จับผิดองค์การนาซ่า
อะพอลโล 11 ลวงโลกจริงหรือ?
จุดเริ่มต้น
ในปี คศ.1961 ประธานาธิบดี John F. Kennedy ประกาศต่อสาธารนะชนว่า สหรัฐฯ จะไปเหยียบดวงจันทร์ก่อนสิ้นปี คศ.1970 ให้ได้ โครงการอวกาศของนาซ่าที่ชื่อว่า Apollo จึงเกิดขึ้นต่อเนื่องกับโครงการ Gemini ที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลกเท่านั้น
จุดเริ่มต้นของโครงการอะพอลโล่ เริ่มต้นไม่ค่อยสวยนัก เมื่อยานอะพอลโล่ 1 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ห้องบังคับการระหว่างการซ้อมที่ภาคพื้นดิน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1967 ทำให้นักบินอวกาศ 3 คน คือ Roger Chaffee ,Virgil Grisson และ Edward White เสียชีวิต นาซ่าจึงหยุดการส่งยานที่มีคนบังคับชั่วคราว โดยมีเพียงยานอะพอลโล่ 4,5 และ 6 ที่ไม่มีคนบังคับเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของจรวด Saturn ต่อจากนั้นนาซ่าก็เริ่มส่งอะพอลโล่ 7 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1968 ตามด้วย อะพอลโล่ 8,9 และ 10 ซึ่งมีมนุษย์บังคับ ขึ้นไปทดสอบการเดินไปยังดวงจันทร์แต่ยังไม่มีการลงดวงจันทร์
อะพอลโล่ 11 นับว่าเป็นโครงการอวกาศของนาซ่าที่ประสพผลสำเร็จมากที่ สุด เมื่อสามารถส่งมนุษย์อวกาศลงไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2512 ต่อจากนั้นก็มีอะพอลโล่ 12-17 ที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ แต่อะพอลโล่ 13 ไม่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ เพราะเกิดอุบัติระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์ ทำให้ต้องรีบเดินทางกลับโลกก่อน ในอะพอลโล่ 15 มีการนำรถที่ชื่อว่า Lunar Rover ขึ้นไปใช้บนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ทำให้การสำรวจดวงจันทร์ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น อะพอลโล่ลำสุดท้ายคืออะพอลโล่ 17 เมื่อเดือนธันวาคม 1972 รวมอะพอลโล่ทั้งหมด 6 ลำที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ นำหินดวงจันทร์กลับโลกมาทั้งสิ้น 380 กิโลกรัม และการทดลองสำคัญๆต่างๆมากมาย
ลูกเรือของอะพอลโล่ 11 จากซ้ายไปขวา
1) นิล อาร์มสตรอง ( Neil A. Armstrong) ผู้บังคับการปฏิบัติการ เกิดที่ Wapakoneta รัฐโอไฮโอ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1930 จบวิศวะการบินจากมหาวิทยาลัย Purdue เมื่อปี 1955 และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Southern California เมื่อปี 1970 เป็นนักบินสำรองของโครงการ Gemini 5,8 และ 11 และโครงการอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกผู้บริหารของสมาคมการบินที่นาซ่า ระหว่างปี 1970-1971
2)ไมเคิล คอลลิน (Michael Collins) ผู้บังคับการนำร่อง เกิดที่กรุงโรมในอิตาลี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1952 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 7 และ 10 และเป็นลูกเรือของยานอะพอลโล 8 แต่ถูกเปลี่ยนตัวภายหลัง ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนมกราคม 1970
