ตัวชี้วัดตามหลักสูตร>>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๕


468 ผู้ชม


การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑   

ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๕

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

          การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ  ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการตัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด

          เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ. ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัด ที่ ๒. บอกสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดงนาฏศิลป์

ผู้เรียนรู้อะไร

          สิ่งที่ชอบในการแสดงนาฏศิลป์

ผู้เรียนทำอะไรได้

          บอกสิ่งที่ตนเองชื่นชอบในการแสดงนาฏศิลป์

 ทักษะการคิด

          ทักษะการเปรียบเทียบ

ชิ้นงาน / ภาระงาน

          ๑. บอกสิ่งที่ตนเองชื่นชอบในการแสดงนาฏศิลป์
          ๒. แยกประเภทนาฏศิลป์ที่ตนเองชอบและไม่ชอบ

แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด

          ๑. ระบุความแตกต่างให้นักเรียนดู วีซีดี การแสดงนาฏศิลป์หลายๆ ชุดร่วมกันอภิปรายความแตกต่าง
          ๒. แยกสิ่งที่มีลักษณะแตกต่างออกจากกัน โดยครูนำภาพการแสดงนาฏศิลป์หลาย ๆ ชุด มาวางเรียงให้นักเรียนแยกตามความชอบ
          ๓. อธิบายแสดงความคิดเห็นของสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดงนาฏศิลป์พร้อมบอกเหตุผล


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

 ความคิดรวบยอด

          นาฏศิลป์ไทยมีหลายประเภทมีความอ่อนช้อย นุ่มนวล ทำให้เกิดความประทับใจที่แตกต่างกัน

สาระการเรียนรู้

          การแสดงนาฏศิลป์

 แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

          ๑. ระบุความแตกต่างให้นักเรียนดู วีซีดี การแสดงนาฏศิลป์หลายๆ ชุดร่วมกันอภิปรายความแตกต่าง
          ๒. แยกสิ่งที่มีลักษณะแตกต่างออกจากกัน โดยครูนำภาพการแสดงนาฏศิลป์หลาย ๆ ชุด มาวางเรียงให้นักเรียนแยกตามความชอบ
          ๓. อธิบายแสดงความคิดเห็นของสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดงนาฏศิลป์พร้อมบอกเหตุผล

ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา

         

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง พื้นฐานด้านนาฏศิลป์                                                              เวลา  .....  ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ.............          ...................................ผู้สอน
........................................................................................................................................................
....

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ. ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัด ที่ ๒. บอกสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดงนาฏศิลป์

ความคิดรวบยอด

          นาฏศิลป์ไทยมีหลายประเภทมีความอ่อนช้อย นุ่มนวล ทำให้เกิดความประทับใจที่แตกต่างกัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

          นักเรียนบอกสิ่งที่ตนเองชื่นชอบในการแสดงนาฏศิลป์ได้

สาระการเรียนรู้

          การแสดงนาฏศิลป์

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)

          ๑. ระบุความแตกต่างให้นักเรียนดู วีซีดี การแสดงนาฏศิลป์หลายๆ ชุดร่วมกันอภิปรายความแตกต่าง
          ๒. แยกสิ่งที่มีลักษณะแตกต่างออกจากกัน โดยครูนำภาพการแสดงนาฏศิลป์หลาย ๆ ชุด มาวางเรียงให้นักเรียนแยกตามความชอบ
          ๓. อธิบายแสดงความคิดเห็นของสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดงนาฏศิลป์พร้อมบอกเหตุผล

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

          ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          ๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
          
๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
          
๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สื่อการจัดการเรียนรู้

           วีซีดี การแสดงนาฏศิลป์

  การวัดและประเมินผล

          ๑. การสังเกต
          
   - การแสดงออกของนักเรียน
             - การร่วมกิจกรรม

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3613

อัพเดทล่าสุด