ฟลูออไรด์สาเหตุของฟันตกกระ


886 ผู้ชม


เด็กที่กินน้ำบรรจุขวดตั้งแต่เกิดอาจทำให้มีปัญหากระดูกผิดปกติและฟันตกกระได้   

        เด็กที่กินน้ำบรรจุขวดตั้งแต่เกิดอาจทำให้มีปัญหากระดูกผิดปกติและฟันตกกระได้   เนื่องจาก
ครัวเรือนในปัจจุบัน มีแนวโน้มการใช้น้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มมากขึ้น ถึงร้อยละ 29 หรือประมาณ 1 ใน 4   ของน้ำที่ใช้ดื่มทั้งหมด  ซึ่งมีผลทำให้อาจได้รับปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบรรจุขวดมากเกินไป จนเกิด
ผลเสียต่อสุขภาพ   นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงออกประกาศ
ลดการใช้ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบรรจุขวดจากเดิม 1.5 มิลลิกรัม  เป็น 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อลดปัญหากระดูกเปราะ และฟันตกกระในเด็ก (ที่มา https://www.thaipost.net/news/050510/21746 )


ฟลูออไรด์สาเหตุของฟันตกกระ

ภาพที่ 1 (ที่มา https://www.caremine.com/wp-content/uploads/2009/08/teeth.jpg)

       ฟลูออไรด์ เป็นสารประกอบของ “ฟลูออรีน”  ที่มีมากเป็นอันดับที่ 17  ของธาตุต่างๆ ที่พบบนโลก 
พบได้ในธรรมชาติในรูปของแคลเซียม เช่น ในหิน ในชีวิตประจำวันเราได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่ม อากาศหายใจ ในอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาตัวเล็กที่เรากินได้ทั้งกระดูกและหนัง ในพืชผัก เช่น ในผักกุยช่าย ตั้งโอ๋ มะระ ผักบุ้ง และกะหล่ำปลี เป็นต้น และพบมากที่สุด คือ ใบชา หรือใบเมี่ยง  ฟลูออไรด์ถือว่าเป็น
แร่ธาตุช่วยต่อต้านโรคฟันผุ และรักษาฟันให้แข็งแรง แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป
ก็อาจทำให้เกิดโทษ คือ กระดูกผิดปกติและฟันตกกระ ได้เช่นกันค่ะ

*********   มีศึกษารายละเอียดเรื่องฟูลออไรด์กันนะคะ  *********

ฟลูออไรด์สาเหตุของฟันตกกระ

ภาพที่   2  ใบชา ตัวอย่างแหล่งฟลูออไรด์ในธรรมชาติ 

(ที่มา https://www.consumerthai.org/old/cms/images/stories/data/bueti/2007_05_12_05beautiful.jpg)


เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ   สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป

เรื่อง  ฟลูออไรด์

          ฟลูออไรด์ (Fluorine) เป็นสารประกอบของธาตุฟลูออรีน (F) มีเลขอะตอม เท่ากับ   9   
ซึ่งฟลูออรีน เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นก๊าซ มีวาเลนซ์เดียว มีสีเหลืองอ่อน และเป็นพิษ เป็นธาตุที่ทำปฏิกิริยามากที่สุด และมีอิเล็กโตรเนกาทิวิตีสูงที่สุด ฟลูออรีนบริสุทธิ์มีอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิด
รอยไหม้เมื่อถูกกับผิวหนัง  มีสมบัติเป็นอโลหะ  แต่เมื่อนำมาทำปฏิกิริยาเกิดสารประกอบกับธาตุอื่น
เช่น  โซเดียมฟลูออไรด์  โพแทสเซียมฟลูออไรด์  สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  

                                   ฟลูออไรด์สาเหตุของฟันตกกระ

                 ภาพที่ 3  ธาตุฟลูออรีน  (ที่มา https://student.mahidol.ac.th/~u4904035/pic002.jpg)
           
          ข้อมูลทั่วไปของฟลูออรีน  
        
                         ชื่อธาตุ : Fluorine

                    สัญลักษณ์ : F

                    เลขอะตอม : 9
           
                    Atomic Weight : 78.96

                    หมู่ที่ : 7

                    ชื่อหมู่ : Halogen

                    คาบ : 2

                    จุดหลอมเหลว : -220?C

                    จุดเดือด : -188?C

                    ความหนาแน่น (273K) g/litre : 1.70

                    สี : เหลืองจางๆ

                    สถานะปกติ (ณ อุณหภูมิห้อง) : ก๊าซ

                    Electronegativity : 3.98

                    การจัดเรียงอะตอม : [He]2s22p5


          สารประกอบของฟลูออรีนที่นำมาใช้เป็นแหล่งฟลูออไรด์  ที่พบมากคือ
  
          1. โซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium fluoride หรือ NaF) เป็นของแข็งไม่มีสี ใช้เป็นแหล่ง
              ของ
ฟลูออไรด์ มีราคาถูกกว่า และดูดความชิ้นน้อยกว่าโพแทสเซียมฟลูออไรด์ 
          
          2. โพแทสเซียมฟลูออไรด์ (Potassium fluoride หรือ KF) เป็นสารประกอบทางเคมีที่ใช้
               เป็นแหล่งของฟลูออไรด์  สารละลายของสารนี้จะกัดแก้ว เพราะสามารถทำปฏิกิริยากับแก้ว
               
