แนะสอบเทียบ 9 มาตรฐาน รับใบประกอบวิชาชีพ


1,007 ผู้ชม


สช.ชี้ช่องแก้ ป.บัณฑิต   

แนะสอบเทียบ 9 มาตรฐาน รับตั๋วครู 
สช.ชี้ช่องแก้ ป.บัณฑิต

นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มี

แนะสอบเทียบ 9 มาตรฐาน รับใบประกอบวิชาชีพโครงการพัฒนามาตรฐานความรู้ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน รุ่นที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์
1. ให้ครูในสถานศึกษาเอกชนที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สามารถเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)วิชาชีพครู 
2. แก้ปัญหาครูเอกชนขาดแคลน

สถาบันเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นสถาบันกลางในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ที่จัดตั้งโดยคุรุสภา โดยครูเอกชนที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรของสถาบันเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จะต้องผ่านการอบรมทั้งสิ้น 60 ชั่วโมงต่อ 1 มาตรฐานความรู้ หากเคยผ่านการอบรมมาตรฐานไหนมาแล้วก็ไม่ต้องอบรมซ้ำ จากนั้น เมื่อครบทั้ง 9 มาตรฐานความรู้ที่กำหนด จึงเข้าสู่การทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด ถ้าผ่านได้รับใบอนุญาต ในทันที ซึ่งตนเห็นด้วยกับการอบรมเพื่อสอบเทียบมาตร ฐานความรู้ การสอบมาตรฐานนี้อาจใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายน้อย กว่า จึงเหมาะสมกับครูเอกชนที่มีประสบการณ์สอน
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?==
newsid=TURObFpIVXdNVEU0TURrMU5RPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1pMHdPUzB4T0E9PQ
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนความรู้ เรื่องค่ากลางของข้อมูล  
พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้แล้วพิจารณาว่าถูกหรือผิด

นักเรียน 3  กลุ่ม กลุ่มละ 12  คน  สอบวิชาสถิติได้คะแนนดังนี้
กลุ่มที่ 1           5     6     3     2     4    9    7     8     5      6    5     4
กลุ่มที่ 2           5     9     6     1     4    5    7     8     5      6    5     4
กลุ่มที่ 3           5     10   6     1     4    5    7     8     5      6    5     4

1. นักเรียนกลุ่มที่ 3 มีการกระจายของคะแนนสอบวิชาสถิติมากที่สุด
2. กลุ่มที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาสถิติ เท่ากับ 5.8 คะแนน
3. ค่าพิสัยของคะแนนสอบวิชาสถิติของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม  เท่ากัน 
4. ถ้าคะแนนเต็มในการสอบครั้งนี้ เป็น 10 คะแนน
5. ค่าเฉลี่ยคะแนนสอบวิชาสถิติของนักเรียนกลุ่มที่ 3 เท่ากับ 6.6 
6. นักเรียนกลุ่มที่ 3 เก่งที่สุด 
7. นักเรียนกลุ่มที่ 3 จัดการเรียนการสอนง่ายที่สุด 
8. ทรวดทรงการกระจายของคะแนนกลุ่มที่ 1  เป็นแบบเบ้ทางลบ
9. กลุ่มที่ 3 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่ากลุ่มที่ 1 
10. ฐานนิยมของคะแนนทั้ง 3 กลุ่ม  มีค่าเท่ากัน 
ที่มาของข้อมูล https://www.ipecp.ac.th/ipecp.ac.th/cgi-binn/webpili/unit7/a7-1.html
คะแนนมาตรฐาน (z score)  
แนะสอบเทียบ 9 มาตรฐาน รับใบประกอบวิชาชีพเรามีการกล่าวถึงคะแนนหรือการวัดในรูปแบบทั่ว ๆ ไป ซึ่งคะแนนที่ได้จะถูกนำเสนอโดยใช้สัญลักษณ์ X กับค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD คะแนนที่
เก็บรวบรวมมาได้โดยทั่วไปจะถูกเรียกว่าคะแนนดิบ (raw score) เราพิจารณาถึงความเบี่ยงเบนของคะแนนกับค่าเฉลี่ย, x = X -  ซึ่งค่า x เราจะเรียกว่าคะแนนเบี่ยงเบน (Deviation Score) และมีค่าเฉลี่ยเป็น 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD ถ้าเราหารคะแนนเบี่ยงเบนด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เราจะเรียกมันว่า

คะแนนมาตรฐาน (Standard Score) จะแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ z 
คะแนนมาตรฐานนี้มีค่าเฉลี่ยเป็น 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 1 
คะแนนมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยเป็น 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 1 สังเกตคนที่ 1 มีคะแนนมาตรฐานเป็น -1.11 ทั้งนี้เพราะคะแนนที่ได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนคนที่ 
6 มีคะแนนมาตรฐานเป็น 1.58 ทั้งนี้เพราะคะแนนที่ได้อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย ประยุกต์ใช้ z score กับผลการสอบในวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ และสมมติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้                
English ค่าเฉลี่ย 65  SD 8 
Math    ค่าเฉลี่ย 52  SD 12

