Fast & Furious 5 สุดยอดภาพยนตร์ แห่งปี! เร็ว แรง สะใจวัยโจ๋


908 ผู้ชม


Fast & Furious 5 สุดยอดภาพยนตร์ แห่งปี! เร็ว แรง สะใจ...   

Fast & Furious 5 สุดยอดภาพยนตร์ แห่งปี! เร็ว แรง สะใจ...    

Fast & Furious 5 สุดยอดภาพยนตร์ แห่งปี! เร็ว แรง สะใจวัยโจ๋    

ที่มา https://www.dailynews.co.th

 

แรงอีกแล้วสำหรับภาพยนตร์ เรื่อง Fast & Furious 5 สมกับการรอคอยจริงๆ   Fast & Furious 5  ได้สร้างมาถึงภาคที่ 5 แล้วนะค่ะ  และจะเห็นว่าเป็นที่ถูกใจของคนรักรถ  ซึ่งเนื้อหาเรื่องนี้เกี่ยวกับการหนีตำรวจของผู้ร้ายโดยการขับรถซิ่ง  ซึ่งในการขับรถของตัวละครในเรื่องนั้นมีให้ผู้ชมได้ลุ้นระทึกทุกวินาที  การขับรถในเรื่องนี้จะสังเกตเห็นว่ามีการเคลื่อนที่แบบวงกลม  ก็คือในการขับรถบริเวณทางโค้งนั่นเอง ซึ่งเราจะมาศึกษากันในเรื่องการเคลื่อนที่แบบวงกลมกันนะค่ะ

เนื้อหา
        สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
        มาตรฐานที่ ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
        ตัวชี้วัดที่ ม 4-6/1 ม ๔-๖/๒ สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ แบบวงกลม และแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

การเคลื่อนที่แบบวงกลม
        วัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง แสดงว่ามีแรงกระทำในทิศแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ไม่ว่าจะมีทิศทางเดียวกัน หรือตรงกันข้ามผลจะทำให้การเคลื่อนที่นั้นเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลง โดยแนวการเคลื่อนที่จะอยู่ในแนวเดิม ( เส้นตรง ) วัตถุจะเคลื่อนที่เป็นแนวโค้งแบบโพรเจกไทล์ เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุนั้นในแนวทำมุมใดๆกับการเคลื่อนที่ตลอดเวลา แต่ถ้าวัตถุใดมีแรงกระทำต่อวัตถุนั้นในทิศทำมุม 90 องศากับทิศการเคลื่อนที่นั้น ผลจะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นแนวโค้งแบบวงกลม  วัตถุที่ถูกผูกด้วยเชือกแกว่งให้เคลื่อนที่เป็นวงกลม เราจะต้องออกแรงดึงเชือกไว้คลอดเวลา  แรงนี้จะมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางคือตำแหน่งที่เราจับเชือกไว้    หรือ การขับรถจักรยานยนต์ไต่ถังเป็นวงกลม  จะมีแรงจากผนังกระทำต่อรถจักรยานยนต์ตลอดเวลาในทิศตั้งฉากกับการเคลื่อนที่  และแรงจากผนังที่กระทำต่อรถจักรยานยนต์จะมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง  จึงเรียกแรงนี้ว่าแรงสู่ศูนย์กลาง  

ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่เป็นวงกลม
        เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่  สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ อัตราเร็ว หรือ ความเร็ว ของวัตถุนั้น และการเคลื่อนที่ในแนวเชิงเส้น  หรือ เรียกว่าอัตราเร็วเชิงเส้นหรือความเร็วเชิงเส้น  เมื่อวัตถุใดมีการเคลื่อนที่รอบตำแหน่งใดๆ เช่นการเคลื่อนที่แบบวงกลม  การแกว่งของลูกตุ้ม  หรือการสั่นของสปริง การเคลื่อนที่นั้นจะทำให้ระยะทางของวัตถุเปลี่ยนไปแล้ว  มุมที่เทียบกับตำแหน่งนั้นก็จะเปลี่ยนไปด้วย การเคลื่อนที่ในลักษณะที่ทำให้มุมเปลี่ยนไปนี้เรียกว่า เกิดอัตราเร็วเชิงมุมหรือความเร็วเชิงมุม  ดังนั้นการเคลื่อนที่แบบวงกลมจะมีอัตราเร็วเชิงมุมและความเร็วเชิงมุมมาเกี่ยวข้อง  ปริมาณนี้ในทางฟิสิกส์แทนด้วยสัญลักษณ์คือ  ? ( อ่านว่า โอเมก้า )

