มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


1,701 ผู้ชม


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน
(ทางการ)
ประชาชน คือ เจ้าของประเทศ
เกษตรศาสตร์ คือ ภาษีของประชาชน
(ไม่เป็นทางการ) ”

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตร อันเป็นฐานรากของการดำรงชีวิตแบบไทยตั้งแต่อดีตกาล[1] ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเป็นอันดับที่สามของไทย โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง [2][3]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี พ.ศ. 2447 [4][5] และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่เป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ มีผลให้วิทยาการทางการเกษตรพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา

ใน พ.ศ. 2486 รัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนกับโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนการป่าไม้เดิม จังหวัดแพร่) มาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยแรกเริ่ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการเปิดสอนเฉพาะด้านเกษตรศาสตร์ ต่อมา ได้มีการขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ บริหารธุรกิจ และ ศิลปศาสตร์ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม ในอดีตนิสิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากทุกวิทยาเขต


เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ[6] โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า[7][8] จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น ทรงจัดตั้งโรงเรียนช่างไหม[9] ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447[10] ณ ท้องที่ตำบล ทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งนับว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันเกี่ยวกับการเกษตรแห่งแรก จากนั้นในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างไหมแห่งนี้ เป็นโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก ในปีพ.ศ. 2449 เนื่องจากมีวิชาการเพาะปลูกพืชอื่น ๆเข้ามาประกอบ

ต่อมาโรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451วังสระปทุม[11] โดยที่กระทรวงเกษตราธิการได้ทำการรวบรวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกระทรวง 3 โรงเรียนคือโรงเรียนแผนที่ (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425) โรงเรียนกรมคลอง (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448) และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เป็นโรงเรียนเดียวกันเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2452

ด้วยเหตุที่วัตถุประสงค์ของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ ตรงกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในเรื่องของการจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน[12] ซึ่งได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกระทรวงธรรมการ โรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการจากเดิมที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการจึงย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2456โดยใช้ วังวินด์เซอร์[13] เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการที่ยุบเข้ารวมกับ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน

โรงเรียนเกษตราธิการ พระราชวังวินด์เซอร์
หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อแรกสร้าง
ภาพขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อในอดีต

และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงส่งนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ และ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทั้ง 2 ท่านได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนด้านการเกษตรโดยสังกัดกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาอีกครั้ง ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม" ตั้งอยู่ที่ ตำบลหอวังในปี พ.ศ. 2460 ภายหลังจึงได้มีการย้ายการเรียนการสอนไปที่ ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2461[14]

ในปี พ.ศ. 2474หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ร่วมกันขยายการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยภาคกลาง ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี ภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา และภาคใต้ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสงขลา

พ.ศ. 2478 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในภูมิภาคต่างๆได้ปิดตัวลงตามข้อบังคับของการปรับเปลี่ยนระบบราชการในขณะนั้น จึงได้มีการยุบรวมโรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน หลวงอิงคศรีกสิการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และพระช่วงเกษตรศิลปการ (สามบูรพาจารย์ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) [15][16] จึงเสนอให้รักษาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้)ไว้ที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม" ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะของโรงเรียนจนก่อตั้งเป็น "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" มีฐานะเป็นกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในกรมเกษตรและประมง ตามความต้องการของกระทรวงเกษตราธิการ

ต่อมากระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) ดังนั้น จึงได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งอยู่ที่ อ. บางเขนในปี พ.ศ. 2481 และให้ส่วนราชการที่ อำเภอสันทราย เป็น "โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์" เพื่อเป็นการเตรียมนิสิตให้วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ อำเภอบางเขนต่อไป [17]

ในปี พ.ศ. 2486 " วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ใน สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม [18] มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ[19] และให้แต่งตั้งข้าราชการประจำ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัย หลวงสินธุสงครามชัย ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก มีการเปิดสอนใน 4 คณะ[20] คือ โดยมี คณะกสิกรรมและสัตวบาล คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง (ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร[21] คณะประมง[22] คณะวนศาสตร์[23] คณะเศรษฐศาสตร์[24] และ คณะบริหารธุรกิจ[25])

[แก้] ชื่อและความหมาย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้คำว่า "เกษตรศาสตร์" เป็นชื่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัย และใช้คำว่า "Kasetsart" ในภาษาอังกฤษ

"เกษตรศาสตร์" มาจากคำว่า เกษตร (เขต หรือ แผ่นดิน) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับเขตและแผ่นดิน หรือ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Agriculture แปลว่า การเพาะปลูกแบบรูปธรรม มีรากคำมาจากภาษาละตินคือคำว่า agrīcultūra : agrī หมายความถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม และคำว่า cultūra หมายความถึง วัฒนธรรม, สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือการเพาะปลูก[26]

