อากาศหนาวที่สุดในรอบ 30 ปี โดยอุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ 11 จังหวัด ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีสภาพอากาศหนาวจัด
ลานีญา...พาหนาว...พาจม (น้ำ)
กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าฤดูหนาวปีนี้จะมีสภาพ อากาศหนาวที่สุดในรอบ 30 ปี โดยอุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ 11 จังหวัด ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีสภาพอากาศหนาวจัด ได้แก่ จ. แม่ฮ่องสอน ,ตาก เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และ จ.นครพนม
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดปีนี้หนาวทุบสถิติปีที่ แล้วจากอิทธิพลปรากฎการณ์ ลานีญา "เชียงราย-เลย" อุณหภูมิต่ำสุด 6-8องศา ขณะที่ "กรุงเทพฯ" ต่ำสุดที่ 16 องศา
ที่มา : https://www.kroobannok.com/38976
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทุกระดับชั้น
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ลานีญาเป็นปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกับเอลนีโญ คือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันออกมีค่าต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้เนื่องจากลมค้า (trade wind) ตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดอยู่เป็นประจำในแปซิฟิกเขตร้อนทางซีกโลกใต้ (ละติจูด 0.03 องศาใต้) มีกำลังแรงกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออก (บริเวณฝั่งเอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ) ไปสะสมอยู่ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตก (บริเวณชายฝั่งอินโดนีเซียและออสเตรเลีย) มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตกซึ่งแต่เดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกอยู่แล้ว กลับยิ่งมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมากยิ่งขึ้นไปอีก มีผลทำให้ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตกมีปริมาณฝนมากขึ้น ขณะที่ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกจะมีความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน ปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดโดยเฉลี่ย 5 - 6 ปี ต่อครั้ง และแต่ละครั้งกินเวลานานประมาณ 1 ปี
บริเวณที่มีผลกระทบทำให้มีปริมาณฝนมากกว่าปกติได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลียตอนเหนือ ฟิลิปปินส์ อินเดียตอนเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ส่วนบริเวณที่มีผลกระทบแต่ทำให้มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ ได้แก่ ประเทศชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา บราซิลตอนใต้ ถึงตอนกลางของประเทศอาร์เจน-ตินา
สำหรับประเทศไทยนั้น ผลกระทบขนาดรุนแรงที่มีต่อฝนและอุณหภูมิใน 3 ฤดู ฝ่ายวิชาการภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่า "ฤดูฝนปีที่เกิดลานีญา (มิ.ย. - ต.ค.) ฝนจะสูงกว่าปกติเว้นแต่ทางบริเวณของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปรกติ
ฤดูหนาวปลายปีที่เกิด - ต้นปีหลังเกิดลานีญา (พ.ย. - ก.พ.) ทั่วประเทศจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ สำหรับฝนในฤดูหนาวของประเทศตอนบนมีอุณหภูมิในเกณฑ์ต่ำกว่าปรกติ เว้นแต่ตามบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกที่จะมีฝนสูงกว่าปกติ และฝนในภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่งในครึ่งแรกของฤดู (พ.ย. - ธ.ค.) จะมีฝนสูงกว่าปรกติ แต่ฝนจะลดลงในครึ่งหลังของฤดู (ม.ค. - ก.พ.) โดยอาจจะมีฝนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปรกติ
ฤดูร้อนปีหลังเกิดลานีญา (มี.ค. - พ.ค.) ทั่วประเทศจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทั่วประเทศ และจะมีฝนตกลงมาบ้าง อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปรกติทั่วประเทศซึ่งจะทำให้อากาศไม่ร้อนมาก"
คำถาม
1. ลานีญา คืออะไร
2. นักเรียนคิดว่าลานีญามีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่ประเทศไทยมีอากาศที่หนาวเย็น และมีน้ำท่วมในหลายจังหวัดอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตถึงปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/T56uFh2rOIQ" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม : https://www.tmd.go.th/NCCT/article/lanina.pdf
https://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/mag-content42.html
ขอบคุณภาพ : https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/65175.jpg
https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/50274.jpg
https://variety.teenee.com/science/img4/15731.jpg
https://webboard.mthai.com/upload_images_new/2007-10-18/350714.jpg
https://hilight.kapook.com/img_cms2/varity/drive_trick_1.jpg
https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/519/7519/blog_entry1/blog/2007-06-12/comment/53528_images/1.jpg
https://www.youtube.com/watch?v=T56uFh2rOIQ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3299