เจลล้างมือเสี่ยงติดไฟ


684 ผู้ชม


ท่ามกลางกระแสไข้หวัดใหญ่ 2009 สาธารณสุขรณรงค์ให้ประชาชน ล้างมือให้สะอาดยู่เสมอ รู้หรือไม่ในเจลล้างมือมีส่วนผสมของสารใดบ้าง   

อย. เตือนใช้เจลล้างมือเสี่ยงติดไฟ
       เจลล้างมือมีส่วนผสมสำคัญคือแอลกอฮอล์ที่ใช้ล้างแผล    มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และสามารถติดไฟได้ง่าย   ดังนั้นเจลล้างมือจึงติดไฟได้ง่าย  หากถูกสะเก็ดหรือเปลวไฟ   โดยเฉพาะในผู้สูบบุหรี่ ทั้งนี้ผู้ที่ใช้เจลล้างมือหลังชโลมเปียกทั่วมือแล้วจึงควรรอให้แห้งก่อน   : ข่าวจากเดลินิวส์  

เจลล้างมือเสี่ยงติดไฟ

แอลกอฮอล์
         แอลกอฮอล์ คือ สารประกอบอินทรีย์ มีธาตุองค์ประกอบ  คือ  คาร์บอน  ไฮโดรเจน  ออกซิเจน   
หมู่ฟังก์ชั่นของแอลกอฮอล์   หมู่ไฮดรอกซิล (-OH)    โดยหมู่ไฮดรอกซิล  จะเชื่อมต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล 
สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์
        แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน   คือ CnH2n+1OH
สมบัติทางกายภาพของแอลกอฮอล์
         1.  อะตอมภายในโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
         2.  ละลายน้ำได้เพราะมีขั้ว แต่เมื่อจำนวนคาร์บอนเพิ่มขึ้นความสามรถในการละลายน้ำลดลงแต่   เพราะส่วนที่ไม่มีขั้วมีมากขึ้น เมื่อละลายแล้วไม่แตกตัว เป็นไอออนในน้ำจึงไม่สามารถนำไฟฟ้าได้
         3. จุดเดือด  จุดหลอมเหลวสูง เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล มีทั้งแรงวัลเดอร์วาลส์   และพันธะไฮโดรเจน         
        4. จุดเดือดจะเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนคาร์บอนเพิ่มขึ้น
        5.  แอลกอฮอล์มีสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ  เพราะเมื่อเกิดปฏิกิริยาจะให้    H ให้แก่ธาตุอื่น     แต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
      
ตารางแสดงสมบัติของแอลกอฮอล์บางชนิด

ชื่อ  สูตรโมเลกุล จุดเดือด   สภาพการละลายน้ำที่ 20 C( g / น้ำ100 g)
           
methanol  CH3OH 64.6 ละลายได้ดี
 ethanol     CH3CH2OH 78.2 ละลายได้ดี
           
propanol   CH3CH2CH2OH 97.2 ละลายได้ดี
           
butanol   
           
CH3CH2CH2CH2OH 117.7 7.9


ที่มา  https://www.promma.ac.th/chemistry/organic_chemistry/organic061.htm
สมบัติทางเคมีของแอลกอฮอล์
       1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้
        แอลกอฮอล์สามารถติดไฟได้ดี ไม่มีเขม่าและควัน ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ดังสมการ
 
        CH3CH2OH(l)   +   3 O2(g)    ------->   2 CO2(g)   +   3 H2O(g)

       2. ปฏิกิริยากับโลหะที่ว่องไว
       แอลกอฮอล์ไม่เกิดปฏิกิริยากับ NaHCO3 จึงไม่แสดงสมบัติเป็นกรด แต่สามารถเกิดปฏิกิริยากับโลหะที่ว่องไว (Active metal) เช่น Na โดยโลหะจะเข้าไปแทนที่อะตอมของ H ในหมู่ –OH  จะได้แก๊สไฮโดรเจน ดังสมการ
 
         2 CH3CH2–OH(l)   +   2 Na(g) -------> 2 CH3CH2–ONa(l)   +   H2(g)
                                                                     Sodium ethoxide
การ

อ่านชื่อแอลกอฮอล์
   1.  ตามระบบ  common name  เรียกชื่อ หมู่แอลคิล แล้วตามด้วยคำว่า แอลกอฮอล์   (alcohol)     เช่น  เมทิลแอลกอฮล์   ,  เอทิลแอลกอฮล์  เป็นต้น                     
   2. ตามระบบ  IUPAC  เรียกชื่อตามจำนวนคาร์บอนอะตอม  จากนั้นลงท้ายด้วยคำว่า อานอล  ( - anol )
 
