จับตาการชุมนุมของเหล่าดาวเคราะห์


1,230 ผู้ชม


ชุมนุมดาวเคราะห์ สู่การเรียนรู้ดาราศาสตร์   

จับตาการชุมนุมของเหล่าดาวเคราะห์

      “การชุมนุม” ป็นที่รู้จักของคนเราในสมัยนี้ เมื่อมี “การชุมนุมของดาวเคราะห์”” บนท้องฟ้า ทำให้เป็นเรื่องที่ มนุษย์เราสนใจเพราะสอดคล้องกับกระแสความเชื่อที่เชื่อมโยงกับหายนะโลก ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ระบุว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 10 -13 พ.ค.54 นี้ หากมองไปทางขอบฟ้าทิศตะวันออก จะเห็นดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดีในระยะ ใกล้มากถ้าเราใช้กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ ที่มีกำลังขยายประมาณ 10 เท่า ก็จะส่องเห็น ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี และดาวศุกร์ ปรากฏอยู่ในเลนส์ใกล้ตาพร้อมๆ กัน ในระยะเชิงมุมห่างกันเพียง 2 องศา ตั้งแต่เวลา 5.00 น. - 5.45 น. โดยประมาณ
ที่มา :
1. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) https://www.narit.or.th/index.php?
2.ผู้จัดการออนไลน์ https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx? NewsID=9540000056698

ประเด็นข่าวสู่การเรียนรู้

        จากประเด็นข่าวดังกล่าวสอดคล้องกับ เรื่องระบบสุริยะ    สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   และทุกระดับชั้น รวมทั้ง ผู้สนใจทั่วไป

      มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบ สุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
      มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร และการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมี คุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
      สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า ปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กัน

สาระการเรียนรู้

     ดาวเคราะห์ (Planets)

       ดาวเคราะห์ (กรีก: πλανήτης; อังกฤษ: planetes หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่ โคจรรอบดาวฤกษ์     ก่อนคริสต์ทศวรรษ
1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 9 ดวง (ทั้งหมดอยู่ใน ระบบสุริยะและในสมัยนั้นนับรวมดาวพลูโต)      ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ ดวงอื่นที่ไม่ใช่ ดวงอาทิตย์
       ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆกับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง            ดาวเคราะห์ไม่มี แสง
สว่างในตัวเอง สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์      ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวศุกร์ และสามารถพบระบบ วงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มี เพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็น  วงแหวนได้ชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรศน์

       ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา ดาวเคราะห์ แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ เป็น ระยะทางต่างกัน และดวง ต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ด้วย ความเร็วต่างกันไป จากการ ศึกษา เรื่องราว เกี่ยวกับดาวเคราะห์โดยใช้โลกเป็นหลักในการแบ่ง ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง ไม่เหมือนกับ ดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์ ซึ่งสามารถส่องสว่างด้วยตนเองได้ แต่เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ เนื่องจากการที่ดาวเคราะห์ สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เข้าสู่ตาของเรานั่นเองแม้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา จะมีถึง 8 ดวง (ไม่รวมโลก) แต่เรา สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เพียง 5 ดวงเท่านั้น คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เท่านั้น        ซึ่งชาว โบราณเรียก ดาวเคราะห์ทั้งห้านี้ว่า "The Wandering Stars" หรือ"Planetes" ในภาษากรีก และ เรียกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ทั้งสองดวงว่า "The Two Great Lights" ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมด 7 ดวง จะเป็นที่มา ของชื่อวัน  ใน 1 สัปดาห์ นั่นเอง
 
     
        นิยามของดาว เคราะห์

     เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐ เช็ก ซึ่งประกอบด้วย   นักดาราศาสตร์
กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนด นิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้ 
1. เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์ แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร
2. มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม
3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
4. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
       จากนิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต (♇) และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาว
เคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบ สุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
 

 จับตาการชุมนุมของเหล่าดาวเคราะห์

รูปดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ ขนาดดาวตามอัตราส่วนจริง (แนวขวาง) แต่ระยะทางไม่ถูกอัตราส่วน
ที่มา วีกิพีเดีย
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/19/Planets2008-th.jpg/600px -Planets2008-th.jpg

ดาวเคราะห์ทั้ง 8 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ
 ได้ดังนี้

1. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ

      - ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner or Terrestrial Planets): จะเป็น กลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิว โลกของเรา จึงเรียกว่า Terrestrial Planets (หมายถึง "บนพื้นโลก") ได้แก่ ดาวพุธ (Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth) และดาวอังคาร (Mars) ซึ่งจะใช้แถบของ ดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง 
     - ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer or Jovian Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ทำให้มีผิวนอก ปกคลุมด้วยก๊าซ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนพื้นผิวของดาวพฤหัส 
ทำให้มีชื่อเรียกว่า Jovian Planets (Jovian มาจากคำว่า Jupiter-like หมายถึง คล้ายดาวพฤหัส) ได้แก่ ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn), ดาวยูเรนัส (Uranus), ดาวเนปจูน (Neptune) 
 

จับตาการชุมนุมของเหล่าดาวเคราะห์

       ที่มา : ครูแดงดอทคอม https://www.krudang.com/doodaw/pic/
      2. แบ่งตามวงทาง โคจรดังนี้ คือ
          - ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ดาวพุธ และดาวศุกร์
         - ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาว เนปจูน

       3. แบ่งตามลักษณะพื้น ผิว ดังนี้ 
           - ดาวเคราะห์ก้อนหินได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4 ดวงนี้มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้มยกว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวง อาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ 
         - ดาวเคราะห์ก๊าซ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายใน พื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุม ด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม 

    

จับตาการชุมนุมของเหล่าดาวเคราะห์

 ที่มา : ครูแดงดอทคอม https://www.krudang.com/doodaw/pic/
นอกจากที่เราทราบว่า ดาวเคราะห์จะหมุนรอบตัวเอง โคจรไปรอบๆดวงอาทติ ย์แล้ว แกนของแต่ละดาวเคราะห์ ยังเอียง (จากแนวตั้งฉากของการเคลื่อนที่) ไม่เท่ากันอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อเทียบทิศทางของ การหมุนรอบตัวเอง กับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของแต่ละดาวเคราะห์ พบว่า ดาวศุกร์ (Venus), ดาวยูเรนัส (Uranus) จะหมุน รอบตัวเอง แตกต่างไปจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา
ที่มา :

1.ไทยกู๊ดวิว ดอท คอมhttps://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/rungaroon_k/star/sec04p01.html
2.ครูแดงดอทคอม 
https://www.krudang.com/doodaw/pic/
3.วิกิพีเดียhttps://th.wikipedia.org/wiki

คำถามชวนคิด

1. ทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องดาวเคราะห์ 
2. ทำไมดาวพลูโตจึงไม่จัดเป็นดาวเคราะห์
3. ดาวเคราะห์สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้โดยใช้เกณฑ์อะไรบ้างอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ 

1. การศึกษาและเรียนเรื่องเล่าจากประสบการณ์การดูดาว
2. การสืบค้นข้อมูลเรื่องดาวเคราะห์เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
3. กิจกรรมส่องกล้องดูดาวเคราะห์ชุมนุม ช่วงเวลา 10-13 พ.ค. 54

การบูรณาการ 

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  : เรื่องเล่าจากประสบการณ์ดู ดาวเคราะห์ชุมนุม
      กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  :  การนำเสนอเรื่องดาวเคราะห์ที่ฉันสนใจ
      กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ :  ศิลปะสร้างสรรค์เรื่อง ดาวเคราะห์ ในจินตนาการ
      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  : การอ่านการเขียนคำ ศัพท์และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์
 อ้างอิง
1. https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/rungaroon_k/star/sec04p01.h tml
2. https://www.krudang.com/doodaw/pic/clip_image002.jpg
3. https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRCG-WtjgpXdRcO5i6FnQ6BoyVf60WfoTnmd7H0NnQ-
4. https://www.thaigoodview.com/files/u41158/obliquity-full.jpg
5. 
https://www.narit.or.th/index.php? option=com_content&view=article&id=192:planet-grouping&catid=1:astronomy- news&Itemid=4
6. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/19/Planets2008- th.jpg/600px-Planets2008-th.jpg
7. https://www.narit.or.th/index.php? option=com_content&view=article&id=192:planet-grouping&catid=1:astronomy- news&Itemid=4
8. https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000056698

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3865

อัพเดทล่าสุด