การนำเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบคุรุสภาศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมหารือของคณะอนุกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติ
ปฏิรูปยกเครื่องผลิตครูยุคใหม่ ระบบการทำงาน 3 เส้า
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) เปิดเผยว่า ในการประชุมกรรมการ กนป.ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล จะมีการนำเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบคุรุสภาศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมหารือของคณะอนุกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีนายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน โดยยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบคุรุสภาศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การผลิตครู จะเป็นระบบการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 เส้า ได้แก่
เส้าที่ 1 เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ เป็นสถาบันทางวิชาการและวิชาชีพเฉพาะด้านคุรุศึกษาระดับประเทศ มีรูปแบบเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ทำวิจัยและวางแผนการผลิตการพัฒนาและการใช้ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยจะมีบทบาทหน้าที่ไม่ซ้ำซ้อนกับคุรุสภา และคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพราะจะไม่ทำเรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมถึงไม่ผลิตครูเอง
เส้าที่ 2 คือ การผลิตครู มีการเสนอว่านอกจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานผลิตครูในปัจจุบันแล้ว มีการเสนอให้คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ตลอดจนคณะที่เกี่ยวข้องกับไอทีซี คอมพิวเตอร์ ร่วมผลิตครูด้วย โดยเมื่อจบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จากคณะดังกล่าวแล้วให้สามารถไปเรียนวิชาชีพครูกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาตร์อีก 2 ปี ก็จะจบสายครูระดับปริญญาโท ซึ่งจะทำให้สถานศึกษาได้ครูอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทางที่ขาดแคลนอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เส้าที่ 3 คือ คณะกรรมการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะเป็นผู้คัดเลือกคนเก่งและคนดีมาเรียนครู
"การนำเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบคุรุสภาศึกษาแห่งชาติดังกล่าว ถือเป็นกระบวนการคิดใหม่ในการผลิตครูยุคใหม่ที่ไม่ได้มุ่งให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ผลิตครูแต่เพียงผู้เดียวเหมือนในอดีต ส่วนว่าจะให้คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ฯลฯ ผลิตในสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์นั้น จะต้องไปหารือในที่ประชุมกรรมการ กนป.เพื่อหาข้อสรุปก่อน ซึ่งส่วนตัวคิดว่าอาจจะผลิตในสัดส่วนร้อยละ 20-30"
ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1289982386&grpid=&catid=19&subcatid=1903
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ความสัมพันธ์ในข้อมูลสองตัวแปร
โดยทั่วไป ข้อมูลที่พบเห็นมักมีตัวแปรที่มากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งตัวแปรเหล่านั้น อาจมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น รถยนต์เมื่อมีอายุการใช้งานนานขึ้น ก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากขึ้น นั่นคือ อายุการใช้งานและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามีความสัมพันธ์กัน หรือผลการเรียนของนิสิตสัมพันธ์หรือขึ้นอยู่กับสติปัญญาของนิสิต และเวลาที่นิสิตใช้ในการทบทวนบทเรียน ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ในข้อมูลจะทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้ดีขึ้น เช่น ทราบเหตุผลว่าทำไมนิสิตแต่ละคนมีผลการเรียนแปรผันแตกต่างกัน หรือทราบว่าค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถยนต์แปรผันตามอายุการใช้งานของรถคันนั้นอย่างไร ดังนั้น จากหน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยที่สุ่มมา หากมีการสังเกตและจดบันทึกค่าของตัวแปรมาตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป ก็สามารถนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาว่า ตัวแปรเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรือไม่ ถ้ามีระดับความสัมพันธ์ มีมากน้อยเพียงใด และลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบใด การที่ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันหมายความว่า ความรู้เกี่ยวกับตัวแปรหนึ่งจะช่วยให้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับตัวแปรอื่นที่สัมพันธ์กันได้ ฉะนั้น ประโยชน์หนึ่งที่ได้จากการทราบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร คือ จะสามารถทำนายค่าของตัวแปรหนึ่งที่สนใจ จากข้อมูลของตัวแปรอื่น ๆ คาดคะเนค่าได้ เช่น สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและความสูง ช่วยให้ทราบน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีความสูงระดับต่าง ๆ เทคนิคการสร้างสมการนี้เรียกว่า การถดถอย ความสัมพันธ์หนึ่งที่สำคัญมากคือเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเป็นเวลา และสนใจการเปลี่ยนแปลงของค่าตัวแปรอีกตัวเมื่อเวลาเปลี่ยนไป เรียกการเปลี่ยนแปลงตามเวลานี้ว่า แนวโน้ม ตัวอย่างที่พบมาก ได้แก่ แนวโน้มของข้อมูลทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การขึ้นลงของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย ปริมาณการส่งออกสินค้า เป็นต้น ดังนั้น จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ในข้อมูลของสองตัวแปร การสร้างสมการแสดงความสัมพันธ์และแนวโน้มอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป ความสัมพันธ์ในข้อมูลสองตัวแปร เมื่อสังเกตลักษณะสองลักษณะหรือสองตัวแปรจากแต่ละหน่วยตัวอย่าง การศึกษาข้อมูลของตัวแปรแต่ละตัวแยกกันจะไม่สามารถให้คำตอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ได้ แต่จำเป็นต้องนำข้อมูลของทั้งสองตัวแปรมาศึกษาพร้อมกันโดยการจัดระเบียบข้อมูล เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจจัดระเบียบตารางหรือกราฟ ทั้งนี้ ขึ้นกับว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อมูลเชิงปริมาณ
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/relation/relate.htm#relation
ความสัมพันธ์ในข้อมูลเชิงคุณภาพ
เมื่อตัวแปรทั้งสองตัวมีการวัดค่าเป็นค่าที่บอกประเภทของหน่วยตัวอย่าง ดังนั้น การที่จะศึกษาความสัมพันธ์โดยการนำข้อมูลจำแนกประเภทนั้นมาแจกแจงความถี่และจัดเรียงสรุปในรูปตารางแจกแจงความถี่แบบสองทาง หรืออีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกในทางสถิติ คือ ตารางการณ์จร (Contingency table) โดยมีรูปแบบของตาราง คือ ประเภทหรือกลุ่มของตัวแปรหนึ่งจะอยู่ด้านแถวนอน และอีกตัวแปรหนึ่งอยู่ด้านแถวตั้ง จำนวนความถี่ของหน่วยตัวอย่างแต่ละประเภทที่นับได้จะบันทึกในแต่ละช่องของตาราง
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/relation/relate1.htm
ความสัมพันธ์ในข้อมูลเชิงปริมาณ
เมื่อมีข้อมูลของตัวแปรสองตัวที่วัดค่าเป็นตัวเลข ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลเชิงปริมาณ สิ่งที่น่าสนใจจากข้อมูลนี้ ได้แก่ ตัวแปรทั้งสองเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรมีมากน้อยเพียงใด ความสัมพันธ์ของตัวแปรอยู่ในรูปแบบใด จะคาดคะเนค่าตัวแปรหนึ่งจากอีกตัวแปรได้หรือไม่
เพื่อความสะดวกในการตอบคำถามต่าง ๆ ข้างต้น จะกำหนดให้ตัวแปรหนึ่งเป็น x และอีกตัวแปรเป็น y ตัวอย่างเช่น การสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาวิชาบริหารธุรกิจในหลาย ๆ สถาบัน มักมีข้อหนดว่า ผู้สมัครต้องมีคะแนนจากผลการสอบ GMAT (Graduate Management Attitude Test) ประกอบการสมัครด้วย คะแนน GMAT เป็นตัวที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครอย่างหนึ่ง จึงต้องการทราบว่า ผลการเรียนของผู้สมัคร (GPA) ในระดับปริญญาตรีมีความสัมพันธ์กับคะแนน GMAT หรือไม่ หรือจะคาดคะเนคะแนน GMAT จาก GPA ของผู้สมัครได้หรือไม่
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/relation/relate4.htm
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเริ่มต้นขึ้นโดย Sir Francis Galton นักพันธุศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งมีชีวิตในช่วงปี ค.ศ.1822-1911 เป็นที่ทราบกันดีว่า บุตรมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับบิดามารดา Galton จึงต้องการทราบว่าความคล้ายคลึงนี้มีมากเพียงใด บุตรจะมีลักษณะแตกต่างไปจากบิดามารดาได้เพียงใด นักสถิติในประเทศอังกฤษต่างสนใจในคำถามนี้ และได้รวบรวมข้อมูลจำนวนมากเพื่อศึกษาหาคำตอบของคำถามนี้
