ว่าด้วยเรื่อง..ของเพลงไทย (ภาค 1)


768 ผู้ชม


ลักษณะและประเภทของเพลงไทย..   

       ว่าด้วยเรื่อง..ของเพลงไทย (ภาค 1)   ว่าด้วยเรื่อง..ของเพลงไทย (ภาค 1)  ว่าด้วยเรื่อง..ของเพลงไทย (ภาค 1)

            เว็บไซต์แท็ปลอยด์ดังได้เปิดเผยภาพชุดสุดท้ายของ ไมเคิล ราชาเพลงบ็อป ที่ถูกถ่ายไว้ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตเพียง 2 วันระหว่างการซ้อม ร้องเพลง และเต้นเพื่อเตรียมแสดงคอนเสิร์ตในลอสแองเจลิส สหรัฐ ในภาพจะเห็นได้ว่าไมเคิลดูซูบลงเล็กน้อย แต่ยังสามารถวาดลีลาบนเวทีได้สมกับฉายาที่เขาได้รับ และยังแสดงให้เห็นว่าเขาทุ่มเทพลังที่มีเพื่อฝึกซ้อมอย่างเต็มที่   ที่มาภาพและเนื้อหา
 
            การจากไปของราชาเพลงบ๊อป นอกจากจะเป็นการปลุกกระแสเพลงบ๊อปแล้ว  ยังทำให้เราได้กลับมาให้ความสนใจในเพลงไทยของเราด้วยว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร  
 

สาระที่  2  :   ดนตรี
           มาตรฐาน ศ 2.1 :
  เข้าใจ  และแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์ คุณค่าถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ  ชื่นชม และประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน
           มาตรฐาน ศ 2.2 :  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า ของดนตรีที่เป็นมารดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมปัญญาไทยและสากล

สาระการเรียนรู้ เพลงไทย   

                                         ว่าด้วยเรื่อง..ของเพลงไทย (ภาค 1)
                                                                  ที่มาภาพ

          เพลงไทย  หมายถึง เพลงที่แต่งขึ้นตามหลักของดนตรีไทย มีลีลาในการขับร้องและบรรเลงแบบไทยโดยเฉพาะและแตกต่างจากเพลงของชาติอื่น ๆ  เพลงไทยแต่เดิมมักจะมีประโยคสั้นๆ และมีจังหวะค่อนข้างเร็ว ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเพลงพื้นบ้าน หรือเพลงสำหรับประกอบการรำเต้นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง ต่อมา เมื่อต้องการจะใช้เป็นเพลงสำหรับร้องขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ก็จำเป็นต้องประดิษฐ์ทำนองให้มีจังหวะช้ากว่าเดิม และมีประโยคยาวกว่าเดิม ให้เหมาะสมที่จะร้องได้ไพเราะ  จึงได้คิดแต่งทำนองขยายส่วนขึ้นจากของเดิมเป็นทวีคูณ เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสองชั้น เพราะต้องแต่งขยายจากเพลงเดิมอีก  ชั้นหนึ่ง และเรียกเพลงในอัตราเดิมนั้นว่า เพลงชั้นเดียว
          เพลงไทยในสมัยอยุธยา เป็นเพลงสองชั้นและชั้นเดียวเกือบทั้งสิ้น เพราะต้องใช้ร้องสำหรับขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสมัยนั้น  และในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่นิยมเล่นสักวากันมาก  ผู้เล่นสักวาจะต้องแต่งกลอนเป็นกลอนสด ด้วยปฏิภาณ
          
ในปัจจุบัน ถ้าจะร้องอย่างเพลงสองชั้น  เหมือนกับการร้องประกอบการแสดงละคร จะทำให้ผู้แต่งมีเวลาคิดกลอนน้อยลง อาจแต่งไม่ทันหรืออาจไม่ไพเราะเท่าที่ควร จึงคิดแต่งทำนองเพลงร้อง ขยายจากทำนองเพลงสองชั้นขึ้นไปอีกเท่าตัว สำหรับใช้ในการร้องสักวา เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสามชั้น  ดังนั้น เพลงในอัตราสามชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงสองชั้น และเพลงสองชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงชั้นเดียว  การบรรเลงจะเลือกบรรเลงเพลงอัตราหนึ่งอัตราใดเพียงอย่างเดียวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสม ถ้าบรรเลงติดต่อกันทั้ง ๓ อัตรา เรียกว่า เพลงเถา

ประเภทของเพลงไทย  แบ่งออกได้ดังนี้

          ๑. เพลงสำหรับบรรเลงดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการขับร้อง  เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประโคมพิธีต่างๆ เพลงโหมโรง และ เพลงหน้าพาทย์ จะเป็นเพลงสำหรับใช้ประกอบกิริยาอาการและแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ของการรำ 
          ๒. เพลงสำหรับขับร้อง  คือ เพลงซึ่งร้องแล้วรับด้วยการบรรเลง เรียกว่า ร้องส่งดนตรี เช่น เพลงประกอบการขับเสภา (ร้องส่งเสภา) เพลงที่ร้องส่งเพื่อฟังไพเราะทั่วไป ส่วนมากจะเป็นเพลงเถาและเพลงตับ 
          ๓. เพลงประกอบการรำ  คือ  เพลงร้องตามบทร้อง ให้ผู้รำได้รำตามบทหรือเนื้อร้อง ส่วนมาก จะเป็นเพลงสองชั้น เพื่อให้เหมาะกับการรำไม่ช้าไปไม่เร็วไป นอกจากนั้น ก็ยังใช้เพลงหน้าพาทย์  ประกอบการแสดงกิริยาอาการของผู้แสดงอีกด้วย