3) เอ็ดวิน บัส อัลดริน (Edwin E. Aldrin) ผู้บังคับการยานลูน่าโมดูล เกิดใน Montclair รัฐนิวเจอซี่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1951และจบปริญญาเอกจาก MIT เมื่อปี 1963 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 9 และ 12 และอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนที่สองที่เหยียบดวงจันทร์ ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนกรกฏาคม 1971
1. ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ไม่มีเมฆ ทำไมในฉากหลังของทุกภาพมีแต่ฟ้ามืดๆ ไม่เห็นดาวสักดวง ถ้าเป็นบ้านเรา ฟ้าใสอย่างนี้ต้องเห็นดาวเต็มฟ้าไปแล้ว
ข้อเท็จจริง ภาพถ่ายจากดวงจันทร์เป็นภาพถ่ายกลางวัน นั่นคือทุกภาพมีแสงอาทิตย์ส่อง การถ่ายภาพกลางแดดต้องใช้รูรับแสงเล็กหรือความเร็วชัตเตอร์สูง ถ้าตั้งค่าในกล้องแบบนี้ไปถ่ายภาพตอนกลางคืน เราจะไม่ได้ภาพอะไรเลย เพราะแสงไม่พอ แสงดาวที่สว่างเพียงน้อยนิดยิ่งไม่มีทางเห็น
บนดวงจันทร์ การถ่ายภาพกลางแดดซึ่งจ้ากว่าทุกแห่งในโลก เพราะไม่มีบรรยากาศคอยกรองแสง ก็บังคับให้ต้องใช้รูรับแสงเล็กมาก และความเร็วชัตเตอร์สูงมาก เราจึงเห็นฟ้ามืดในภาพจากดวงจันทร์ทุกภาพ
2. ทำไมธงถึงโบกสะบัดอยู่ได้ ทั้งๆ ที่ บนดวงจันทร์ไม่มีลม ธงควรจะลู่ลงกองกับเสามากกว่า และถ้าดูให้ดีจะเห็นว่า ขอบบนของธงชาติไม่สะบัดพลิ้ว ดูเหมือนแขวนอยู่บนราว ซึ่งถ้าเป็นราว ธงก็น่าจะห้อยลงมาเป็นแผ่น ไม่น่าจะสะบัด
พื้นผิวดวงจันทร์มีลักษณะเหมือนหินกรวดอัดแน่น การปักธงบนดวงจันทร์ ไม่ง่ายเหมือนเอาไม้จิ้มลูกชิ้น มนุษย์อวกาศต้องออกแรงปั่นเสาธงไปมาเหมือนสว่านเจาะลงไป ขณะที่คนกำลังทะลวงพื้น ตัวเสาอะลูมิเนียมก็แกว่ง พาให้ราวและผืนธงแกว่งสะบัดไปด้วย
บนดวงจันทร์ไม่มีอากาศไปต้านแรงสะบัดของธง มันจึงสะบัดพลิ้วอยู่นานหลายนาทีกว่าจะหยุดนิ่งด้วยตัวเอง ภาพที่เห็นธงสะบัดถ่ายมาจากช่วงนี้นี่เอง หลังจากนี้ธงก็ห้อยลงมาเป็นแผ่น
3. แหล่งกำเนิดแสงสำหรับภาพจากดวงจันทร์ทุกภาพคือดวงอาทิตย์ นาซาบอกว่าไม่มีใครเอาไฟถ่ายรูปไปใช้ แต่ทำไมภาพที่ออกมาบางทีเงาคนที่สูงเท่ากัน กลับมีเงายาวไม่เท่ากัน หรือเห็นเงาทอดไปในหลายทิศทาง ราวกับมีไฟสปอตไลต์ส่องหลายดวง ข้อเท็จจริง คนหนึ่งยืนอยู่บนเนิน เงาทอดลงเขา อีกคนอยู่ในแอ่ง เงาทอดขึ้นเขา เงาจึงยาวไม่เท่ากันภูมิประเทศที่เป็นเนินแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้ทิศทางของเงาเปลี่ยนไป ยิ่งถ้าเทียบเงาของสิ่งที่อยู่ใกล้กับอยู่ไกล การกำหนดทิศทางของสิ่งที่อยู่ไกลจะทำได้ยาก เส้นขอบฟ้าอาจหลอกตาเรา ทำให้คิดว่าเงาของสองสิ่งไปคนละทิศละทาง ความจริงเป็นทางเดียวกันถ้าหากมีแหล่งกำเนิดแสงมากกว่า 1 แหล่งจริง วัตถุที่อยู่ใกล้กันจะต้องมีเงามากกว่า 1 เงา แต่ทุกวัตถุในภาพจากดวงจันทร์ล้วนมีเงาเดียวทั้งสิ้น 4. วัตถุในเงามืดควรจะดำมืด เพราะไม่มีแสงสว่างอื่นนอกจากดวงอาทิตย์ แต่วัตถุนั้นกลับสว่างจนเห็นรายละเอียด จะว่ามีแสงกระเจิงจากชั้นบรรยากาศมาช่วยก็ไม่ใช่ ต้องมีคนไปถือแผ่นสะท้อนแสงลบเงาแน่ๆ
คำถาม: ทำไมนักบินอวกาศในเงามืดจึงดูสว่าง?
