ปุจจุบันความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทย จากถ่านหินยังมีค่อนข้างมาก .....มาติดตามความรู้เรื่องถ่านหินกันเถอะ
ถ่านหิน ......ที่มาของพลังงานแห่งความหวัง
จากการเปิดเผยของตัวแทนเครือข่ายพลังงานจากมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เกี่ยวกับอัตราการใช้ไฟฟ้าของคนไทย และกำลังในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่าปัจจุบันปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคนไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และยังมีกำลังการผลิตที่เกินความต้องการใช้จริงอีกกว่า 10,000 เมกะวัตต์ ( ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2552 14:14 น. )
ถ่านหิน คืออะไร
ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่ง จัดเป็นแร่เชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟได้ดี มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา องค์ประกอบของถ่านหิน ประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่
- คาร์บอน ( C )
- ไฮโดรเจน ( H )
- ไนโตรเจน ( N )
- ออกซิเจน ( O )
นอกจากนี้ มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน ( S ) เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินจะมีประสิทธิภาพในการเผาใหม้ได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ จำนวนคาร์บอน
- หากมีจำนวนคาร์บอนสูง การเผาไหม้จะเกิดขี้นสมบูรณ์ จัดเป็นถ่านหินคุณภาพดี
- หากมีจำนวนคาร์บอนต่ำ การเผาไหม้จะเกิดขี้นไม่สมบูรณ์ จัดเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ
ถ่านหิน เกิดขึ้นได้อย่างไร
ถ่านหินเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยการทับถมของซากพืช ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โดยเมื่อซากพืชถูกย่อยสลายไม่สมบูรณ์ และเกิดการทับถมกับตะกอนของดินหรือทราย ที่ถูกน้ำพัดพามา เมื่อซากพืชเหล่านั้นเมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี จนกลายเป็นถ่านหิน ในที่สุด "
กระบวนการเกิดถ่านหิน
การทับถมของซากพืชในบริเวณต่าง ๆ จะกลายเป็นถ่านหินหรือไม่ จะ-เกี่ยวข้องกับ 2 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการแปรเปลี่ยนทางชีวภาพ (Biochemical reaction) หรือ การก่อตัวใหม่ (Diagenesis)
เป็นกระบวนการที่ซากพืชถูกย่อยสลาย โดยมีจุลินทรีย์และปฏิกิริยาทางเคมีเกี่ยวข้อง ทำให้ซากพืช สลายกลายเป็นสารเนื้อเดียวกัน อยู่ในรูปของคาร์บอน ( C ) และไฮโดรเจน ( H ) เป็นส่วนใหญ่ และเกิดการสะสมตัวของตะกอน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการนี้คือ สภาพแวดล้อมของแอ่งสะสมตะกอน
- ถ้าซากพืชจมอยู่ใต้น้ำลึกเกินไป พวกจุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายได้
- ถ้าซากพืชจมอยู่ใต้น้ำตื้นเกินไป ออกซิเจนในอากาศจะทำให้ซากพืชเน่าเปื่อย
2. กระบวนการแปรเปลี่ยนเนื่องจากความร้อน (Thermal alteration) หรือ metamorphism
หลังเสร็จสิ้นกระบวนการก่อตัวใหม่ หากชั้นพีตถูกยกตัวขึ้นมาก็จะผุพังและถูกทำลาย แต่ถ้ามีการสะสมตัวภายในแอ่งอย่างต่อเนื่องอยู่ ชั้นพีตจะถูกปิดทับโดยตะกอนอื่นๆ และจมลึกลงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงขั้นตอนนี้ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจะเป็นตัวหยุดปฏิกิริยา ทำให้พีตมีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นถ่านหินแทน เรียกว่ากระบวนการแปรสภาพเป็นถ่านหิน (Coalification)
สิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการนี้คือ อุณหภูมิ ถ้ามีความร้อนสูงจะทำให้กลายเป็นถ่านหินได้เร็วขึ้น
ประเภทของถ่านหิน
ถ่านหินแบ่ง เป็น 5 ประเภท คือ
1. พีต (Peat)
เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำสุด เกิดจากการสลายตัวของซากพืช ซากสัตว์บางส่วน และมีซากพืชบางส่วนยังสลายตัวไม่หมด
ลักษณะ
(1) มีสีน้ำตาลถึงสีดำ
(2) มีปริมาณคาร์บอนต่ำ ประมาณร้อยละ 50-60 โดยมวล
(3) มีปริมาณออกซิเจนและความชื้นสูงแต่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
(4) มองเห็นเป็นลำต้น กิ่ง หรือใบ
ถ่านหินประเภท "พีท"
2. ลิกไนต์ (Lignite)
เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพสูงกว่าพีต เนื่องจากกระบวนการเกิด มีการย่อยสลายซากพืชที่สมบูรณ์กว่าพีต ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า บ่มใบยาสูบ ทำให้มีลักษณะดังนี้