        เพลงไทยที่ใช้ขับร้องและบรรเลงในปัจจุบันนี้ มีทั้งเพลงเก่าสมัยโบราณ  และเพลงที่ดัดแปลงจากของเก่า  หรือจะเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ซึ่งเราสามารถแยกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะและวิธีใช้ได้ เป็นประเภท ได้ดังนี้

       ๑.  เพลงชั้นเดียว
          
เพลงชั้นเดียว หมายถึง เพลงที่มีจังหวะเร็ว หรือเรียกว่าเพลงเร็ว จะสังเกตได้จากเสียงฉิ่ง ปกติแล้ว การตีฉิ่งจะเริ่มด้วยเสียง ฉิ่ง และจบด้วยเสียง ฉับ ตีสลับกันไปจนกว่าจะจบการบรรเลง ถ้าช่วงระหว่างเสียงฉิ่ง และฉับเร็วกระชับติดกันก็แสดงว่าเป็นเพลงชั้นเดียว หรือสังเกตได้จากทำนองร้อง เพลงชั้นเดียวจะร้องเอื้อนน้อย หรือไม่มีการร้องเอื้อนเลยก็ได้     เพลงชั้นเดียว ใช้ขับร้องและบรรเลงประกอบการแสดงมหรสพต่าง  ๆ เช่น

เพลงนาคราช 
บทร้อง  ยง อิงคเวทย์ 
                   ถ้าแม้นลูกปลูกฝ้ายไว้ต้นเดียว       อยู่โดดเดี่ยวพอถูกลมก็ล้มได้ 
ถึงจะปลูกสักร้อยยังน้อยไป        พายุใหญ่พัดมาก็น่ากลัว 
   ควรปลูกให้มากต้นจนเต็มไว้          จึงจะได้ช่วยแบ่งแรงกันทั่ว 
           พายุใหญ่พัดไกวจนไหวตัว                ก็ไม่กลัวว่าจะล้มเพราะลมเอย 
 
เพลงหนีเสือ 
บทร้อง  มนตรี ตราโมท 
                     จะหนีตัวไข้ป่วยด้วยย้ายบ้าน         ไม่เป็นการหนีรอดปลอดไปได้ 
  เพราะโรคร้ายย้ายติดชิดตัวไป        อยู่ที่ไหนโรคนั้นก็พลันมี 
    ถ้าหนีด้วยรักษาอนามัย        มันอยู่ในความสะดวกอย่างถ้วนถี่ 
ให้บ้านเรือนร่างกายสดใสดี         ก็จะหนีโรคภัยได้พ้นเอย


          ๒. เพลงสองชั้น
         
เพลงสองชั้น หมายถึง เพลงที่มีจังหวะปานกลาง ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ส่วนใหญ่เป็นเพลงสั้นๆ ที่ร้องและจำทำนองง่าย มีความยาวกว่าเพลงชั้นเดียวหนึ่งเท่าตัว  หรือสังเกตจากเสียงฉิ่ง ช่วงระหว่างเสียงฉิ่งและฉับห่างกันปานกลาง มีทำนองร้อง การร้องเอื้อนไม่มากไม่น้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะของเพลง
        เพลงสองชั้น ใช้ขับร้องและบรรเลงเพื่อเป็นการขับกล่อม และประกอบการแสดงมหรสพต่าง ๆ เช่น

                                                            เพลง  นางนาค 
                                                        บทร้อง  มนตรี ตราโมท 
                                         ศุภฤกษ์เบิกดิถีขึ้นปีใหม่          เราเด็กไทยปรีดิ์เปรมเกษมศรี 
                                 สิบนิ้วยกวันทาต่างมาลี                   ดวงชีวีต่างธูปเทียนเวียนบูชา 
                                 กราบพระละบาปกราบบิดา              กราบมารดาที่พร่ำสอนป้อนภักษา 
                                 กราบคุณครูผู้ประสาทวิทยา            เทพเทวาจงพิทักษ์รักษาชนม์ 
 
                                                          เพลง  สร้อยเพลง 
                                   บทร้อง  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
                                           ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง           คงจะต้องบังคับขับใส 
                                   เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป                   ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย 
                                   เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ                  จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย 
                                  ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย      ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา


          ๓. เพลงสามชั้น
           
เพลงสามชั้น หมายถึง เพลงที่มีจังหวะช้า ต้องใช้เวลาบรรเลงและขับร้องนานกว่าเพลงในอัตราอื่นๆถ้าจะสังเกตเสียงฉิ่ง ช่วงระหว่างเสียงฉิ่งและฉาบห่างกันมาก ทำนองร้องจะมีการร้องเอื้อนยาว ๆ  เพลงสามชั้น ใช้ขับร้องและบรรเลงในโอกาสทั่วไป เช่น
                                                                    เพลงนกขมิ้น 
                                                                    บทร้อง  ของเก่า 
                                                  เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อน          ค่ำลงแล้วเจ้าจะนอนที่รังไหน 
                                         นอนไหนก็นอนได้                        สุมทุมพุ่มไม้ที่เคยนอน 
                                         ลมพัดมาอ่อนอ่อน                        เจ้าก็ร่อนไปตามลมเอย 
                                         ดอกเอ๋ย                                      ดอกขจร 
                                         นกขมิ้นเหลืองอ่อน                       ค่ำแล้วจะนอนไหนเอย 
 
                                                                 เพลงกล่อมพระบรรทม 
                                                บทร้อง  จากเรื่อง สุริยคุปต์ ของหลวงวิจิตรวาทการ 
                                                    นอนเสียเถิดน้องรักจะกล่อมให้          เจ้างามจริงหญิงใดหาไม่สม 
                                             จะถนอมมิให้น้องต้องแดดลม                    จะชื่นชมรักน้องไม่จืดจาง 
                                             โอ้ละเห่โอ้ละช้าน้องแก้ว                          หลับแล้วหรือพี่จะนอนบ้าง 
                                             ลมพัดกลิ่นบุปผามาตามทาง                      ขอเชิญน้องหลับสนิทเอย

ว่าด้วยเรื่อง..ของเพลงไทย (ภาค 1)
ที่มาภาพ 

                 ๔. เพลงเถา 
              
เพลงเถา หมายถึง   เพลงขนาดยาวที่มีเพลง ๓ ชนิดติดต่ออยู่ในเพลงเดียวกัน โดยการบรรเลงเพลงสามชั้นก่อน แล้วเป็นเพลงสองชั้น ลงมาจนถึงเพลงชั้นเดียว เรียกว่า เพลงเถา  ตัวอย่าง เพลงเขมรพวงเถา เดิมเป็นเพลงสองชั้น ต่อมา หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้คิดแต่งขึ้นเป็นสามชั้น ดำเนินทำนองเป็นคู่กันกับเพลงเขมรเลียบพระนคร เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วหมื่นประคมเพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน) ได้ตัดลงเป็นชั้นเดียว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และมีทำนองชั้นเดียวโดย นายเหมือน ดุริยะประกิต เป็นผู้แต่ง     เพลงเถานิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปของเพลงรับร้อง คือเมื่อร้องจบท่อน  ดนตรีก็บรรเลงรับ  ไม่นิยมนำเพลงเถามาร้องให้ดนตรีบรรเลงคลอ หรือบรรเลงลำลองแต่อย่างใด  ตัวอย่างเพลงเถา ได้แก่

เนื้อเพลง เขมรพวง เถา
(ขุนช้าง ขุนแผน)

สามชั้น    นิจจาพิมเจ้าไม่รู้ว่าพี่รัก    ไม่ชังนักดอกหานึกเช่นนั้นไม่ 
 รักเจ้าเท่าเทียบเปรียบดวงใจ       กอดประคองน้องไว้ไม่วายวาง 
สองชั้น    แว่วดุเหว่าเร่าร้องเมื่อจวนรุ่ง       ใจสะดุ้งเอ๊ะเกือบจะสางสาง 
 ขยับเลื่อนลุกเปิดหน้าต่างพลาง          เห็นเรื่อยรางสว่างหล้าดาราราย 
ชั้นเดียว    อับศรีสุริยาจะรีบลด             ยิ่งระทดจะจากไปให้ใจหาย 
 โศกซ้ำน้ำตาลงพร่างพราย            เสียดายดังใครล้วงเอาดวงใจ

ที่มาข้อมูล )

คำถามสานต่อความคิด
       -  เพลงไทย มีลักษณะอย่างไร
       -  เพลงไทยมีเอกลักษณ์ที่สำคัญคืออะไร
       -  เมื่อได้รับฟัง การบรรเลงเพลงไทยเดิมในงานต่าง ๆ เกิดความรู้สึกอย่างไรบ้าง
       -  แนวทาง หรือ วิธีการใดที่จะทำให้เพลงไทย ได้รับการธำรงไว้ซึ่งคุณค่าต่อไป
      -   การแบ่งประเภทของเพลงไทยเป็นอย่างไร

เชื่อมโยงในองค์ความรู้
          ภาษาไทย             การอ่าน   การเขียนเนื้อร้องเพลงไทย
          สังคมฯ                  ศึกษาความเป็นมาของ ประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม
                                    

เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
          -  การเรียนรู้แบบโครงงาน ศึกษาเพลงไทยในโอกาสต่าง ๆ
         -  ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดจินตนาการ เมื่อได้รับฟังเพลงเดิมในโอกาสต่าง ๆ
                       

อ้างอิงข้อมูล
https://music.sanook.com 
https://art4kidbya_ak.com 
www.3.pantown.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1117

อัพเดทล่าสุด