ภาพจำลองแสดงให้เห็นว่าพื้นดินสะท้อนแสงจนทำให้ตุ๊กตานักบินสว่างขึ้นในเงามืด
ภาพที่สอง ใช้กระดาษสีดำมาลดทอนแสงสะท้อนลง
5. รอยเท้าของมนุษย์อวกาศดูไม่น่าจะเป็นไปได้ แม้เขาจะสวมชุดอวกาศที่หนักถึง 82 กก. แต่ดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงเพียง 1 ใน 6 ของโลก จึงน่าจะเบามากจนไม่น่าจะเหยียบพื้นให้เป็นรอยได้ขนาดนั้น หรือถ้าเป็นรอยก็ไม่ควรจะคงรูปอยู่เหมือนกับเหยียบทรายเปียก ควรจะเลือนไปทันที เหมือนเหยียบทรายแห้ง
ข้อเท็จจริง คนที่เคยเห็นรอยเท้าสุนัขบนพื้นปูน คงไม่คิดว่าสุนัขตัวที่เดินผ่านปูนเปียกนั้นตัวหนักเท่าควายบรรยากาศบนดวงจันทร์แห้งสนิทก็จริง แต่ฝุ่นบนดวงจันทร์กับทรายบนโลกไม่เหมือนกัน ฝุ่นดวงจันทร์เกิดจากเปลือกดวงจันทร์ถูกอุกกาบาตใหญ่น้อยพุ่งชนนับครั้งไม่ถ้วน จนป่นเป็นเม็ดฝุ่นละเอียดยิบที่ผิวหยาบและรูปทรงไม่สม่ำเสมอถ้าเป็นโลก กระบวนการกัดกร่อนด้วยลม น้ำและสนิม จะขัดผิวและลบเหลี่ยมเม็ดทราย แต่บนดวงจันทร์ไม่มีกระบวนการเหล่านี้ไปขัดสีเม็ดฝุ่น เมื่อเม็ดฝุ่นถูกอัดรวมกัน เช่นถูกเหยียบ ผิวหน้าของมันจะสานเกี่ยวติดกันทั้งแห้งๆ อย่างนั้น จึงคงรูปอยู่ได้6. บริเวณที่ยานลงจอดน่าจะมีหลุมใหญ่เนื่องจากแรงไอพ่นที่ต้องพยุงยานน้ำหนักกว่า 10 ตัน แต่ที่เห็นกลับดูเหมือนเอายานบรรจงวางลง รอบยานยังเป็นพื้นราบปกติ แถมมีฝุ่นหนาที่ควรจะถูกไอพ่นเป่ากระเจิงไปหมด
ข้อเท็จจริง จรวดที่ใช้ขับเคลื่อนยานลงดวงจันทร์มีแรงขับเต็มที่ถึง 10,500 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ก็จริง แต่นั่นคือแรงขับสูงสุดซึ่งไม่ได้ใช้ขณะลงจอด การจอดยานไม่ใช่ลอยลงมาจอดตรงๆ แต่ผู้ขับยานจะต้องร่อนหาที่จอดที่เหมาะสม ซึ่งใช้ความเร็วต่ำมากเมื่อยานร่อนลงจอด มันจะไถลไปบนพื้นเล็กน้อยตามแนวร่อน ดังนั้นพื้นดวงจันทร์ใต้ยานนอกจากจะค่อนข้างปลอดฝุ่นเพราะถูกแรงจรวดเป่าฝุ่นไปหมด ยังอาจมีรอยครูดจากหัววัดที่ยื่นลงไปก่อนบนดวงจันทร์ไม่มีโมเลกุลอากาศไปผลักดันเม็ดฝุ่นให้ฟุ้งกระจาย ฝุ่นที่ถูกไอพ่นเป่าโดยตรงจะกระเด็นไปด้านข้างแล้วตกลงมาเหมือนก้อนหิน แต่ฝุ่นที่ไม่ถูกไอพ่นโดยตรงจะไม่มีลมที่ไหนมาเป่าออกไปอีก ฉะนั้นใต้ยานซึ่งถูกไอพ่นจึงเตียนโล่ง แต่รอบยานไม่ได้รับผลกระทบจากไอพ่นเลย จึงเต็มไปด้วยฝุ่นเหมือนเดิม หรือฝุ่นหนาขึ้นเพราะฝุ่นกระเจิงจากใต้ยานมาสมทบ7. ภาพถ่ายอัลดริน ถ่ายโดยอาร์มสตรอง เห็นได้ชัดว่าถ่ายจากระดับสายตา แต่ในภาพจะเห็นว่าทุกคนถือกล้องที่ระดับหน้าอก ดังนั้นความจริงต้องมีตากล้องอีกอย่างน้อย 1 คน ซึ่งคงเป็นคนถ่ายวิดีโอตอนที่อาร์มสตรองลงจากยานเป็นครั้งแรกด้วย
