โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่


880 ผู้ชม


โรคปอดบวม (pneumonia) เป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต   
โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โรค ปอดบวม (pneumonia) เป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต พบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคปอดบวม หมายถึง ภาวะการอักเสบที่เกิดขึ้นที่ปอด สาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจากเชื้อราหรือหนอนพยาธิก็ได้ เมื่อผู้ป่วยเกิดเป็นปอดบวม ก็จะมีหนองและสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ ร่างกายอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน และอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของโรคปอดบวม มักพบในช่วงที่มีการระบาดตามฤดูกาลที่เรียกว่า seasonal fluหรืออาจพบเป็นปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เช่น ในกรณีของเชื้อ H5N1 หรือ H1N1 สายพันธุ์ใหม่ 2009

สาเหตุของโรคปอดบวม

  1. เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อาจเป็นเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส มัยโคพลาสมา เชื้อรา หรือหนอนพยาธิ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จาม
  2. อาจเกิดจากการสูดดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหาร และน้ำย่อย
  3. ใน ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ อาจเกิดจากเชื้อโรคที่ปกติอยู่ในลำคอ โดยเหตุชักนำสำคัญที่ทำให้เกิดปอดบวม เกิดจากร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการอักเสบติดเชื้อลดลง เช่น อายุมาก ขาดอาหาร เบาหวาน ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  4. พบการติดเชื้อในปอดได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม

โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

การอักเสบของปอดที่เกิดจากเชื้อไวรัส

  1. การอักเสบของปอดที่เกิดจากเชื้อไวรัสมักจะพบในเด็ก ผู้ป่วยอาจจะเป็นไม่มากหรืออาจจะเป็นมากจนกระทั่งเสียชีวิต
  2. เชื้อที่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ ไวรัสอาร์เอสวี (respiratory syncytial virus) มักเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบในเด็กเล็ก ไวรัสไข้สุกใส ในเด็กอาจจะเกิดปอดบวมได้น้อยกว่าร้อยละ 1 แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่อาจจะพบได้ถึงร้อยละ 50 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ผู้ป่วยจะเกิดอาการหลังมีผื่น 1-6 วัน จะมีอาการแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือด การตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติอะไร กรณีไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus) ทำให้เกอดปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน
  3. ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง ในภาพรังสีทรวงอกมักจะพบมีฝ้าขาวที่ปอด
  4. การ วินิจฉัยโดยการแยกเชื้อจากลำคอ โดยทั่วไปทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ๆ อาจใช้วิธีตรวจปฏิกิริยาน้ำเหลืองโดยการเปรียบเทียบระดับแอนติบอดี จะพบว่าระดับแอนติบอดีในช่วงพักฟื้นมากกว่าในช่วงเฉียบพลันมากกว่าหรือเท่า กับ 4 เท่า
  5. การรักษาด้วยยาต้านไวรัส อาจพิจารณาใช้ยาบางชนิดสำหรับรักษาปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ใช้ อะแมนทาดีน หรือโอเซลทามิเวียร์ เชื้อไข้สุกใสใช้ยาอะซัยโคลเวียร์ เชื้อไวรัส CMV ใช้ยาแกงซัยโคลเวียร์ เป็นต้น

โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

การติดต่อ

  1. หายใจเอาเชื้อโรคที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน
  2. ไอ จามรดกัน บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกันหรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน
  3. คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นปอดบวม
  4. สำลักเอาเชื้อบักเตรีที่มีอยู่โดยปกติในจมูก และคอเข้าไป ซึ่งมักพบในเด็กที่อ่อนแอ พิการ

อาการ

ผู้ป่วยจะมีไอมาก หายใจหอบ หรือหายใจลำบาก และไข้ ใน เด็กโตอาจบ่นเจ็บหน้าอกหรือบริเวณชายโครงด้วย อาจเริ่มเหมือนหวัดก่อน 1-2 วัน ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบเหนื่อย อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว

โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

โรคปอดบวมชนิดไม่รุนแรง

ผู้ ป่วยจะมีอาการไอ และหอบ หรือหายใจเร็ว โดยใช้หลักเกณฑ์อัตราการหายใจ เด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 60 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เด็กอายุ 2-11 เดือน หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เด็กอายุ 1-5 ปี หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เวลานับอัตราการหายใจต้องนับให้ครบ 1 นาทีในขณะที่เด็กสงบ ไม่ร้องหรือดิ้น ในเด็กเล็กให้ดูการกระเพื่อมขึ้นลงของหน้าท้อง อาจเปิดเสื้อขึ้นดูให้ชัด ถ้าเป็นในเด็กโตกว่า 7 ขวบ ให้ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก เคลื่อนโป่งออก และแฟบลงเป็น 1 ครั้ง

โรคปอดบวมชนิดรุนแรง

ผู้ ป่วยจะมีอาการไอ และหายใจแรงมากจนทรวงอกส่วนล่างบริเวณลิ้นปี่ตลอดชายโครง บุ๋มเข้า ขณะหายใจเข้า จะมีหอบร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

โรคปอดบวมชนิดรุนแรงมาก

เด็ก จะมีเสียงหายใจผิดปกติ อาจมีเสียงฮืดเวลาหายใจเข้าหรือเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือนมีเสียงหวีดเวลาหายใจออก หรือเด็กไม่กินนมและน้ำ ซึม ปลุกตื่นยาก หอบเหนื่อยมาก จนริมฝีปากเขียว ชัก ฯลฯ แพทย์จะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน ถ้าเป็นปอดบวมถือว่ารุนแรงทุกราย เด็กอาจมาด้วยอาการไข้สูง ไม่กินนมหรือน้ำ โดยอาจไม่ไอ แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพราะมีอันตรายได้มาก อาการจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุก็แตกต่างกับเด็กโต จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะแตกต่างกัน