คำว่า "เกษตร" ถูกจารึกขึ้นในประวัติศาสตร์สยามครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยในปี พ.ศ. 1903 ได้มีการจัดตั้งการปกครองแบบจตุสดมภ์ขึ้น คือ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งตำแหน่งเสนาบดีกรมนาในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ขุนเกษตราธิบดี" มีอำนาจทั้งทางบริหารและอำนาจตุลาการในการดูแลการจัดเรื่องที่ดิน การจัดการชลประทานเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ การผลิต และการค้ากับนานาประเทศ ภายหลังจึงมีการเปลี่ยนชื่อกรมนา เป็นกระทรวงเกษตรพนิชการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตรพาณิชยการ, กระทรวงเศรษฐการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตร จนมาสู่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ [27][28]

ส่วนคำว่าเกษตรตามความหมายพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำจำกัดความไว้ว่า เกษตร [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; ซึ่งความหมายในโบราณกาลว่า เขต, แดน (ในภาษาสันสกฤตจะใช้คำว่า เกฺษตฺร ส่วนภาษาบาลีจะใช้คำว่า เขตฺต). เช่นคำว่า

พุทธเกษตร (พุทธ+เกษตร) แปลความหมายว่า ดินแดนแห่งพุทธ

กษัตริย์ (เกษตร+ขัตติย) แปลความหมายว่า ผู้ปกครองแผ่นดิน

ในระหว่าง พ.ศ. 2518 ได้มีการวิ่งเต้นขอให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลนานัปการ ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแถลงข่าวโจมตีซึ่งกันและกัน ระหว่างฝ่ายที่อยากให้เปลี่ยนชื่อและไม่ประสงค์ให้เปลี่ยนชื่อ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้นิสิตหยุดเรียนครึ่งวันเพื่อจัดทำประชามติในเรื่องนี้ ภายหลังจึงมีการเห็นสมควรให้มีการใช้ชื่อ เกษตรศาสตร์ เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการระลึกและย้ำเตือนถึงศาสตร์อันเป็นรากฐานวัฒนธรรม ความรู้ และวิทยาการของแผ่นดินไทย[29][30]

จนกระทั่งปีพ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสถึงความหมายของคำว่าเกษตรศาสตร์ตามชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้ว่า[31]

คำว่าเกษตรศาสตร์ อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนี้นั้น ฟังดูมีความหมายจำกัดอยู่เพียงการทำนา แต่ความจริง เกษตรศาสตร์ ตามความหมายในปัจจุบัน กินความกว้างขวางมาก คือรวมเอาวิชาหรือศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจิตใจของมนุษย์เข้าไว้เกือบทั้งหมด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงสอนวิชาการสาขาต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์ ทั้งฝ่ายศิลปศาสตร์ เรียกได้ว่าครบถ้วนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยในความหมายสากลอย่างสมบูรณ์

คำ "เกษตรศาสตร์" ที่เป็นวิสามานยนามอันเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้ อ่านว่า "กะ-เสด-สาด" แต่ในกรณีที่หมายถึงวิชาว่าด้วยการเกษตร คำนี้อ่านว่า "กะ-เสด-ตฺระ-สาด"

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตรามหาวิทยาลัย

[แก้] ตราประจำมหาวิทยาลัย

ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 104 ง [32] ตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง วงนอกสุดด้านบน มีข้อความว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านล่างมีข้อความว่า พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นตัวอักษรไทย ข้อความทั้งสองคั่นด้วยตราประจำยาม 2 ลาย วงที่ 2 มีกลีบบัวหงายและบัวคว่ำ สลับซ้อนกันอย่างละ 24 กลีบ และวงในสุดมีองค์พระพิรุณทรงนาคอยู่กึ่งกลาง พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์แสงชัยพระหัตถ์ซ้ายปางประธานพร พระยานาคพ่นน้ำออกมา 3 สายและมีลายกนก 3 ลาย

ตราของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี พ.ศ. ที่ก่อตั้งอยู่ในดวงตราด้วยเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ในประเทศไทย

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[แก้] อาคารประจำมหาวิทยาลัย

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรืออาคารจั่วสามมุข ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2497 ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 เป็นอาคารออกแบบด้วยศิลปะแบบไทยประยุกต์ มีเอกลักษณ์เป็นหน้าจั่วแบ่งมุขออกเป็น 3 ยอด โดยถอดแบบมาจาก “วังวินด์เซอร์” อาคารของโรงเรียนเกษตราธิการ ต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [33] ภายหลังจึงกลายเป็นต้นแบบของอัตลักษณ์ทางปรัชญาเกษตรศาสตร์ มี 3 ลักษณะทางจิตวิญญาณเกษตรศาสตร์ประกอบกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ [34]