ตัวอย่างการอ่านชื่อ  

สูตรโมเลกุล

ชื่อสามัญ

 ชื่อ IUPAC

CH3OH methyl alcohol methanol
CH3CH2OH ethyl alcohol ethanol
CH3CH2CH2OH propyl alcohol propanal

       ในกรณีที่โครงสร้างของแอลกอฮอล์เป็นโครงสร้างโซ่กิ่ง  มีหลักการดังนี้
       1. นับจำนวนคาร์บอนให้ยาวที่สุด  ( มีหมู่ -OH  ในสายโซ่นั้นด้วย )  ส่วนที่เหลือให้นับเป็นกิ่ง   โดยให้ความสำคัญกับหมู่ -OH  มากกว่า กิ่ง  ( ให้หมู่ OH อยู่ในตำแหน่งที่น้อยที่สุด )
       2. อ่านชื่อตามลำดับดังนี้     ตำแหน่งโซ่กิ่ง   ชื่อโซ่กิ่ง  และชื่อโซ่หลัก    ถ้าหมู่ -OH  ไม่ได้อยู่ตำแหน่งที่ 1 ให้ระบุตำแหน่ง -OH ก่อนแล้วจึงตามด้วยโซ่หลัก  
ตัวอย่างเช่น              
                เจลล้างมือเสี่ยงติดไฟ     8 -methyl -3-nonanol

เจลล้างมือเสี่ยงติดไฟ                                               2,3 -dimethyl -4-ethyl -1- hexanol

ปฏิกิริยาของแอลกอฮอล์
       1.ทำปฏิกิริยากับโลหะโซเดียม   
                2 CH3CH2–OH(l)   +   2 Na(g) -------> 2 CH3CH2–ONa(l)   +   H2(g)
                                                                                     Sodium ethoxide
เมื่อโลหะโซเดียมทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์  จะเห็นฟองแก๊สไฮโดรเจน เกิดขึ้นทันที
        
        
2.   ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนแฮไลด์  เกิดแอลคลแฮไลด์  และน้ำ 
                CH3CH2OH  + HBr  -------->   CH3CH2Br + H2O
           แอลกอฮอล์     ไฮโดรเจนแฮไลด์    แอลคิลแฮไลด์ 
        
 
        3.   เกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชั่น  (Dehydration)    
               CH3CH2OH     ------>    CH2= CH2  + H2O
         
4   เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน  (Oxidation)    
             CH3CH2OH  + O2   ----->  CH3COH ----->  CH3 COOH 
        
        
5.  เกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชั่นกับกรดอินทรีย์  
              CH3CH2OH + CH3CH2CH2COOH    ------>   CH3CH2CH2COOCH2CH3
              
  แอลกอฮอล์                  กรดอินทรีย์
                                        เอสเทอร์

        6. เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส ซึ่ง เป็นปฏิกิริยาย้อนกลับของ  ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชั่น  โดยมี  เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาดังสมการ
             CH3CH2CH2COOCH2CH3   ------>   CH3CH2OH + CH3CH2CH2COOH                     
                             เอสเทอร์                                    แอลกอฮอล์                  กรดอินทรีย์                                                              

การทดสอบแอลกอฮอล์                        
       1.   ทดสอบกับโลหะโซเดียม  =>  เกิดปฏิกิริยากับโลหะโซเดียม  เกิดแก๊สไฮโดรเจน
       2.   ทดสอบกับโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต  => ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

ประเด็นคำถาม
       1. สารในชิตประจำวันของนักเรียนสารใดบ้างมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ  และเป็นแอลกอฮอล์ชนิดใด
       2. นักเรียนเขียนสูตรโครงสร้างของแอลกอฮอล์ที่หาได้ในข้อ  1  อย่างน้อย  5  ชนิด
       3. หากนักเรียนต้องการหาจุดเดือดของแอลกฮอล์  จะมีวิธีการอย้างไร
       4. ถ่านักเรียนเจอสาร  1  ชนิด  มีลักษณะเป็นของเหลวใส  นักเรียนสงสัยว่าสารดักล่าวน่าจะเป็นแอลกอฮอล์  นักเรียนจะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไร

อ้างอิง

    วิกีพีเดีย  
    ครูสิริรัตน์   มาลากุล ณ อยุธยา
    https://www.promma.ac.th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1407

อัพเดทล่าสุด