งที่ชายคนนี้ไม่เคยเข้าใจก็คือ ธรรมชาติได้กำหนดมาแล้วว่าตัวอ่อนจะออกไปเผชิญโลกได้ก็ต่อเมื่อ ของเหลวในร่างกายลดน้อยลงจนลำตัวมีขนาด สมดุลกับปีกเท่านั้น จึงจะสามารถลอดออกจากช่องว่างขนาดเล็กของรังไหมได้ สำเร็จ? และถ้าตัวอ่อนได้ผ่านการดิ้นรนจนถึงเวลานั้น มันจึงจะเติบโตเป็น ผีเสื้อ ที่พร้อมโบกบินจากรังได้อย่างอิสระโดยแท้ การมีชีวิตอยู่โดยไม่ ต้องผ่านอุปสรรคใดๆเลย จึงมีแต่จะทำให้เราพิการและไม่แข็งแรง การดิ้นรนฝ่าฟันอุปสรรคต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินชีวิต ซึ่งจะช่วยให้เรายืนหยัดอยู่ได้อย่างแข็งแกร่ง เพราะอย่างนั้น? ภูมิใจกับการดิ้นรนในวันนี้เถอะ ถ้าคุณหวังจะไปให้ถึงวันดี ๆ ของชีวิตที่สามารถโบยบิน ได้อย่างเสรี! ภาพจาก bkarial.web44.net
ประเด็นศึกษา : พรรณาโวหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา
และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑.๑ สามารถอ่านได้คล่องและอ่านได้เร็วขึ้นเข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร การบรรยาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การใช้บริบท เข้าใจความหมายของถ้อยคำ สำนวนและเนื้อเรื่อง และใช้แหล่งความรู้พัฒนาความสามารถการอ่าน
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสารเขียนเรียงความ ย่อความ และเขียน
เรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ท ๒.๑.๒ มีมารยาทการเขียนและนิสัยรักการเขียนและการศึกษาค้นคว้า โดยใช้ทักษะการเขียนและการศึกษาค้นคว้า โดยใช้ทักษะการเขียนจดบันทึกข้อมูลความรู้ประสบการณ์ เหตุการณ์และการสังเกตอย่างเป็นระบบ นำวิธีการของแผนภาพความคิดมาพัฒนางานเขียน
และการรายงานและเขียนสื่อสารได้ตามจุดประสงค์อย่างมีมารยาททางสังคม
สาระสำคัญ
พรรณนาโวหาร เป็นเรียงความที่ใช้การบรรยายความโดยละเอียด เขียนจากความรู้สึก
ของผู้เขียน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ เกิดจินตนาการ เกิดความสะท้อนอารมณ์คล้อยตามผู้เขียน เห็นภาพจนชัดเจน เกิดความรู้สึกได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. สามารถหาเข้าใจความหมายของคำ ถ้อยคำ สำนวนโวหาร
๒. สามารถเข้าใจความหมายของการบรรยาย การพรรณนาและเปรียบเทียบ
๓. มีมารยาทในการเขียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกความหมายของพรรณนาโวหารได้
๒. นักเรียนเขียนเรียงความพรรณนาโวหารได้
๓. นักเรียนมีมารยาทที่ดีและมีนิสัยรักการเขียน
เนื้อหาสาระ
- ความหมายของพรรณนาโวหาร
- การเขียนเรียงความโดยใช้พรรณนาโวหาร
กิจกรรมเสนอแนะ
การเขียนพรรณนาโวหารเป็นสำนวนโวหารที่ต้องใช้ภาษาสละสลวยให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามครูควรกระตุ้นเสริมแรงฝึกนักเรียนเขียนจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนที่เห็นอยู่ทุกวันและเวลาที่ใช้ในการเขียนต้องฝึกบ่อย ๆ เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการเขียนอีกด้วย
การบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังคมคึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ใบความรู้ เรื่องพรรณนาโวหาร
พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณนาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนาโวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์ ดังนั้นจึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มไปด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
หลักการเขียนพรรณนาโวหาร
๑) ต้องใช้คำดี หมายถึง การเลือกสรรถ้อยคำ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย ควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือก
ให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง
๒) ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
๓) อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะ
การใช้คำที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น
ทั้งการใช้คำ และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
๔) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกรธ แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
ที่มา : นัทธมน คำครุฑ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
เรื่อง พรรณนาโวหาร...สื่อสารอารมณ์
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3002