จั่วสามมุข เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งหน้าจั่วนี้มีลักษณะของความโดดเด่นตรงที่มีความกว้างของส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอดที่เท่าเทียมกัน หมายความถึงการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนแห่งสยามประเทศ ภายในจำลักลาย บัว 3 ดอกเป็นดอกบัวที่ขึ้นพ้นเหนือน้ำ อันมีเต่าและปลาเป็นตัวแทนของสัตว์ร้ายต่างๆแหวกว่ายอยู่ หมายถึงบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 3 ระดับคือบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ที่ผ่านอุปสรรคต่างๆนานัปการตามหลักที่ปรากฏในพุทธโอวาท และมีการประกอบสัญลักษณ์ พระอุณาโลม อันมีลักษณะพ้องกับเลข ๙ ของไทย เป็นเครื่องหมายอันเป็นนิมิตหมายที่ดี หมายถึง ความรู้และความสว่างแก่โลก

ทั้งนี้สัญลักษณ์จั่วสามมุขยังปรากฏเป็นศิลปกรรมตามสถานที่ต่างๆของมหาวิทยาลัย เช่น อาคารสารนิเทศ 50 ปี, อาคารวชิรานุสรณ์, อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๔ รอบพระชันษาจุฬาภรณ์, อาคารประจำวิทยาเขตต่างๆ หรือแม้กระทั่งบริเวณขอบรั้วโดยรอบมหาวิทยาลัยก็ถูกถอดแบบให้มีลักษณะเป็น "จั่วสามมุข" ด้วยเช่นกัน [35][36]

สัญลักษณ์จั่วสามมุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[แก้] เพลงประจำมหาวิทยาลัย

เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร แต่งคำร้องถวาย[37]

[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย

สีเขียวใบไม้ [38]

[แก้] ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

"ต้นนนทรี" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน 9 ต้น ณ บริเวณหน้าหอประชุม มก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506เวลา 15.30 น.[39] และมีพระราชดำรัสถึงบุคลากรและนิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในคราวนั้นว่า

ต้นนนทรีทรงปลูกทั้ง ๙ ต้น และหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2552

ขอฝากต้นไม้นี้ให้มหาวิทยาลัยและนิสิตช่วยกันรักษาให้ดี อย่าให้หงอย ขอฝากนิสิตทั้งหลาย ขอให้ช่วยกันรักษาตัวเองให้ดี และอย่าลืมว่าตัวเองนั้นจะอยู่กันได้ก็ด้วยแผ่นดินไทย ขอให้ช่วยรักษาแผ่นดินไทยไว้ด้วย คนไทยถ้าไร้แผ่นดินก็จะหงอยกันหมด อยู่กันไม่ได้ และเราก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น[40]

สำหรับต้นนนทรี ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ทั้งเชื้อชาติและสัญชาติเป็นไทยแท้ ดังนั้นจึงมีความทรหดอดทนให้สีเขียวได้แม้ในยามแล้ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติอันพึงจะมีจะเป็นของเกษตรกรไทย ต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวนาน มีใบเขียวตลอดทั้งปี ลักษณะใบเป็นฝอยคล้ายใบกระถิน ดอกสีเหลืองประปรายด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า และชูสง่า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น มีความทนทานและปลูกได้ในทุกสภาพอากาศของไทย สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้เลือกให้เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[41][42]

[แก้] อธิการบดี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีอธิการบดีมาแล้ว 14 คน ดังรายพระนามและรายนามต่อไปนี้[43]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามอธิการบดีวาระการดำรงตำแหน่งอ้างอิง
1. พลเรือเอกสินธุ์ กมลนาวินพ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2488[1]
2. นายทวี บุณยเกตุพ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2489[2]
3. หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจพ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2501[3][4]
4. ศาสตราจารย์อินทรี จันทรสถิตย์พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2512[5] [6]
5. หม่อมหลวงชูชาติ กำภูพ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2510[7][8]
6. หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2517[9] [10][11]
7. ศาสตราจารย์ระพี สาคริกพ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2522[12][13]
8. ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณพ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2525[14]
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก ปรีชานนท์พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529[15] [16]
10. ศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม อารีกุลพ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2535[17][18][19]
11. ศาสตราจารย์ ดร.กำพล อดุลวิทย์พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539[20] [21]
12. ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สูตะบุตรพ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2544[22][23]
13. รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549[24]
14. รองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน[25]