ข้อเท็จจริง อาร์มสตรองถ่ายรูปจากบนเนิน ส่วนอัลดรินอยู่ตีนเนิน
ภาพยนตร์ตอนอาร์มสตรองเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอซื่งติดอยู่ภายนอกยาน อาร์มสตรองเป็นคนบังคับให้กล้องยื่นออกมาจากที่เก็บใต้ลำตัวยานในขณะที่เขากำลังจะลงสู่พื้น หลังจากนั้นกล้องจะถูกถอดไปติดขาตั้งเพื่อถ่ายภาพกิจกรรมอื่นต่อไป8. ภาพถ่ายที่บอกว่าถ่ายจากสถานที่ 2 แห่ง ทำไมดูเหมือนกับถ่ายอยู่ในจุดเดียวกัน เพราะฉากหลังเหมือนกัน เปลี่ยนแต่ข้าวของข้างหน้าเท่านั้น
ข้อเท็จจริง ในภาพที่ยกมาจับผิด ฉากหลังที่ดูเหมือนกันคือภูเขาที่อยู่ห่างออกไปหลายสิบกิโลเมตร เรานึกว่ามันเป็นฉากหลังที่อยู่ใกล้ก็เพราะบนดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ไม่มีฝุ่นละอองหรือความชื้นในอากาศที่ทำให้ภูเขาบนโลกในระยะทางเท่ากันดูห่างไกลลิบลับของที่อยู่ไกลมากจะดูเหมือนไม่เปลี่ยนตำแหน่งเลยในขณะที่เราเดินทางไป ลองคิดถึงทิวทัศน์ไกลๆ สองข้างทางเวลาเรานั่งรถไปต่างจังหวัด ต้นตาลที่ขอบฟ้าดูเหมือนไม่ย้ายที่ แต่ความจริงมันค่อยๆ เลื่อนไปทีละน้อยจนเราไม่สังเกตเห็นต่างหาก9. รถที่ใช้บนดวงจันทร์ใหญ่เกินกว่าจะเอาขึ้นไปในยานลงดวงจันทร์ได้ หรือถ้าเอาขึ้นไปได้ ก็สูบลมยางไม่ได้ เพราะยางจะระเบิดทันทีเมื่อแรงดันในยางเจอสุญญากาศ
ข้อเท็จจริง รถสำรวจดวงจันทร์ถูกพับติดไว้นอกลำตัวยานลงดวงจันทร์ พอจะใช้งานก็เอาออกมาประกอบบนพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนล้อรถนั้นไม่ใช้ยางเลย ผู้ออกแบบตระหนักดีว่ายางรถจะเกิดปัญหาในสุญญากาศ จึงออกแบบรถให้ใช้ตะแกรงลวดเสริมโครงแทนยางปกติ10. กากบาท (crosshair) อย่างที่เห็นในภาพถ่ายทุกภาพ เป็นของเติมเข้าไปทีหลัง เพราะบางทีเราจะเห็นคนเติมเส้นทำพลาด ทำเส้นแหว่งหายไปอยู่หลังวัตถุ ดังในภาพ
ข้อเท็จจริง กากบาทเหล่านี้เป็นเส้นที่ขีดไว้บนแผ่นกระจกระหว่างเลนส์กับฟิล์ม ฉะนั้นจะปรากฏอยู่บนภาพทุกภาพจากดวงจันทร์ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทุกภาพที่บอกว่าเส้นหายนั้น เส้นจะหายไปเมื่อขีดผ่านวัตถุสีขาวกลางแดดจ้าเท่านั้นนี่เป็นเรื่องปกติของฟิล์มถ่ายภาพ ในภาพถ่ายปกติ บริเวณสีขาวในภาพคือส่วนที่ฟิล์มได้รับแสงมากที่สุดถึงมากเกินไปจึงกลายเป็นสีขาว