โรคเกาต์


637 ผู้ชม


เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ที่มีอาการปวดข้อเรื้อรัง พบได้ไม่น้อย พบในผู้ชายมากกว่า ผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนมากจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงพบได้น้อย ถ้าพบมักจะเป็นหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นโรคที่มีทาง รักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา   

โรคเกาต์

เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ที่มีอาการปวดข้อเรื้อรัง พบได้ไม่น้อย พบในผู้ชายมากกว่า ผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนมากจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงพบได้น้อย ถ้าพบมักจะเป็นหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นโรคที่มีทาง รักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

อาการ 
มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง ร้อนและแดง จากนั้นผิวหนังในบริเวณที่ปวดจะลอกและคัน มักมีอาการปวดตอนกลางคืน และมักจะเป็นหลังดื่มเหล้าหรือเบียร์ (ทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง) ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ในระยะแรก ๆ อาจกำเริบทุก 1-2 ปี โดยเป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทุก 4-6 เดือน แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน จนกระทั่งทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้งและระยะการปวดจะนานวันขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน จนกระทั่งหลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ (เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือนิ้วเท้า) จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ ในระยะหลัง เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ ผู้ป่วยมักสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่นข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หูเรียกว่า ตุ่มโทฟัส (tophus/tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสารยูริก ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งแตกออกมีสารขาว ๆ คล้ายช็อล์ก หรือยาสีฟันไหลออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า ในที่สุดข้อต่าง ๆ จะค่อย ๆ พิการและใช้งานไม่ได้

สาเหตุ 
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีกรดยูริกคั่งอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตาม ข้อ ผิวหนัง ไตและอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีสาเหตุจากร่างกายมีการสลายตัวของเซลล์มากเกินไป เช่น โรคทาลัสซีเมีย, มะเร็งในเม็ดเลือดขาว , การใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี เป็นต้น หรือ อาจเกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลงเช่น ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ , ผลจากการใช้ยาไทอาไซด์ เป็นต้น

คำแนะนำ 
1. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ช่วยป้องกันการสะสมผลึกกรดยูริกซึ่งอาจทำให้เกิดนิ่วในไต
2. ควรกินผัก ผลไม้มากขึ้น เช่น ส้ม กล้วย องุ่น ซึ่งจะช่วยให้ปัสสาวะมีภาวะเป็นด่าง และกรดยูริกถูกขับออกมากขึ้น
3. ควรทานผักใบเขียวที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อทดแทนธาตุเหล็กที่ขาดเนื่องจากการงดทานเนื้อสัตว์
4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5. งดอาหารที่มีสารพิวรินสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ น้ำซุปเนื้อสัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลาซาร์ดีน กะปิ ซึ่งจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น
6. ควรจำกัดอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ ควรงดเครื่องดื่มพวกโกโก ช็อคโกแลต ควรทานนมพร่องมันเนย
7. ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการรักษาโรคนี้ เช่น แอสไพริน หรือยาขับปัสสาวะ ไทอาไซด์ อาจทำให้ร่างกายขับกรดยูริกได้น้อยลง ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะใช้ยา 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1002

อัพเดทล่าสุด