[แก้] หน่วยงาน

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย วิทยาเขตที่เปิดเรียนแล้ว 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร, วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี, วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ส่วนทางด้านโครงการจัดตั้งวิทยาเขตลพบุรี ได้มีมติสภามหาวิทยาลัยให้ตั้งเป็น สถานีวิจัยในสังกัดสถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นการจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ ภายในจังหวัดลพบุรี และ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตกระบี่ ให้ตั้งเป็นศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกระบี่ เพื่อให้บริการในลักษณะการต่อยอดด้านวิชาการต่างๆ[44][45]

[แก้] วิทยาเขตบางเขน

เป็นวิทยาเขตหลัก ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 15 คณะ 1 วิทยาลัย ได้แก่

[แก้] วิทยาเขตกำแพงแสน

ภาพต้นชมพูพันทิพย์ในวิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม

เป็นวิทยาเขตที่สอง ตั้งอยู่ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 5 คณะ และ 1 คณะที่สอน 2 วิทยาเขต ได้แก่

[แก้] วิทยาเขตศรีราชา

ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

[แก้] วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

[แก้] โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี

เป็นการขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ ในปัจจุบัน ยังไม่มีการจัดตั้งคณะอย่างเป็นทางการ แต่ได้เปิดสอนในบางหลักสูตรแล้ว ได้แก่

  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) (ภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว (4 ปี) (ภาคพิเศษ )
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ)


[แก้] สถาบันสมทบ

[แก้] พื้นที่มหาวิทยาลัย

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ดำเนินภารกิจเพื่อสนองนโยบายการกระจายโอกาสทางการศึกษาของรัฐบาลใน 4 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน, วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร โดยมีแหล่งที่ตั้งและจำนวนพื้นที่ของแต่ละวิทยาเขต ดังนี้[46]

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 14 มุมถนนงามวงศ์งาน บรรจบกับถนนพหลโยธิน | พื้นที่: 846 ไร่
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เลขที่ 1 ม. 6 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 7 | พื้นที่: 7,951.75 ไร่
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เลขที่ 199 หมู่ 6 ถนนสุขุมวิท ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี | พื้นที่: 199 ไร่
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร บนทางหลวงหมายเลข ๒๒ (สกลนคร - นครพนม) และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสกลนครประมาณ 19 กิโลเมตร | พื้นที่: บริเวณวิทยาเขต 4,000 ไร่ หนองหานน้อย 700 ไร่

[แก้] การวิจัย

[แก้] มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-University) [47] ที่สมบูรณ์แบบ จึงได้วางเครือข่ายโครงสร้างและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกหน่วยงานและทุกวิทยาเขตให้มีความพร้อมในการรองรับการเป็น e-University โดยใช้นโยบายในการบริหารโครงสร้างและระบบดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจการนิสิต และการบริหารจัดการอย่างเต็มศักยภาพ

การดำเนินงานเพื่อพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการไปแล้วคือ การวางโครงสร้างเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในวิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขตต่าง ๆ โดยได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในปี พ.ศ. 2546 รวม 34.5 ล้านบาท และมหาวิทยาลัยได้เตรียมงบประมาณรองรับการวางโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไว้แล้วรวมกว่า 192 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยได้วางระบบเครือข่ายสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) และเริ่มใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติในหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ดำเนินการบริหารการประชุมโดยเริ่มระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ในการประชุมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อลดปริมาณการใช้เอกสาร ประหยัดค่าใช้จ่ายและเพื่อความสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการวางระบบโครงสร้างเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networking System) ในคณะ สำนัก สถาบัน และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็น Wireless Campus ซึ่งได้ดำเนินการแล้วหลายหน่วยงาน เช่น สำนักบริการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานอธิการบดี และ สำนักหอสมุด

โดยมีโครงการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการไปแล้วประกอบด้วย [48] โครงการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) โครงการระบบสำนักงานอัตโนมัติ (e-Office) โครงการระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) โครงการข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (e-News) โครงการไวร์เลสแคมปัส (Wireless Campus) โครงการบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) โครงการจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัย (e-Publication) โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) โครงการพัฒนา/ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานบริหารของมหาวิทยาลัย (e-MIS) โครงการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมด้านไอที (e-Personal) โครงการปรับปรุงและขยายเครือข่ายของมหาวิทยาลัย (e-Campus)

