มะนาว พืชดีที่น่าปลูก การปลูกมะนาวกินเองจะทำให้ได้ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ โดยไม่จำเป็นต้องหาชื้อพันธุ์มะนาวที่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
พันธุ์มะนาว ปลูกอย่างไรก็เปรี้ยว
มะนาว ถือได้ว่าเป็นอาหารประจำครัวเรือน เป็นอาหารที่ช่วยปรุงรส ทำให้อาหารนั้นน่ารับประทาน ยิ่งปัจจุบันมะนาวมีราคาแพง ทำให้เกษตรกร หันมานิยมปลูกมะนาว ซึ่งมีพันธุ์มะนาว ที่นิยมปลูกได้แก่ มะนาวแป้นพิจิตร มะนาวแป้นจริยา มะนาวแม่ไก่ไข่ดก และ มะนาวน้ำหอมทูลเกล้าไม่มีเมล็ด ทั้ง 4 สายพันธุ์เป็นมะนาวที่ได้รับความนิยมปลูกมาก บางพันธุ์มีผลทะวายหรือตลอดปี ให้น้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัด ติดผลดก โดยเฉพาะมะนาวแป้นพิจิตร เป็นพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่นักวิชาการเกษตรบำรุงพันธุ์ให้ทนทานต่อโรคแมลงทุกชนิด และยังสามารถติดผลดกในช่วงฤดูแล้งที่ผลมะนาวมีราคาแพงด้วย เกษตรกรในปัจจุบันจึงนิยมปลูกมะนาวสายพันธุ์ แป้นพิจิตรอย่างแพร่หลาย
ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 13 พฤษภาคม 2553
บทนำ/เกริ่นนำ
มะนาวพืชดีที่น่าปลูก การปลูกมะนาวกินเองจะทำให้ได้ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ โดยไม่จำเป็นจะต้องหาซื้อพันธ์มะนาวที่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐานการเรียนรู้ ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย มี 2 ประเภท คือ เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเอง เป็นการเกษตรแบบพื้นบ้าน ผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน มีผลผลิตส่วนเกินนำไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น แต่ไม่ได้มีการรับรองมาตรฐาน ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจว่าปลอดภัยเชื่อถือได้ ส่วน เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐาน เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายผ่านระบบตลาด ต้องมีการขอรับรองมาตรฐาน มีตรารับรอง
รูปที่ 1 สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์
ที่มา https://thaigreenshop.net/standard.php
จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ต้องมีลักษณะดังนี้
1.ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและศัตรูพืช
2.ให้ใช้สมุนไพร เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ในการกำจัดศัตรูพืช
3.ไม่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์เร่งการเจริญเติบโต
4.ไม่ใช้เครื่องมือทางการเกษตรปะปนกัน
5.มีการบันทึกแหล่งที่มาของปัจจัยการผลิต
6. พืชในแปลงเคมีต้องเป็นพืชคนละชนิดหรือคนละรุ่นกับแปลงเกษตรอินทรีย์
7. แปลงเกษตรอินทรีย์ต้องแยกออกจากแปลงเกษตรเคมีอย่างชัดเจน
8. ถ้าแปลงข้างเคียงฉีดพ่นสารเคมี แปลงเกษตรอินทรีย์ต้องปลูกพืชเป็นแนวกันลมซึ่งสูงกว่าพืชเคมี
9. กรณีที่มีการปนเปื้อนทางน้ำ ต้องทำแนวกันชื้น คือ คูดินระบายน้ำหรือแนวไม้พุ่มเพื่อกรองสารเคมี
10. ห้ามเปิดป่าสาธารณะทำเกษตรอินทรีย์
11. พืชล้มลุกที่มีระยะปรับเปลี่ยนขั้นต่ำ 12 เดือน
12. พืชยืนต้นที่มีระยะปรับเปลี่ยนขั้นต่ำ 8 เดือน
13. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ
14. ควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์
15. ไม่นำเมล็ดพันธุ์มาคลุกสารกำจัดศัตรูพืชก่อนปลูก
16. ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างผสมผสานระหว่างปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
17. ไม่ใช้อุจจาระคนมาทำปุ๋ย
18. ให้ใช้มูลไก่จากฟาร์มที่ขังไก่ในกรงตับมาทำเป็นปุ๋ย
19. ห้ามใช้ปุ๋ยหมักจากขยะเทศบาล
20. ห้ามเผาฟางหรือตอซัง
21. เกษตรกรต้องมีมาตรการป้องกันปัญหาดินเค็มและการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
22. ห้ามใช้ถุงปุ๋ยเคมีมาใส่พืชผลเกษตรอินทรีย์
23. ห้ามใช้สารเคมีฉีดพ่นในโรงเก็บผลผลิต
24. ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี
คำถามอภิปรายในชั้นเรียน
1. จะรู้ได้อย่างไร ว่าผลผลิตที่เรารับประทานปลอดสารพิษ
2. ราคาผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีราคาแพง ในฐานผู้บริโภคจะทำอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ สืบค้นข้อมูลเกษตรอินทรีย์จากอินเทอร์เน็ต
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย - การอ่าน
ศิลปะ - วาดภาพตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์
อ้างอิง
สำนักพิมพ์ประสานมิตร. (2548). เกษตรอินทรีย์ทางเลือกใหม่ของเกษตรกร (ฉบับการ์ตูน) กรุงเทพมหานคร: ประสานมิตร.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2501