เกิดเป็นฟลูออโรซิลิเกตได้

          วิธีใช้ฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุ   มี  ดังนี้  
       
          1. ฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบทั่วร่างกาย คือ การเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำหรืออาหารเพื่อให้เด็ก
              รับประทาน เพื่อมุ่งหวังผลให้ฟลูออไรด์เข้าไปอยู่ในฟันในขณะที่ฟันกำลังมีการเจริญเติบโต 
              ซึ่งสามารถทำได้ โดยการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม ในนม เสริมในรูปของยาฟลูออไรด์ 
             ในอาหาร เช่น ใบชา อาหารทะเล (ปลาแห้ง กุ้งแห้ง) เนื้อสัตว์ ผัก ในน้ำบาดาล ในอากาศ 
             ในบริเวณที่มีโรงงานถลุงเหล็ก อลูมิเนียม ตะกั่ว ทองแดงจะมีฟลูออไรด์ในอากาศสูง

         2. ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คือ การใช้ฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้โดยการ
             แปรงฟัน
ด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ 
             การใช้ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วย
             สารฟลูออไรด์  
การที่ยาฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันก่อน
   
             การใช้ฟลูออไรด์เสริมในรูปของยาฟลูออไรด์ จะเริ่มใช้ต้องแต่เด็กอายุ 6 เดือน – 16 ปี 
เนื่องจากยังมีการสร้างของหน่อฟันน้ำนม และหน่อฟันแท้ ซึ่งขนาดของฟลูออไรด์เสริมที่ใช้ขึ้นกับปริมาณของฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม และอายุของเด็ก 

ฟลูออไรด์สาเหตุของฟันตกกระ

ภาพที่ 4  (ที่มา https://www.med.cmu.ac.th/hospital/opd/health/pang1.jpg )

         การเกิดพิษของฟลูออไรด์ 

         1. การเกิดพิษชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด มักเกิดจากการ
             รับประทาน
ฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในยาสีฟันยาบ้วนปากยาฟลูออไรด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะมี
             อาการ รุนแรงเพียงใด ขึ้นกับปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับเข้าไป ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน  
             ปวดท้อง ท้องเสีย จนกระทั่งถึงตายได้

        2. การเกิดพิษชนิดเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่เกินกว่าขนาดที่สมควรจะได้รับ
            เป็นระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน  อาการที่แสดงออกได้แก่ ฟันตกกระ และจะมีปวดข้อมือ 
            ข้อเท้า ถ้าเป็นมากลุกลามไปยังกระดูกสันหลังจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้หายใจ
             ลำบากและตายในที่สุด มักพบในผู้ที่ดื่มน้ำบาดาลในภาคเหนือ


          ดังนั้นฟลูออไรด์เป็นสารที่มีประโยชน์ใช้ในการป้องกันฟันผุและรักษาฟันให้แข็งแรง 
แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากเกินก็จะเป็นโทษต่อสุขภาพฟันของเราได้ค่ะ  เหมือนมีคำกล่าวที่ว่า
  

                                   *** ของที่มีคุณก็มีโทษถ้าใช้เกินจำเป็นค่ะ **** 

ฟลูออไรด์สาเหตุของฟันตกกระ
          ภาพที่  5   (ที่มา  https://hic.med.cmu.ac.th/mis04/hic/html/content/picture/25001.jpg)
                 

คำถามชวนคิด

       1. ฟลูออไรด์มีประโยชน์อย่างไร
       2. ฟลูออไรด์ถ้าใช้มากเกินไปจะมีโทษอย่างไร
       3. ฟลูออไรด์เกี่ยวข้องกับฟลูออรีนอย่างไร
       4. ในชีวิตประจำวันเราได้รับฟลูออไรด์จากแหล่งใดบ้าง
       5. โซเดียมฟลูออไรด์ คืออะไร
       
กิจกรรมเสนอแนะ

       1.ให้นักเรียนลองบอกวิธีการดูแลสุขภาพฟันให้แข็งแรง
       2.ให้นักเรียนเสนอวิธีการใช้ฟลูออไรด์ให้ปลอดภัย
       3.ให้นักเรียนนำเสนอประเภทของอาหารที่มีฟลูออไรด์ และแหล่งฟลูออไรจากแหล่งอื่น
       
การบูรณาการ

      1. ให้นักเรียนศึกษาเปรียบเทียบและนับจำนวนผลิตภัณฑ์ที่พบในชีวิตประจำวันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
      2. ให้นักเรียนสอบถามความคิดเห็นของสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับการรักษาฟันให้แข็งแรง
      3. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับสุขภาพฟัน
  
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

     1. https://www.thaipost.net/news/050510/21746
      2. https://www.elib-online.com/doctors47/dental_fluoride001.html
      3. https://th.wikipedia.org/wiki/ฟลูออรีน
      4. 
https://www.caremine.com/wp-content/uploads/2009/08/teeth.jpg
      5.https://www.consumerthai.org/old/cms/images/stories/data/bueti/2007_05_12_05beautiful.jpg
      6. 
https://student.mahidol.ac.th/~u4904035/pic002.jpg
      7. https://hic.med.cmu.ac.th/mis04/hic/html/content/picture/25001.jpg
      8. https://www.med.cmu.ac.th/hospital/opd/health/pang1.jpg
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2398

อัพเดทล่าสุด