และมีแผนที่จะดำเนินงานในระยะต่อไปดังนี้ ดำเนินการโครงการ e-MIS ให้ครอบคลุมระบบงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย พัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อก้าวสู่การใช้ e-Learning ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพัฒนาโครงการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการก้าวสู่การเป็น e-University ที่สมบูรณ์แบบต่อไป ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายฐานข้อมูลอัจฉริยะทางการเกษตร (Intelligent Agriculture System - e-Ag) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การให้บริการข้อมูลทางการเกษตรโดยระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems) และการสื่อสารโดยผ่านทางสถานีวิทยุของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการให้บริการถามตอบข้อมูลผ่านทาง Agriculture Call Center ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

[แก้] มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณทางด้านการวิจัยมากที่สุดและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[49] [50] [51]โดยมหาวิทยาลัยได้วางนโยบาย มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยอย่างสมบูรณ์[52] โดยปรับปรุงกลไกเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยในภาพรวมให้เข้มแข็ง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างและพัฒนาบุคคากรของทางมหาวิทยาลัย ผลงานวิจัยของนักศึกษา ไปต่อยอดเทคโนโลยีที่ตอบสนองตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์นับเป็นคณะที่สองต่อจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร ที่สร้างความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และคาดว่าอนาคตจะได้ขยายสู่คณะอื่นต่อไป โดยเฉพาะคณะเกษตร และคณะประมงซึ่งนับเป็นคณะเริ่มแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [53][54]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี โครงการวิจัยที่ได้รับเงินอุดหนุนวิจัยภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[55] โดยมีการคัดเลือกผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดแบ่งตามประเภทของหลักเกณฑ์ต่างๆ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เงินอุดหนุนวิจัยทั่วไป ได้แก่ โครงการวิจัย 3 สาขา คือ โครงการวิจัยสาขาเกษตร โครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการวิจัยสาขาสังคมศาสตรและพฤติกรรม กลุ่มที่ 2 เงินอุดหนุนวิจัยเฉพาะกิจ

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีหน่วยงานทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารการประสานงานด้านวิจัย และพัฒนาทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[56] และเพื่อให้สถาบันวิจัยและพัฒนา ทำหน้าที่ประสานและบริหารงานวิจัย และบริการวิชาการ และงานวิจัย ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[57]

[แก้] อันดับมหาวิทยาลัย

อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"[58] โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัย และ กลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและ เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 8 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย [59]

ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (Webometrics Ranking of World Universities) โดยเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลของทุกมหาวิทยาลัยที่เผยแพร่ในฐานะข้อมูลต่างๆ ผ่านทาง website ของสถาบัน และบนฐานข้อมูลอื่นๆ ซึ่งผลการจัดอันดับในเดือนกรกฎาคม 2550 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[60]

ในปี พ.ศ. 2550 นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ (THES) ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยแบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยี สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยในภาพรวมแล้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศไทย[61]

[แก้] การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

[แก้] ระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[62]
ทบวงมหาวิทยาลัยสอบคัดเลือกโดยรับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ เทียบเท่า โดยทบวงมหาวิทยาลัยจะประกาศรับประมาณเดือน มีนาคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสอบคัดเลือกหรือรับเข้าโดยตรง ตามโครงการต่างๆ ดังนี้
สอบคัดเลือกเข้าศีกษาตามโครงการส่งเสริมโอกาสศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำหรับนักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในท้องถิ่น (โควต้าพิเศษ) โดยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กำหนดให้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 สังกัดโรงเรียนที่ตั้งอยู่ ในจังหวัด นครสวรรค์ พิจิตร ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และในเขตการศึกษาต่าง ๆ คือ

โดยจะประกาศรับสมัครในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือตามที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้โรงเรียนที่อยู่ในโครงการทราบ โดยตรง

สอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามโครงการผู้ที่มีความสามารถทาง กีฬาดีเด่น ประกาศรับสมัครในช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม
สอบคัดเลือกตามโครงการวิศวกรรมศาสตร์ภาคพิเศษและ อุตสาหกรรมเกษตรภาคพิเศษ ประกาศรับในช่วงเดือน มีนาคม และวิทยาลัยชุมชนศรีราชา ประกาศรับช่วงเดือนเมษายน
รับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในโครงการพัฒนา และส่งเสริมผู้มีความสามารพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (พสวท.) และโครงการเร่งรัดผลิตครูทางคณิตศาสตร์
รับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในโครงการของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) เข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และจากผู้มีความสามารถทาง การวิจัยดีเด่น เข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์
รับจากข้าราชการตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องซึ่งหน่วยงาน ต้นสังกัดระดับกรม เป็นผู้เสนอชื่อขอเข้าศึกษา
รับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามเข้า เรียนต่อ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆของ กระทรวงมหาดไทย
รับจากผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากต่างจังหวัด เข้าศึกษา ในคณะวนศาสตร์ ซึ่งคณะวนศาสตร์จะแจ้งให้โรงเรียนทราบโดยตรง

