https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การช่วยชีวิตสำคัญไฉน MUSLIMTHAIPOST

 

การช่วยชีวิตสำคัญไฉน


860 ผู้ชม


การปฐมพยาบาลเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล   
         สพฉ. ประสานทีมแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ รับมือวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ เผยสถิติหยุดยาวปีใหม่ 53 พบมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 446 คน บาดเจ็บกว่า 27,483 คน ...
           เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 ในช่วง 7 วันอันตรายระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.- 52-4 ม.ค.53 พบว่าทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 446 คน บาดเจ็บกว่า 27,483 คน โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด 10 อันดับ คือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร นครราชสีมา ชลบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี เชียงราย นครศรีธรรมราช ตามลำดับ และจากสถิติพบว่ารถที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รถจักรยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 84.19 และส่วนมากเสียชีวิตจากการไม่สวมหมวกนิรภัย
          น.พ.ชาตรี กล่าวต่อว่า ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และลดความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจึงร่วมรณรงค์ แนะนำให้ผู้ขับขี่จะต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จะต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง เพื่อช่วงลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามทางสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติมีมาตรการเตรียมพร้อมรับมือ ช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว โดยได้สั่งการให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉินเตรียมพร้อมในทุกพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุมาก ทั้งนี้หากเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน 1669 เพื่อประสานขอความช่วยเหลือ.
ที่มา:  https://www.thairath.co.th/
กลุ่ม สาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา (ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5)
สาระที่ 5  ความปลอดภัยในฃีวิต
มาตรฐาน พ 5.1  ป้องกันการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสียง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้สารเสพติด และความรุนแรง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สารมารถอธิบายหลัการผายปอดแบบเป่าลมได้
2. สามารถปฏิบัติการผายปอดแบบกดหลังยกแขนขึ้นได้
           การผายปอดเป็นวิธีการทำให้อากาศเข้าไปในปอดของผู้ป่วย ที่หายใจขัดหรือหยุดหายใจ การผายปอดที่ปฏิบัติกันแพร่หลายและได้ผลดีมี ๒ วิธี คือ
                    ก. การผายปอดแบบกดหลังยกแขน หรือ แบบโฮลเกอร์ - นิลเซ็น (back-pressure-arm-lift method or Holger-Nielsen method)
                    ข. การผายปอดแบบเป่าลมเข้าปากหรือจมูกโดยตรง(mouth-to-mouth or mouth-to-nose method)
การผายปอดแบบกดหลังยกแขน
          วิธีนี้ใช้ได้ดีในกรณีที่ทำการผายปอดแบบเป่าลมเข้าปากโดยตรงไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยกินสารพิษ เช่น ยาพิษ ยาปราบศัตรูพืช หรือผู้ป่วยมีบาดแผลฉกรรจ์บริเวณใบหน้า เป็นต้น
 