ที่มาของข้อมูลhttps://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/relation/relate2.htm
การถดถอยและการคาดคะเนค่า
การที่จะคาดคะเนเงินเดือนเริ่มต้นของบัณฑิตปริญญาตรีที่ไปทำงานในบริษัทเอกชนจากคะแนนเฉลี่ยสะสมหรือ GPA สามารถทำได้หรือไม่ ความเป็นไปได้ในการคาดคะเนขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งสอง ได้แก่ เงินเดือนเริ่มต้นและ GPA ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เมื่อตัวแปรมีความสัมพันธ์กันมาก การทราบค่าของตัวแปรหนึ่งจะช่วยให้ทำนายค่าของอีกตัวแปรหนึ่งได้ใกล้เคียง แต่ถ้าระดับความสัมพันธ์ไม่สูง สิ่งที่ทราบเกี่ยวกับตัวแปรหนึ่งก็ไม่ช่วยในการคาดเดาค่าของอีกตัวแปรมากนัก ความเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ และความสามารถในการคาดการณ์ล่วงหน้าให้ถูกต้องเป็นประโยชน์อย่างมากในการตัดสินใจ ดังนั้น เมื่อทราบว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันสูง จึงต้องการหาสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่บอกว่าค่าของตัวแปรที่สนใจเปลี่ยนแปลงตามค่าของตัวแปรอื่นอย่างไร สิ่งที่ได้จากสมการดังกล่าวคือ จะประมาณหรือคาดคะเนค่าของตัวแปรนั้นจากค่าของตัวแปรอื่นได้ ตัวแปรที่สนใจทำนายค่าเรียกว่า ตัวแปรตาม (dependent variable) ส่วนตัวแปรอื่นเรียกว่า ตัวแปรอิสระ (independent variable) ทั้งนี้ คิดว่าตัวแปรอิสระมีอิทธิพลทำให้ตัวแปรตามเปลี่ยนค่าตามไป เช่น ความสูงของบิดาคือตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อความสูงของบุตรชายซึ่งเป็นตัวแปรตาม ในเรื่องของเงินเดือนและ GPA เงินเดือนเริ่มต้น คือ ตัวแปรตามที่ต้องการคาดคะเนค่าจากตัวแปรอิสระ GPA ถ้ามีข้อมูลเงินเดือนเริ่มต้นและ GPA ของบัณฑิตหลายคนที่ผ่านมา ข้อมูลนั้นนำมาศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างเงินเดือนเริ่มต้นและ GPA ได้
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/relation/relate3.htm
คำถามในห้องเรียน
คำชี้แจง ให้ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 1
ข้อความที่ 1 "จบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ไปเรียนวิชาชีพครูกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาตร์อีก 2 ปี จบสายครูระดับปริญญาโท"
ข้อความที่ 2 " ได้ครูอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทางที่ขาดแคลนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์"
1. จากข้อความทั้ง 2 ข้อความ นักเรียนคิดว่าเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในข้อมูลเชิงคุณภาพหรือความสัมพันธ์ในข้อมูลเชิงปริมาณ เพราะเหตุใด
2. จากยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบคุรุสภาศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การผลิตครู จะเป็นระบบการทำงานร่วมกัน 3 เส้า นักเรียนคิดว่าการถดถอยและการคาดคะเนค่าขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้างอภิปราย
ข้อเสนอแนะ
ความคาดหวัง ในการจัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ การผลิตครู จบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เรียนวิชาชีพครูกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาตร์อีก 2 ปี จบสายครูระดับปริญญาโท และเลือกคนเก่งและคนดีมาเรียนครู จะทำได้และประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง มีประสิทธิภาพ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม¬
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และ
ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข
ที่มาของรูปภาพ https://4.bp.blogspot.com/_hm5q82rTRhw/Sc0jk1GB-hI/AAAAAAAAAHE/cSX60toSXfU/s400/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD
ที่มาของรูปภาพ https://www.cha-lad.com/images/content1662552112913.jpg
ที่มาของรูปภาพ%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99.jpghttps://www.princess-it.org/kp9/images/news/20050409-tn/20050409-tn-01.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3326