[แก้] ระดับปริญญาโท

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ [63]

ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ดังนี้

ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ

ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และได้คะแนนเฉลี่ยในวิชาเอกที่จะสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท (ไม่น้อยกว่า 5 รายวิชา) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชา (เงื่อนไขการทำงาน 3 ปี นับจากวันที่ทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี สำหรับผู้สมัครในภาคต้น และวันที่ 1 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับผู้สมัครในภาคปลาย


[แก้] ระดับปริญญาเอก

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ [64]

ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และเคยผ่านงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์มาแล้ว แต่ถ้าสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ไม่ผ่านการทำวิทยานิพนธ์ จะต้องมีผลงานวิจัย หรือมีประสบการณ์วิจัยในสายงานที่จะเข้าศึกษาและเป็นที่ยอมรับของสาขานั้น

นอกจากนี้การรับเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จะรับสมัครโดยโครงการต่าง ๆ ที่แต่ละคณะได้เปิดโครงการ ก็จะมีการรับสมัครโดยหน่วยงานของโครงการโดยตรง


[แก้] ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

[แก้] หน่วยงานที่ควบคุมดูแล

  • องค์การนิสิต เป็นองค์กรนิสิตที่ทำหน้าที่ดูแลกิจกรรมนิสิตในภาครวม ประกอบด้วยสภาผู้แทนนิสิต และองค์การบริหารของแต่ละวิทยาเขต โดยจะเลือกตัวแทนขึ้นมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การนิสิต
  • สภาผู้แทนนิสิต องค์การนิสิต ทำหน้าที่ในการออกกฏระเบียบในการดำเนินกิจกรรมนิสิต และตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมขององค์การบริหารองค์การนิสิต เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับว่าด้วยธรรมนูญนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสภาผู้แทนนิสิต องค์การนิสิตนั้น จะแบ่งออกตามวิทยาเขตต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • องค์การบริหาร องค์การนิสิต ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมนิสิตหลักๆของแต่ละวิทยาเขตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น กิจกรรมการรับน้องใหม่, สอนน้องร้องเพลง, ทัวร์วิทยาเขต, กิจกรรมงานลอยกระทง เป็นต้น นอกจากนี้ยังควบคุมดูแลชมรมนิสิตของแต่ละวิทยาเขตให้ดำเนินกิจกรรมด้วยความเรียบร้อยด้วย
  • สโมสรนิสิต ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมให้กับนิสิตของแต่ละคณะ เช่น สโมสรนิสิตคณะเกษตร, สโมสรนิสิคณะเศรษฐศาสตร์, สโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์, สโมสรนิสิตคณะเกษตร กำแพงแสน เป็นต้น
  • ชมรมนิสิต เป็นหน่วยงานนิสิตที่ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของชมรมต่างๆ ได้แก่ ชมรม เคยู แบนด์ (วงดนตรี), ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศ, ชมรมวรรณศิลป์, ชมรมเชียร์และแปรอักษร, ชมรมโรตาแรคท์, ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท, ชมรม KU Chorus, ชมรมฟันดาบ, ชมรมศิลปะการแสดง, ชมรมดนตรีไทย, ชมรมส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ, ชมรมส่งเสริมศิลปะการพูด, ชมรมโขนละคอนเกษตรศาสตร์, ชมรมพุทธศาสน์, ชมรมคาทอลิก, ชมรมวิทยุสมัครเล่น, ชมรมสมาธิเพื่อคุณภาพชีวิต, ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ, ชมรมคนสร้างป่า, ชมรมธารความรู้นนทรี, ชมรมเห็ด และ ชมรมรักษ์ช้างไทย
  • ชุมนุมนิสิต เป็นองค์กรกิจกรรมนิสิตที่ย่อยจากสโมสรนิสิต ที่ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมเฉพาะด้าน เช่น ชุมนุมนิสิตภาควิชากีฏวิทยา สโมสรนิสิตคณะเกษตร กำแพงแสน, ชุมนุมนิสิตสานฝันคนรักม้า สโมสรนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์, ชุมนุมนิสิตวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์, ชุมนุมรัฐศาสตร์ เป็นต้น

[แก้] กิจกรรมวิชาการ

  • งานเกษตรแห่งชาติ เป็นงานวิชาการด้านการเกษตรที่จัดร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจัดในส่วนกลางที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน สลับกับในส่วนของภูมิภาคที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 โดยใช้ชื่องานว่า "งานประจำปีเกษตรกลางบางเขน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดงานอีกด้วย [65]
  • งานเกษตรแฟร์ เป็นงานแสดงวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจัดปี เว้นปี สลับกับงานเกษตรแห่งชาติ
  • งานเกษตรกำแพงแสน เป็นการจัดแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-10 ธันวาคมของทุกปี
  • งานเกษตรศรีราชาแฟร์ เป็นการจัดแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 มีงานบันเทิง ของกินของใช้มากมาย