(1) สีน้ำตาลผิวด้าน
(2) มีคาร์บอนร้อยละ 60-75
(3) มีออกซิเจนค่อนข้างสูง และมีความชื้นสูงถึงร้อยละ 30-70
(4)มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย
(5) เมื่อติดไฟมีควันและเถ้าถ่านมาก
3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous)
เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าและงานอุตสาหกรรม มีลักษณะดังนี้
(1) สีน้ำตาลถึงสีดำ ผิวมีทั้งด้านและเป็นมัน
(2) มีทั้งเนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง
(3) มีความชื้นประมาณร้อยละ 25-30
(4) มีคาร์บอนสูงกว่าลิกไนต์
ถ่านหิน ประเภท " ซับบิทูมินัส"
ถ่านหินประเภท " แอนทราไซต์ "
ประโยชน์
1. ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการผลิต เช่น
- การผลิตไฟฟ้า
- การถลุงโลหะ
- การผลิตปูนซีเมนต์
- การบ่มใบยาสูบ
- การผลิตอาหาร
เป็นต้น
2. ใช้ในการทำถ่านสังเคราะห์ (Activated Carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น
3. ทำคาร์บอนด์ไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา
4. แปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือ เป็นแปรสภาพก๊าซ (Coal Gasification) ซึ่งเป็นการใช้ถ่านหินแบบเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้กระบวนการแปรสภาพถ่านหิน จะสามารถแยกเอาก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นพิษ และสารพลอยได้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น กำมะถันใช้ทำกรดกำมะถันและแร่ยิปซัม แอมโมเนียใช้ทำปุ๋ยเพื่อเกษตรกรรม เถ้าถ่านหินใช้ทำวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
4. บิทูมินัส (Bituminous)
เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าซับบิทูมินัส ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการถลุงโลหะ และเป็นวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงอื่นๆ มีลักษณะดังนี้
(1) เนื้อแน่น แข็ง
(2) มีสีน้ำตาลถึงสีดำสนิท ประกอบด้วยชั้นถ่านหินสีดำมันวาว ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วทุกภาค แต่เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำส่วนใหญ่พบลิกไนต์และซับบิทูมินัส พบใหญ่พบในภาคเหนือ
แหล่งถ่านหินในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่
- แหล่งแม่เมาะ จ.ตาก
- แหล่งกระบี่
- แหล่งแม่ทาน จ.ลำปาง
- แหล่งลี้ จ.ลำพูน
- แหล่งม่วนเชียง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น
คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
ถ่านหินประเภท " บิทูมินัส"
5. แอนทราไซต์ (Anthracite)
เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าบิทูมินัส ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ มีลักษณะดังนี้
(1) มีสีดำเป็นเงา มันวาวมาก
(2) มีรอยแตกเว้าแบบก้นหอย
(3) มีปริมาณคาร์บอนประมาณร้อยละ 90-98
(4) ความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 2-5
(5) มีค่าความร้อนสูงแต่ติดไฟยาก เมื่อติดไฟให้เปลวไฟสีน้ำเงิน ไม่มีควัน
ถ่านหิน ประเภท "ลิกไนต์"
จำเป็นหรือที่ต้องสร้างโรงงานไฟฟ้าจากถ่านหิน " หลังจากที่ท่านได้รับความรู้เรื่องถ่านหินแล้วลองตอบคำถามในใจ ด้วยนะคะ
แหล่งถ่านหินในประเทศไทย
ประเด็นคำถาม
1. หากท่านพบสสารชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถติดไฟได้ มีลักษณะเป็นของแข็งสีดำ และมีความมันวาว ท่านจะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไรว่าสสารนั้นเป็นถ่านหินหรือไม่ และถ้าเป็นถ่านหิน ท่านคิดว่าเป็นถ่านหินชนิดใด
2. เหตุใดประเทศใดจึงมักพบถ่านหินประเภทพีต หรือลิกไนต์ แต่จะไม่พบอนทราไซต์
3. เหตุใดต้นไม้ บริเวณโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ใช้ถ่านหินประเภทลิกไนซ์ เป็นเชื้อเพลิง จึงมีใบสีเหลืองซีด และถ้าต้องการให้ต้นไม้กลับเป็นสีเขียวเหมือนเดิม ท่านจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการผลิตโรงไฟฟ้า โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ( เห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด )
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/
https://www2.dmf.go.th
https://www.eppo.go.th/coal/tech.html
https://www.manager.co.th
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1040