46 ปีกำเนิดคอมพิวเตอร์เมืองไทย ย้อนกลับไปปีพ.ศ.ใด


698 ผู้ชม


ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ประเทศไทยสามารถหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับไปนานถึง 46 ปี หน่วยงานรัฐแห่งแรกที่สัมผัสคอมพิวเตอร์ก่อนใครคือ สำนักงานสถิติแห่งชาติที่ตั้งอยู่แถวสนามม้านางเลิ้ง นำมาประมวลผลการสำรวจสำมะโนประชากร ข้อมูลสำคัญระดับชาติ   

เรื่อง  46 ปีกำเนิดคอมพิวเตอร์เมืองไทย     ย้อนกลับไปปีพ.ศ.ใด

บทนำ  ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ประเทศไทยสามารถหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับไปนานถึง 46 ปี หน่วยงานรัฐแห่งแรกที่สัมผัสคอมพิวเตอร์ก่อนใครคือ สำนักงานสถิติแห่งชาติที่ตั้งอยู่แถวสนามม้านางเลิ้ง นำมาประมวลผลการสำรวจสำมะโนประชากร ข้อมูลสำคัญระดับชาติเพื่อใช้กำหนดนโนบายเศรษฐกิจและสังคม

เนื้อหาสาระวิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา  ( วัน เดือน ปี ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

เนื้อหา   ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ประเทศไทยสามารถหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับไปนานถึง 46 ปี หน่วยงานรัฐแห่งแรกที่สัมผัสคอมพิวเตอร์ก่อนใครคือ สำนักงานสถิติแห่งชาติที่ตั้งอยู่แถวสนามม้านางเลิ้ง นำมาประมวลผลการสำรวจสำมะโนประชากร ข้อมูลสำคัญระดับชาติเพื่อใช้กำหนดนโนบายเศรษฐกิจและสังคม

             คอมพิวเตอร์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นระบบที่เรียกว่า "เมนเฟรม" รุ่นไอบีเอ็ม 1406 ขนาดพอกับเครื่องถ่ายเอกสารประจำสำนักงาน นำเข้ามาใช้เมื่อ พ.ศ.2506 สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลประชากร เช่น การสำรวจสำมะโนประชากร จากเดิมต้องใช้เวลานานหลายปี แต่เมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสูงเข้ามาใช้ การรวบรวมข้อมูลประชากรทั่วประเทศสามารถทำเสร็จในเพียง 18 เดือน

            นับจากวันนั้นมาคอมพิวเตอร์เมนเฟรมถูกนำเข้ามาใช้งานอย่างกว้างขวางตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย และเป็นไอบีเอ็มอีกนั่นแหละที่ร่วมบุกเบิกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานทำบัญชี เขียนรายงาน นำเสนองาน วาดภาพ และจิปาถะ ก่อนขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊กให้เลอโนโวสานต่อ

 "พอเริ่มนำคอมพิวเตอร์เครื่องแรกมาใช้ การทำงานด้านข้อมูลก็เปลี่ยนจากคนมาเป็นเครื่องจักร ทำให้เกิดระบบเลขประจำตัว 13 หลัก ตามมาด้วยระบบทะเบียนราษฎร และบัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ หรือสมาร์ทการ์ด และขยับมาเป็นอี-กอฟเวอร์เมนท์ และบริการเว็บเซอร์วิส อย่างในปัจจุบัน" เลขาธิการสถิติแห่งชาติ สรุปประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ราชการไว้ในประโยคเดียว

 ปัจจุบันหน่วยงานรัฐกว่า 119 แห่งใช้งานคอมพิวเตอร์เมนเฟรมของสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อบันทึกและประมวลผลข้อมูลในหน่วยงาน เช่น ใช้ทำฐานข้อมูลที่ดิน ชลประทาน แผนที่ทหาร รวมถึงใช้ประมวลผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย รายงานผลการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่อย่างเอเชี่ยนเกมส์ ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปไม่สามารถทำได้”

 สำนักงานสถิติแห่งชาติยังตั้งศูนย์ประมวลผลด้วยเครื่องจักรแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับหน่วยงานอื่น รวมทั้งเดินหน้าพัฒนาบุคลากรด้านไอที ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้เก็บข้อมูลเชิงสถิติจากหน่วยงานต่างๆ กว่า 3,000 รายการ

 นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ย้อนอดีตว่า ไอบีเอ็มเริ่มเข้ามายังประเทศไทยเมื่อ 57 ปีที่แล้ว เมนเฟรมเป็นหนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่ไอบีเอ็มบุกเบิก จากไอบีเอ็ม 1406 ในรุ่นแรก จนกระทั่งถึงไอบีเอ็มซิสเต็มซี รุ่นล่าสุดที่พัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้น

 “หลังจากเริ่มมีคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็เกิดเทคโนโลยีอย่างระบบเอทีเอ็มออนไลน์ รวมถึงเอกชนอย่างสายการบินได้นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เมนแฟรมไปติดตั้งใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน” กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าว

 ถึงแม้เวลาผ่านมาเกือบครึ่งศตวรรษ ลองหันไปมองรอบตัวจะพบว่ามีอุปกรณ์ประมวลผลรายรอบอยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ เครื่องซักผ้า เครื่องเล่นเกม เครื่องพิมพ์ ฯลฯ 
 ยืนยันว่า 46 ปีที่ผ่านมายังเป็นแค่จุดเริ่มต้น จากบทความของ จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา

46 ปีกำเนิดคอมพิวเตอร์เมืองไทย     ย้อนกลับไปปีพ.ศ.ใด    มาคิดคำนวณกันกับคำถาม

ปีนี้ พ.ศ. 2552  -  46   คำตอบคือ   ปี  พ.ศ. 2506     นักเรียนยังไม่เกิดเลย

กิจกรรมเสนอแนะ  จากรายละเอียดของข่าวนี้ เราสามารถบูรณาการไปได้อีกสาระ เช่น

บูรณาการกับสาระ

1. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่อง   จำนวนประชากร

2. การงานอาชีพและเทคโนโลยี    เรื่อง กำเนิดคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มาของข้อมูล

สุวารี  โสมาบุตร

https://www.komchadluek.net/detail/20090621/17614/46ปีกำเนิดคอมพิวเตอร์เมืองไทย.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=836

อัพเดทล่าสุด