ความขาวนี้สามารถลามไปถึงส่วนอื่นของฟิลม์ได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อส่วนนั้นเป็นสีดำ ถ้าเขตสีดำมีไม่มากนัก ก็จะถูกสีขาวลามไปกลบจนหมดอย่างที่เห็นภาพต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเส้นดำบนพื้นขาว จะเห็นปรากฏการณ์สีขาวลามไปเหมือนกัน 11. การเดินทางไปดวงจันทร์ต้องผ่านแถบรังสีแวน อัลเลน ซึ่งเป็นแถบรังสีความเข้มข้นสูงที่ล้อมอยู่รอบโลก ไม่มีทางที่มนุษย์อวกาศจะรอดชีวิตจากแถบรังสีนี้ไปได้ ดังนั้นไม่เคยมีใครไปดวงจันทร์ข้อเท็จจริง แถบรังสีแวน อัลเลน เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน ยานอะพอลโลไม่มีเกราะป้องกันรังสี ดังนั้นมนุษย์อวกาศทุกคนย่อมได้รับรังสี แต่พวกเข้าไม่ได้เข้าไปอยู่นิ่งๆ ในแถบรังสี เพียงเดินทางผ่านไปด้วยความเร็วสูงปริมาณรังสีที่มนุษย์อวกาศแต่ละคนได้รับอยู่ที่ประมาณ 1 rem ส่วนปริมาณที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติคือ 25 rem ปริมาณที่ทำให้เกิดอาการแพ้คือ 100 rem และถ้าได้รับถึง 500 rem จะตายทันที12. ถ้ามนุษย์เคยไปเหยียบดวงจันทร์ และทิ้งอุปกรณ์ไว้มากมาย ทำไมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจึงไม่เคยส่องเห็นของพวกนั้นเลย
ข้อเท็จจริง ความละเอียดของ WFPC2 กล้องถ่ายภาพในกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซึ่งเป็นกล้องดิจิตอล มีความละเอียดเพียง 800 x 800 พิกเซลเท่านั้น ในระยะห่างขนาดดวงจันทร์นั้น 1 พิกเซลมีค่าเท่ากับ 1 สนามฟุตบอล ฉะนั้นของที่เล็กกว่า 1 สนามฟุตบอล จะไม่มีผลต่อภาพเลยแม้แต่จุดพิกเซลเดียว พูดอีกอย่างก็คือ กล้องฮับเบิลยังละเอียดไม่พอถ้าอย่างนั้น ทำไมเราจึงมีภาพความละเอียดสูงของเทห์ฟากฟ้าจากกล้องฮับเบิลตั้งมากมาย ตอบว่า นั่นก็หมายความว่า วัตถุเหล่านั้นไม่ใช่เล็กๆ เลยข้อกล่าวหาจับผิดองค์การนาซาเกี่ยวกับอะพอลโล 11 และอะพอลโลอื่น ยังมีอีกหลายข้อ เท่าที่นำมาอธิบายโดยย่อนี้ก็เพื่อย้ำว่า มนุษย์ได้เคยไปถึงดวงจันทร์มาแล้วจริง ๆhttps://darasart.netfirms.com/story/apollo11/main.html
ไซต์กล่าวหา
- https://www.moonhoax.com etc.
ไซต์แก้ต่าง
- https://www.redzero.demon.co.uk/moonhoax/
- https://www.badastronomy.com/bad/misc/apollohoax.html
- https://www.badastronomy.com/bad/tv/iangoddard/moon01.htm
- https://moonhoax1.tripod.com/MoonHoax/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=206