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางวิชาการของคณะต่างๆ ได้แก่ งานเส้นทางอนุรักษ์บนร่างสืบของคณะวนศาสตร์, งานสัปดาห์สื่อสารของคณะมนุษยศาสตร์, งานเศรษฐศาสตร์วิชาการของคณะเศรษฐศาสตร์ , Bus weekของคณะบริหารธุรกิจ, งานวันรพีของภาควิชานิติศาสตร์, งานตามรอยประชาธิปไตยของภาควิชารัฐศาสตร์

[แก้] กิจกรรมศิลปวัฒนธรรม

  • คอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT) เป็นการแสดงคอนเสิร์ตร่วมของ 3 สถาบันที่ได้รับพระราชทานเพลงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วันลอยกระทง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดงานลอยกระทงแบบลูกเกษตร โดยองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ร่วมกับสโมสรนิสิต 14 คณะชมรม จัดกิจกรรมวันลอยกระทงสืบสานและรักษาประเพณีอันดีงามของไทย ณ บริเวณรอบสระน้ำ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พร้อมกิจกรรมการแสดงบนเวที การประกวดนางนพมาศ และการออกร้านค้าของนิสิตและผู้ประกอบการ [66]
  • ธิดาเกษตร งานประกวดบุคคลที่มีความงามที่มีความรู้ด้านการเกษตร[67]

[แก้] กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาสมัคร

  • การออกค่าย การออกค่ายอาสาสมัครของนิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีหลายองค์กรนิสิต เช่น ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท, ชมรมนนทรีทักษิณ, ชุมนุมรัฐศาสตร์ เป็นต้น

ทั้งนี้นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่จะได้รับการเสนอชื่อการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จะต้องเป็นนิสิตที่ทำกิจกรรมในด้านต่างๆให้ครบหน่วยชั่วโมงกิจกรรม โดยกิจกรรมแต่ละประเภทจะเป็นการพัฒนานิสิตในด้าน จริยธรรมและคุณธรรม วิชาการและทักษะวิชาชีพ สุขภาพ โดยเป็นการพัฒนาตนเองและเป็นการทำประโยชน์แก่สังคมอีกด้วย

[แก้] วันสำคัญที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[68][69] ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยถือเอาการมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฉบับแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดพิธีวางพวงมาลาคารวะสามบูรพาจารย์และพิธีรดน้ำบูรพาจารย์อาวุโส เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบทุกๆปี ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

วันรำลึกถึงรัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลางบางเขน [70] เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าวในแปลงนาหลังตึกขาว ซึ่งปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร เหตุการณ์ในวันนั้นจึงนับเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่ต้องจารึกไว้ประวัติศาสตร์การเกษตรของไทยและของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตลอดไป

วันนนทรีทรงปลูก ดนตรีทรงโปรด[71] วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 วันประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ มาทรงปลูกต้นนนทรี และพระราชทานต้นนนทรีเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 9 ต้น ณ บริเวณด้านหน้าอาคารหอประชุม มก. เมื่อ เวลา 15.30 น. และหลังจากทรงปลูกต้นนนทรีแล้ว ได้ทรงดนตรีที่หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก โดยล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จเข้าสู่หอประชุม เพื่อทรงดนตรีร่วมกับวง อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งมี อาจารย์ และ ศิษย์เก่า แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รวมอยู่ด้วย ได้แก่ อ.ระพี สาคริก นายอวบ เหมะรัชตะ เป็นต้น เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นเหตุการณ์ที่นำมาสู่การเสด็จ "เยี่ยมต้นนนทรี" และ "ทรงดนตรี" อีก 9 ครั้งในปีต่อๆ มา

วันหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร[72] วันหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นวันรำลึกซึ่งหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ทรงเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระหว่างชาติ ทรงได้รับรางวัลแมกไซไซด้านบริการสาธารณะ และที่สำคัญทรงเป็นได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดพิธีรำลึกในวันที่ 22 มิถุนายน ของทุกปี ณ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันสระสุวรรณชาดพระราชทาน [73] [74] วันสระสุวรรณชาดพระราชทาน เป็นวันครบรอบสระสุวรรณชาดซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสำหรับการรักษาแบบธาราบำบัดให้สุนัขที่ป่วยด้วยโรคข้อกระดูกและระบบประสาท โดยเป็นเงินพระราชทานจากรายได้การจำหน่ายเสื้อคุณทองแดง พร้อมทั้งพระราชทานชื่อสระว่ายน้ำว่า สระสุวรรณชาด เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดสระสุวรรณชาด ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในครั้งนี้ด้วย