การวินิจฉัย

  1. ประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ
  2. เจาะเลือดเพื่อตรวจนับเม็ดเลือด พบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
  3. ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุ
  4. นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล
  5. ถ่ายภาพรังสีทรวงอก

การรักษา

  1. ใน เด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละสองถึงสามครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์
  2. หากสาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ออกซิเจน และสารน้ำทางหลอดเลือด
  3. ถ้า เป็นปอดบวมไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะไปกินที่บ้าน จะต้องให้เด็กกินยาสม่ำเสมอ ขนาดยาตามแพทย์สั่ง ควรอ่านฉลากยาก่อนให้กินยาเสมอ และกินจนครบชุด รวม 5-7 วัน
  4. อาการ อื่นๆ เช่น ไข้ พิจารณาใช้ยาลดไข้เฉพาะเวลาตัวร้อนห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ส่วนอาการไอนั้น ในโรคปอดบวมจะไอได้มากกว่าโรคหวัด ยาที่กินอาจเป็นยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาขยายหลอดลมด้วย ห้ามกินยากดไม่ให้ไอหรือยาแก้แพ้ หรือยาแก้ไอสำเร็จรูปที่มีตัวยาตั้งแต่สามชนิดขึ้นไป เพราะแทนที่จะมีประโยชน์อาจเป็นโทษ เช่น ทำให้เด็กไอไม่ออก เสมหะที่มีมากอาจตกเข้าไปค้างในหลอดลมทำให้ปอดแฟบได้
  5. ให้ ผู้ป่วยดื่มน้ำบ่อยๆ และไม่ลดอาหาร พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กต้องคอยดูอาการ ถ้าอาการมากขึ้นจะต้องพาไปพบแพทย์ใหม่ หรือ 2 วันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นก็ต้องพาไปตรวจอีก โดยมากควรพาไปตรวจอีกครั้งเมื่อครบ 2 วัน ส่วนมากอาการจะดีขึ้น และค่อยๆ หายในหนึ่งสัปดาห์ อาการที่ไม่ดีขึ้นหรือเลวลงได้แก่ หอบมากขึ้น หายใจต้องออกแรงมากขึ้นหรือมีอาการของภาวะป่วยหนักอื่นๆ เช่น เด็กซึม ไม่กินนมน้ำ ชัก ซึ่งจะต้องรักษาในโรงพยาบาล
  6. ใน รายเป็นปอดบวมรุนแรงและรุนแรงมาก จะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลโดยการฉีดยาปฏิชีวนะ อาจต้องให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดในบางราย อาจต้องให้ออกซิเจนในรายที่หายใจเหนื่อยมาก หรือริมฝีปากเขียว หรืออ่อนเพลีย ซึมไม่กินนมน้ำ และถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

โรคปอดบวมมีอันตรายมากในผู้ป่วยเหล่านี้

  1. อายุน้อย โดยเฉพาะในขวบปีแรก
  2. เด็กน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย หรือเด็กขาดอาหาร
  3. เด็กที่มีความพิการ โดยเฉพาะหัวใจพิการแต่กำเนิด
  4. เชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นชนิดรุนแรง โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
  5. กรณีที่มารับการรักษาช้าไป

การป้องกันโรคปอดบวม

  1. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวม โดยเฉพาะเด็กทารกถ้าเป็นปอดบวมจะมีอันตรายมาก
  2. หลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันท่อไอเสียรถยนต์ และหมอกควันในอากาศ
  3. ในเด็กอ่อนเดือน ต้องไม่ให้สัมผัสกับความหนาวเย็น
  4. เลี้ยงดูเด็กให้แข็งแรง กินอาหารที่มีคุณค่า ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  5. ถ้ามีอาการสงสัยว่าจะเป็นปอดบวม ให้รีบพาไปตรวจ เพื่อเด็กจะได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายจะน้อยลง

โรคแทรกซ้อน

  1. น้ำ ในช่องเยื่อหุ้มปอด เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขนาดมาก ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำ ออก
  2. หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาพถ่ายรังสีเหมือนกับน้ำในช่องหุ้มปอด แต่จะมีไข้สูง และหอบเหนื่อย
  3. ปอดแตกและมีลมในช่องปอด มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และหายใจหอบเหนื่อย
  4. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปัจจุบันพบน้อย
  5. หัวใจวาย มักพบในรายที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน

การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

  1. อาการ คล้ายคนเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก นอกจากนี้ ในผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากติดเชื้อจะทำให้มีอาการที่รุนแรงขึ้นได้
  2. หาก ค้นพบผู้ป่วยได้เร็ว แยกโรค แยกผู้ป่วยไม่ให้กระจายเชื้อ โดยสวมหน้ากากอนามัยและให้ยาทามิฟลู หรือโอเซลทามิเวียร์ภายใน 48 ชั่วโมงที่มีไข้ ส่วนใหญ่รอดชีวิต
  3. ไข้ หวัดนกจะกระจายไปทุกระบบของร่างกาย แต่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะไปเฉพาะระบบทางเดินหายใจ จึงทำให้อาการรุนแรงน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดปอดอักเสบที่อาจนำไปสู่ระบบหายใจล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้
  4. ความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากเทียบกับไข้หวัดนก นับว่าน้อยกว่า โดยพบว่ามีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่เสียชีวิต แต่ความสามารถแพร่ระบาดขยายวงกว้างได้มากกว่า ขณะที่ผู้ป่วยไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุนแรงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมีผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 65
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=794

อัพเดทล่าสุด