สะเดาพืชสารพัดประโยชน์


625 ผู้ชม


สะเดาเป็นพืชทีมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสรรพคุณทางยา เป็นอาหาร เป็นพืชไล่แมลง และยังเชื่อว่าสะเดาป้องกันภูตผีปีศาจได้ด้วย   

ต้นสะเดาเก่าแก่หักโค่น ทับเจดีย์ในอยุธยา

        ฝนตกที่ตกลงมาอย่างหนัก และลมกระโชกแรง ในช่วงเย็นที่ผ่านมา ส่งผลให้ต้นสะเดาอายุ 70 ปี หักโค่นลงทับเจดีย์ และทับหลังคา ที่คลุมพระพุทธรูปหลวงพ่อขาว 12 องค์ ภายในวัดราชประดิษฐาน ถนนอู่ทอง ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา จนได้รับความเสียหาย แต่ต้นสะเดามิได้เป็นโทษต่คนเราในยามฝนตกเท่านั้ สะเดายังมีประโยชน์ต่อมนุษย์อีกมากมาย ลองมาติดตามดู
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการปลูกพืชมสมุนไพร ช่วงชั้นที่ 3

สะเดาพืชสารพัดประโยชน์
ที่มาภาพ


สะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica Juss. Var. siamensis Valeton

 ชื่อวงศ์ MELIACEAE

ชื่อสามัญ Neem Tree

ชื่อท้องถิ่น

ภาคเหนือ เรียก สะเลียม 
ภาคอีสาน เรียก กะเดา, กาเดา 
ส่วย เรียก จะตัง 
ภาคใต้ เรียก กะเดา, ไม้เดา, เดา 
ลักษณะทั่วไป สะเดาเป็นยืนต้นขนาดกลาง สูง 12–15 เมตร ขึ้นได้ในป่า หรือปลูกไว้ตามบ้าน ทุกส่วนมีรสขม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็กๆ ตามต้น แต่เปลือกของกิ่งอ่อนเรียบ ใบ เป็นช่อแบบขนนก ใบย่อยรูปหอก ขอบใบหยัก ใบออกเวียนกัน ตอนปลายกิ่งจะผลิใบใหม่พร้อมกับผลิดอกในฤดูหนาว ดอก เป็นช่อสีขาว ผล กลมรี อวบน้ำ ผลแก่สีเหลือง ภายในผลมี 1 เมล็ด

การปลูก สะเดาเป็นไม้ดั้งเดิมของเขตเอเชียอาคเนย์ พบทั่วไปในประเทศพม่า อินเดีย สะเดาพบในป่าเบญจพรรณและป่าแดง มัก ขึ้นปะปนกับไม้ใหญ่ สะเดาเป็นพันธุ์ไม่ปลูกง่าย โตเร็ง และเป็นพันธุ์บุกเบิกในที่แห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา
         
ใบอ่อน รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย และพุพอง 
         ใบแก่ รสขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร และฆ่าแมลงศัตรูพืช 
         ก้าน รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี และแก้ร้อนในกระหายน้ำ 
         ดอก รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้ริดสีดวง คันในลำคอ และบำรุงธาตุ 
         ลูก รสขมเย็น บำรุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ และฆ่าแมลงศัตรูพืช 
คุณค่าทางโภชนาการ ทุกส่วนของสะเดามีรสขม นำยอดอ่อนและดอกสะเดาลวกน้ำร้อน 2-3 ครั้ง เพื่อให้หายขม รับประทานเป็นอาหารได้

 

สะเดาพืชสารพัดประโยชน์
ที่มาภาพ


สารประกอบทางเคมีของสะเดา   
         สารอินทรีย์ที่สกัดได้ จากเมล็ดสะเดามีอยู่ประมาณ 35 สาร สารอะซาดิแรดติน (Azadirachtin) ที่สักดได้จากเมล็ดสะเดาเป็นสารที่นักกีฎวิทยาให้ความสนใจที่จะนำไปใช้ทดลองป้องกันกำจัดศัตรูพืช  สารอะซาดิแรคติน   ออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลงได้หลายรูปแบบ คือเป็นสารฆ่าแมลง สารไล่แมลง ทำให้แมลงไม่ชอบกิน อาหาร ทำให้การเจริญเติบโตของแมลงผิดปกติ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง มีผลทำให้หนอนไม่สามารถ ลอกคราบเจริญเติบโตต่อไป หนอนจะตายในระยะลอกคราบ เพราะสารออกฤทธิ์มีผลต่อการสร้างฮอร์โมน ซึ่งทำให้การผลิตไข่และปริมาณการฟักไข่จะลดน้อยลง แต่สารอะซาดิแรดตินจะมีอันตรายน้อยต่อมนุษย์และสัตว์ ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม  
          ส่วนของสารสะเดาที่นำมาสกัด เมล็ดของสะเดาเป็นส่วนที่เหมาะในการนำมาสกัดเนื่องจากพบสารอะซาดิแรดติน มากกว่าส่วนอื่น ๆ เช่น ส่วนของใบ เมล็ดสะเดาควรเป็นเมล็ดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและควรเป็นผลที่ยังติดอยู่กับต้น ไม่ควรนำเมล็ดที่หล่นจากต้นและมีเชื้อราเข้าทำลายมาสกัด เพราะจะทำให้ได้สารอะซาดิแรดตินต่ำ  
คติความเชื่อ 
         
คนโบราณนิยมปลูกต้นสะเดาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี) เชื่อกันว่าจะป้องกันโรคร้ายต่างๆ ได้ ในบางทอ้งถิ่นเชื่อกันว่าใบและกิ่งของต้นสะเดาจะป้องกันภูตผีปีศาจได้

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
 1. ทำไมจึงต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
 2. การใช้สะเดากำจัดศัตรูพืช มีประโยชน์ต่มาษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
 ให้นักเรียนศึกษาสำรวจพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาและอาหารในท้องถิ่นของนักเรียน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
          สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องการใช้สารอินทรีย์กำจัดศัตรูพืช
ที่มาของข้อมูล
https://www.panmai.com/Direction/Tree_SW_4.shtml   
https://www.doae.go.th/LIBRARY/html/detail/Sadao2/Main-Sadao.htm 
https://scratchpad.wikia.com/wiki/

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1182

อัพเดทล่าสุด