ความสัมพันธ์ของผลการสอบในแต่ละกลุ่มวิชา คะแนน 65 ในกลุ่มผู้สอบอังกฤษมีความเท่าเทียมกับคะแนน 52 ในวิชาคณิตศาสตร์ ถ้ามีเด็กคนหนึ่งสอบวิชาอังกฤษได้ 57 คะแนน และคณิตศาสตร์ได้ 58 คะแนน เราสามารถเปรียบเทียบผลการสอบทั้ง 2 วิชานี้โดยใช้คะแนนมาตรฐาน วิชาภาษาอังกฤษมีคะแนนมาตรฐาน (57 - 65)/8 = -1.0 และคณิตศาสตร์ (58 - 52)/12 = 0.5 คะแนนมาตรฐานวิชาภาษาอังกฤษติดลบแสดงว่าคะแนน 57 เป็นคะแนนที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ขณะที่คะแนนมาตรฐานวิชาคณิตศาสตร์เป็น 0.5 แสดงว่าคะแนน 58 เป็นคะแนนที่อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย เราอาจจะกล่าวได้ว่า เด็กคนนี้มีผลการสอบวิชาอังกฤษแย่กว่าวิชาคณิตศาสตร์ และควรจะทราบด้วยว่า ผลบวกของคะแนนมาตรฐานยกลังสองคือ ซิกม่า z2 มีค่าเท่ากับ N - 1 
ที่มาของข้อมูล https://www.watpon.com/Elearning/stat22.htm
ตัวอย่าง   สมศักดิ์สอบวิชาสถิติได้   50   คะแนน ซึ่งในกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ย  45คะแนนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 5 อยากทราบว่าสมศักดิ์ได้คะแนนเมื่อ

แปลงเป็น  Z-score แล้วเท่าไร
                  Z - score   = 1
                  สมศักดิ์ได้คะแนนมาตรฐาน Z- score  เท่ากับ  1
ตัวอย่าง   สมศักดิ์ สอบวิชาสถิติได้    Z-score = 1  อยากทราบว่าสมศักดิ์ได้คะแนนเมื่อแปลงเป็น  T-Score แล้วเท่าไร
                  T – score  = 10(1) + 50 
                                    =  60
สมศักดิ์ได้คะแนนมาตรฐาน T- score  =  60
การใช้   Z – score   และ T – Score
1.  ใช้บอกระดับความสามารถในกลุ่ม  โดยใช้การแปลความหมายของคะแนน    Z – score   และ T – score    ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละคนมีความสามารถ
มากน้อยแค่ไหนสูงกว่าคนอื่นมากน้อยเพียงใด
2.  ใช้เปรียบเทียบความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเด็กเพื่อช่วยให้เห็นสภาพความสามารถในแต่ละด้านของเด็กแต่ละคน                                             

ที่มาของข้อมูล https://www.ipecp.ac.th/ipecp.ac.th/cgi-binn/webpili/unit7/level7-5.html แนะสอบเทียบ 9 มาตรฐาน รับใบประกอบวิชาชีพ
 
แบบฝึกทักษะ 
พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้แล้วพิจารณาว่าถูกหรือผิด
นักเรียน 3  กลุ่ม กลุ่มละ 12  คน  สอบวิชาสถิติได้คะแนนดังนี้
กลุ่มที่ 1           5     6     3     2     4    9    7     8     5      6    5     4
กลุ่มที่ 2           5     9     6     1     4    5    7     8     5      6    5     4
กลุ่มที่ 3           5     10   6     1     4    5    7     8     5      6    5     4

1. นักเรียนกลุ่มที่ 3 มีการกระจายของคะแนนสอบวิชาสถิติมากที่สุด
2. กลุ่มที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาสถิติ เท่ากับ 5.8 คะแนน
3. ค่าพิสัยของคะแนนสอบวิชาสถิติของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม  เท่ากัน 
4. ถ้าคะแนนเต็มในการสอบครั้งนี้ เป็น 10 คะแนน
5. ค่าเฉลี่ยคะแนนสอบวิชาสถิติของนักเรียนกลุ่มที่ 3 เท่ากับ 6.6 
6. นักเรียนกลุ่มที่ 3 เก่งที่สุด 
7. นักเรียนกลุ่มที่ 3 จัดการเรียนการสอนง่ายที่สุด 
8. ทรวดทรงการกระจายของคะแนนกลุ่มที่ 1  เป็นแบบเบ้ทางลบ
9. กลุ่มที่ 3 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่ากลุ่มที่ 1 
10. ฐานนิยมของคะแนนทั้ง 3 กลุ่ม  มีค่าเท่ากัน 
ที่มาของข้อมูล https://www.ipecp.ac.th/ipecp.ac.th/cgi-binn/webpili/unit7/a7-1.html

คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่า การนำคะแนนมาตรฐาน (z score) มาใช้ตัดสินการสอบเทียบ 9 มาตรฐาน ยุติธรรมหรือไม่อย่างไร ร่วมอภิปราย
2. ถ้ากำหนดเกณฑ์การสอบ ผ่านได้รับใบอนุญาต และไม่ผ่านไม่ได้รับใบอนุญาต  นักเรียนคิดว่าประสบการณ์สอนมีผลหรือไม่อย่างไร
ข้อเสนอแนะ
ถ้าการสอนมาตรฐาน มีค่าใช้จ่ายก็ควรนำประสบการณ์สอนมาเป็นเงื่อนไขเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งดีหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 
(กช.)เป็นผู้ร่วมพิจารณา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯ อื่น ๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สาระที่ 1  การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ 2    การเขียน 
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการ
ศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ  
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2  หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน  ส 2.1 1เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข 
ที่มาของภาพ https://www.watpon.com/Elearning/image/zscore1.gif
ที่มาของภาพ https://jobparttimes.com/wp-content/uploads/2011/09/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9.jpg
ที่มาของภาพ https://www.phrae2.com/xn--22c9be4cqrb8m1c/wp-content/uploads/2011/12/exam-phrae2-001.jpg
ที่มาของภาพ https://uc.exteenblog.com/quixscience/images/PAT3/553/110302/01/Capture3.JPG 
ที่มาของภาพ https://www.myfirstbrain.com/thaidata/Image.asp?ID=1934610


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4781

อัพเดทล่าสุด