วิธีปฏิบัติ
          ๑. ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ งอข้อศอกทั้งสองข้างขึ้นไปวางมือข้างหนึ่งทับบนมืออีกข้าง ให้ศีรษะตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่งและแก้มกดอยู่บนหลังมือ
          ๒. ผู้ช่วยเหลือหันหน้าเข้าหาผู้ป่วย คุกเข่าลงข้างใดข้างหนึ่งที่ตนถนัด ให้หัวเข่าชิดศีรษะและแขนของผู้ป่วย วางเท้าอีกข้างหนึ่งให้ชิดศรีษะอีกด้านหนึ่งของผู้ป่วย วางมือคว่ำลงบนหลังผู้ป่วยบริเวณต่ำกว่ากระดูกสะบักเล็กน้อย ให้หัวแม่มือทั้งสองข้างจดกัน นิ้วที่เหลือกางออกเป็นรูปผีเสื้อ
          ๓. จังหวะ "กดหลัง" เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออก ให้ผู้ช่วยเหลือโน้มตัวไปข้างหน้าแขนทั้งสองเหยียดตรงให้น้ำหนักตัวทิ้งไป ข้างหน้าช้าๆ
          ๔. จังหวะ "ยกแขน" เป็นท่าทำให้ผู้ป่วยหายใจเอาอากาศเข้าโดยผู้ช่วยเหลือเอนตัวกลับสู่ท่า เดิมช้าๆ เลื่อนมือทั้งสองมาจับเหนือศอกของผู้ป่วย แขนผู้ช่วยเหลือเหยียดตรงอยู่ตลอดเวลายกแขนทั้งสองของผู้ป่วยขึ้น และดึงเข้ามาหาตัวผู้ช่วยเหลือ จนรู้สึกว่าตึงเต็มที่ จากนั้นจึงค่อยๆ วางแขนของผู้ป่วยลงบนพื้นเหมือนเดิม เป็นอันครบรอบการผายปอดหนึ่งครั้ง
          ๕. สำหรับผู้ใหญ่ให้ผายปอด ๑๒ ครั้งต่อนาที ส่วนเด็กอาจผายปอดประมาณ ๒๐ ครั้งต่อนาที การโน้มตัวลงของผู้ช่วยเหลือแก่เด็กให้ลดแรงลงตามความเหมาะสม
วิธีปฏิบัติ
          ๑. ก่อนอื่นต้องล้วงปากปละคอผู้ป่วย เอาสิ่งแปลกปลอดหรือเสมหะออก
          ๒. ถ้าผู้ป่วยนอนหงายคอพับ ลิ้นส่วนหลังของผู้ป่วย จะเลื่อนลงไปอุดหลอดลมหายใจ ผู้ช่วยเหลือจึงควรจับศีรษะของผู้ป่วยหงายไปข้างหลังให้เต็มที่ หาผ้าพับหลายๆ ชั้นหนุนรองใต้บ่าเพื่อให้ศีรษะแหงนมากๆ ทางเดินหายใจสะดวก
          ๓. จับศีรษะของผู้ป่วยหงายไปทางหลังเต็มที่ ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าเต็มที่  และอ้าปากกว้าง ต่อมาให้ผนึกริมฝีปากของผู้ช่วยเหลือครอบลงไปบนจมูกของผู้ป่วย  โดยบีบปากผู้ป่วยให้แน่น เป็นวิธีเป่าลมเข้าจมูก หรืออีกทางหนึ่งเป็นการเป่าลมเข้าปากของผู้ป่วย โดยผู้ช่วยเหลือผนึกริมฝีปากลงไปครอบบนปากของผู้ป่วย ใช้นิ้วมือบีบจมูกของผู้ป่วยไว้ให้แน่น เป่าลมเข้าไปโดยแรง จนกระทั่งเห็นทรวงอกของผู้ป่วยขยายตัวขึ้น
          ๔. ผู้ป่วยเหลือถอนปากออกจากผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยหายใจออกมาเอง โดยสังเกตว่าระดับทรวงอกของผู้ป่วยเคลื่อนต่ำลง
          ๕. วิธีผายปอดนี้ให้ทำ ๑๒ ครั้งต่อนาที (หรือ ๕ วินาทีต่อหนึ่งครั้ง) สำหรับผู้ใหญ่ หากเป็นเด็กให้เป่าลม ๒๐ ครั้ง ต่อนาที (หรือ ๓ วินาทีต่อหนึ่งครั้ง)
 
          หากผู้ช่วยเหลือไม่ต้องการสัมผัสกับใบหน้าของผู้ป่วยโดยตรง อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าคลุมหน้าของผู้ป่วยไว้ แล้วเป่าลมผ่านผ้าเช็ดหน้าได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาพิษ หรือสำลักควันพิษ การเป่าลมเข้าปากหรือจมูกจะเป็นอันตรายแก่ผู้ช่วยเหลือควรใช้การผายปอดแบบกด หลังยกแขนจะดีกว่า
การผายปอดแบบเป่าลมเข้าปากหรือจมูกโดยตรง
          มีหลักอยู่ว่า ลมหายใจออกของผู้ช่วยเหลือยังมีออกซิเจนเพียงพอที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ หยุดหายใจได้
 
ประเด็นคำถาม
 
1. หลักการผายปอดแบบเป่าปากควรปฏิบัติอย่างไร
2. การผายปอดแบบกดหลังยกแขนขึ้นปฏิบัติอย่างไร

การบูรณาการ กับสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การเขียนบทความประสบการณ์เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อื่น
2 สาระการเรียนรู้คณิตศาตร์ สถิติข้อมูลการช่วยชีวิตผู้ป่วยเบื้องต้น
3 สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา การผายปอดแบบต่างๆ
กิจกรรมเสนอแนะ
1.มอบหมายให้นักเรียนจัดนิทรรศการการปฐมพยาบาล เรื่องการผายปอดแบบต่างๆ
2.เชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติม เช่น แพทย์ พยาบาล  เป็นต้น
3.ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในห้องสมุด
แหล่งที่มา:
1. https: //www.thairath.co.th/
2. https://www.google.co.th/imglanding 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3387

อัพเดทล่าสุด