การเคลื่อนที่บนถนนโค้ง  
        ขณะที่รถยนต์กำลังเลี้ยวโค้ง ได้โดยที่รถยนต์ไม่ไถลออกนอกถนน  เนื่องจากมีแรงเสียดทานระหว่างพื้นถนนกับยางรถ และแรงนี้จะมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางความโค้งของถนน    แรงสู่ศูนย์กลางนี้จะมีค่าจำกัด ขึ้นอยู่กับ รัศมีความโค้งของถนน  อัตราเร็วที่รถวิ่ง  เมื่อฝนตกถนนลื่น แรงเสียดทาน( แรงสู่ศูนย์กลาง )จะลดลง  ดังนั้นอัตราเร็วของรถยนต์จึงควรลดลงด้วย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

การเลี้ยวโค้งบนถนนระดับของรถจักรยานยนต์หรือรถจักรยาน
        ขณะที่แล่นบนถนนระดับ จะมีแรงกระทำต่อรถกับคนมากมายรวมทั้งแรงเสียดทานที่กระทำที่ล้อให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ยังมี m   คือ น้ำหนักของรถและคน   ,     คือ  แรงที่พื้นกระทำต่อรถและคน  ในขณะที่แล่นในแนวตรง   และ   คือ แรงเสียดทานที่พื้นถนนกระทำกับด้านข้างของล้อรถในทิศเข้าหาจุดศูนย์กลาง   ,    คือ  แรงลัพธ์ของแรง  และ  เมื่อแล่นในแนวโค้งหรือเอียง 

การยกขอบถนนโค้ง
        เพื่อให้การเลี้ยวโค้งปลอดภัยขึ้น ด้วยความเร็วที่แตกต่างจากถนนโค้งในแนวระดับ  โดยมีหลักให้แรงลัพธ์    ผ่านจุดศูนย์กลางมวลรวมของรถและคน  ทำให้รถไม่มีโมเมนต์ของแรงเกิดขึ้นที่รถ  เมื่อแล่นบนถนนโค้งแล้วไม่มีการเอียงรถ แรงลัพธ์ จะไม่ผ่านจุดศูนย์กลางมวลรวมของรถและคน  ทำให้รถมีโมเมนต์ของแรงเกิดขึ้นที่รถ  จึงทำให้รถล้มหรือพลิกคว่ำได้  ดังนั้นวิศวกรจึงออกแบบถนนโดยการยกขอบถนนโค้ง เพื่อให้รถแล่นด้วยความปลอดภัย ด้วยความเร็วที่เป็นไปได้  โดยไม่อาศัยแรงเสียดทาน   ยกเว้นรถแล่นด้วยอัตราเร็วที่ไม่พอดีรถจึงจะอาศัยแรงเสียดทาน  ช่วย  เมื่อยกขอบถนน เมื่อแล่นด้วยอัตราเร็วที่เป็นไปได้ จะไม่มีแรงเสียดทาน ที่ด้านข้างของล้อรถ  จะมีแรงกระทำที่รถคือ  น้ำหนัก m  ของรถและคน และ แรง   ที่พื้นกระทำต่อรถและคน  โดย องค์ประกอบของแรง  ที่ขนานกับพื้นระดับ ไม่ใช่พื้นถนน )  จะทำให้เกิดแรงสู่ศูนย์กลาง คือ   

ประเด็นคำถาม
        1.  เหตุใดวิศวกรจึงออกแบบสร้างถนนโค้งให้เป็นพื้นเอียง
        2. ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบวงกลมอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ
        1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลการเคลื่อนที่แบบวงกลม การเคลื่อนที่ของดาวเทียมเพิ่มเติม แล้วนำความรู้ที่ได้ไปทำเว็บเพจ หรือ e-book
        2. ทำแบบฝึกทักษะการคำนวณ
        3. นำเสนอผลการสืบค้นข้อมูลหน้าชั้นเรียน

การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
        1. สาระการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ : ทักษะพื้นฐานในการคำนวณ
        2. สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ : การใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลและการทำเว็บเพจ หรือ e-book
        3. สาระการเรียนรู้ภาษาไทย : การเขียนรายงาน

ที่มาและแหล่งข้อมูล
        1. https://youtu.be/tXp78R6XV-c
        2. https://youtu.be/mESRuwkh7z8
        3. https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=432&contentId=137556

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3748

อัพเดทล่าสุด