ทักษะตะกร้อตอนที่ 5


2,642 ผู้ชม


การรุกบริเวณหน้าตาข่ายหรือที่นิยมเรียกกันว่า การทำ จุดมุ่งหมายของการรุก เพื่อให้ ลูกตะกร้อตกลงในสนามฝ่ายตรงข้าม หรือไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถรับหรือเล่นลูกตะกร้อได้อีก ในการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อมีวิธีการรุกบริเวณหน้าตาข่ายด้วยกันหลายวิธี   

ทีมชาติไทยชนะเลิศการแข่งขันตะกร้อ คิงส์คัพ ครั้งที่ 25 ที่เชียงใหม่ 
        ปิดฉากการแข่งขันตะกร้อชิงถ้วยพระราชทาน คิงส์คัพ ครั้งที่ 25 ที่เชียงใหม่ ทีมไทยชนะเลิศได้ครองถ้วยพระราชทานตามคาด ในขณะที่เกาหลีใต้เบียดมาเลเซียคว้าอันดับ 2 ไปครอง 
       นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันและมอบถ้วยรางวัลพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแข่งขันตะกร้อชิงแชมป์โลก คิงส์คัพ ครั้งที่ 25 ที่โรงพลศึกษา สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทำการแข่งขันระหว่าง 27 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2553 มีประเทศต่างๆ ส่งทีมตะกร้อทั้งชายและหญิงเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 23 ประเทศ แบ่งการแข่งขันออกเป็นประเภททีมชุด ทีมเดี่ยว ตะกร้อคู่ และตะกร้อลอดห่วงสากล โดยแยกทีมชาย-หญิง ทั้ง 4 ประเภท รวม 8 ประเภท ทีมที่ชนะเลิศประเภททีมชุด จะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปครองเป็นเวลา 1 ปี 
       สำหรับผลการแข่งขันเป็นไปตามคาด ทีมชาติไทยสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน คิงส์คัพ ประจำปี 2553 โดยในรอบชิงชนะเลิศสามารถเอาชนะทีมชาติเกาหลีใต้ 2 – 0 ทีม ทำให้ทีมชาติเกาหลีใต้ได้ครองอันดับที่ 2 หรือรองชนะเลิศ ส่วนอันดับที่ 3 ไม่มีการชิง เป็นการครองร่วมกันระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ทีมเกาหลีใต้ถือว่าเป็นทีมที่สร้างความประหลาดใจไม่น้อย ที่สามารถชนะทีมมาเลเซียในรอบรองชนะเลิศและเข้าชิงชนะเลิศกับทีมชาติไทยได้

       ที่มา:สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : https://thainews.prd.go.th

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4  ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
สาระที่ 3 :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ 3.2 : รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง

1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการเล่นลูกเหยียบได้
2.สามารถอธิบายความสำคัญของการเล่นลูกเหยียบได้

        การเหยียบเป็นวิธีรุกหรือการทำบริเวณหน้าตาข่าย   ในการเล่นเซปักตะกร้อวิธีหนึ่งเป็นทักษะพื้นฐานอีกอย่างหนึ่ง  ของผู้เล่นตำแหน่งหน้าหรือผู้เล่นที่ทำหน้าที่ในการรุกหรือทำบริเวณหน้าตาข่าย      ต้องสามารถเล่นลูกเหยียบได้เป็นอย่างดี     การเล่นลูกเหยียบจะเล่นได้ดีและมีประสิทธิภาพ  ลูกตะกร้อต้องอยู่ใกล้กับตาข่ายและไม่สูงเหนือตาข่ายมากเกินไป  การเล่น   ลูกเหยียบมีหลายลักษณะ  เช่น  ยืนเหยียบ  กระโดดเหยียบ  กระโดดสลับเหยียบ  เป็นต้น  ในอดีต  ผู้เล่นที่สามารถเล่นลูกเหยียบได้ดีที่สุด  คือ  นายวิรัช  ณ  หนองคาย  อดีตนักกีฬาเซปักตะกร้อ    ทีมชาติไทย    ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติสิงคโปร์   (ชุดเตรียมแข่งขันกีฬาซีเกมส์  ครั้งที่  21  ณ  ประเทศมาเลเชีย)    ขอแนะนำวิธีการรุกหรือทำด้วยการเหยียบ    ดังนี้

            1 ยืนด้วยเท้าไม่ถนัดวางอยู่ข้างหน้า ปลายเท้าชี้เข้าหาตาข่าย        เท้าถนัดหรือเท้าที่จะใช้เหยียบลูกตะกร้ออยู่ด้านหลัง   หันหน้าเข้าหาตาข่าย สายตามองที่ลูกตะกร้อที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามา    หรือต้องเคลื่อนที่เข้าไปหาลูกตะกร้อในจังหวะที่ลูกตะกร้อมาไม่ถึง  
            2 เมื่อลูกตะกร้อเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ระยะของการเหยียบการ ให้ ยกเท้าที่ไม่ถนัดหรือเท้าที่ใช้เหยียบลูกตะกร้อยกเหนือลูกตะกร้อ แล้วใช้ฝ่าเท้ากดลูกตะกร้อลง  หรือถ้าหากลูกตะกร้อเคลื่อนที่เข้ามาไม่ได้ระยะของการเหยียบ   ให้เคลื่อนที่เข้าหาลูกตะกร้อ โดยการก้าวเท้าถนัด  1 ก้าว   ก้าวเท้าไม่ถนัดตาม  1  ก้าว  และให้ยกเท้าถนัดหรือเท้าที่ใช้เหยียบ  ลูกตะกร้อยกเหนือลูกตะกร้อ แล้วใช้ฝ่าเท้ากดลูกตะกร้อลง 
            3  เมื่อใช้ฝ่าเท้ากดลูกตะกร้อลงแล้ว    เท้าที่ใช้เหยียบลูกตะกร้อ ผ่อนแรงลงและวางเท้าอยู่ด้านหน้าเท้าไม่ถนัด    เพื่อช่วยในการทรงตัว

ทักษะตะกร้อตอนที่ 5

ทักษะตะกร้อตอนที่ 5

ทักษะตะกร้อตอนที่ 5

ทักษะตะกร้อตอนที่ 5

ประเด็นคำถาม

1. ทักษะการเล่นลูกเหยียบเป็นอย่างไร
2. การเล่นลูกเหยียบมีความสำคัญอย่างไร

กิจกรรมเสนอเสนอแนะ 
1.ก่อนการเล่นตะกร้อควร Warm  Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down 
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันตะกร้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการตะกร้อ

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การเล่นลูกเหยียบ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเล่นลูกเหยียบ

แหล่งที่มาของข้อมูล
1.ที่มา:  https://www.prdnorth.in.th
2.ที่มา: นักเรียนโรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง


 

 <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/JgAF6mcBvyA" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


ที่มา :  https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3057

อัพเดทล่าสุด