[แก้] พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในการพิธีประสาทปริญญาและอนุปริญญา ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน[75]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พ.ศ. 2496

มีหลักฐานจากสูจิบัตรวันพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมพ.ศ. 2493 โดยสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในคราวนั้นคือ ห้องโถงชั้นบนตึกสัตวบาล ซึ่งเป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรระหว่าง พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2495 [อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน][76][77]

ต่อมาพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร แก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษา ได้ใช้อาคารห้องสมุดกลางในขณะนั้นในระหว่างปี พ.ศ. 2496 ถึงปี พ.ศ. 2499[78] และหลังจากหอประชุมใหญ่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 จึงได้ใช้อาคารหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการย้ายสถานที่ในการพระราชทานปริญญาบัตรจากหอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปเป็น อาคารใหม่ สวนอัมพร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปทรงประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2519 - 2520 โดยอาคารใหม่ สวนอัมพร นี้ เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรระหว่าง พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2528[79]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี พ.ศ. 2529 ได้กลับมาจัดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกครั้ง แต่เปลี่ยนสถานที่จากหอประชุมเป็นอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ซึ่งมีขนาดกว้างขวางกว่าและจุผู้เข้าร่วมพิธีได้มากกว่า โดยในวาระนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีเปิดอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ซึ่งตั้งชื่อตามพระนามพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และใช้เป็นสถานพระราชทานปริญญาบัตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จวบจนถึงปัจจุบัน[80]

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๑ ณ อาคารจักรพันธ์ เพ็ญศิริ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [81]

และในปีพ.ศ. 2544จนถึง ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากทุกวิทยาเขต โดยมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี[82]

[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[แก้] เกร็ด

  • สองกษัตริย์ทรงเป็นกษัตริย์เกษตร
เสด็จมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2489

วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ครั้งทรงพระอริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงโดยเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มาทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขนและทอดพระเนตรกิจการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทรงมีพระราชดำรัสมีใจความตอนหนึ่งว่า[83] [84]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นี้นับว่าเป็นสถานศึกษาที่สำคัญส่วนหนึ่งของชาติด้วยว่าการเกษตรเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่พื้นภูมิประเทศเราโดยทั่ว ๆ ไป จะเป็นการทำนาก็ดี การเพาะปลูกพืชพรรณใด ๆ ก็ดี ย่อมได้ผลเจริญงอกงามทั้งนั้น ฉะนั้นการที่ท่านได้เข้ามาเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนี้ขอให้ท่านจงหมั่นพยายามศึกษาแสวงหาความรู้ความชำนาญให้จน เป็นผลสำเร็จ เมื่อท่านศึกษาวิชาต่าง ๆ จบหลักสูตรแล้ว จะได้นำวิชาที่ได้ศึกษานี้ไปใช้ในครอบครัวของท่าน และจงช่วยแนะนำ ให้ญาติมิตรและเพื่อนบ้านใกล้เคียงของท่าน ได้ประกอบตามแนวความรู้ความชำนาญของท่าน เพื่อจะได้เป็นทางเผยแพร่ในการ เกษตรกรรม ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ผลที่จะได้รับก็คือทางครอบครัวท่านก็จะมีอาชีพเป็นหลักฐานหรือถ้าจะประกอบให้เป็นอาชีพที่ เป็นล่ำเป็นสัน ความอุดมสมบูรณ์ในด้านการเกษตรก็จะเป็นของชาติในภายหน้าต่อไป

—

— พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ครั้นเสด็จเยือน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๙


การเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งนั้น เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ต่อศาสตร์ทางการเกษตรอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทั้งสองพระองค์ทรงสนพระทัยด้านการเกษตรอันเป็นรากฐานของประเทศชาติ อีกทั้งการเสด็จพระราชดำเนินเยือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในครั้งนี้เอง ถือเป็นพระราชกรณียกิจครั้งท้ายสุดของรัชกาลที่ 8 ก่อนเสด็จสวรรคตด้วย[85][86]

  • เสด็จประทับแรม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เวลา 20.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงนำคุณทองแดง มาเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ร่วมเสด็จพระราชดำเนินด้วย ซึ่งพระองค์ได้ประทับแรม ณ ห้อง 301 ชั้น 3 คณะสัตวแพทย์ และเสด็จพระราชดำเนินกลับในเวลา ประมาณ 09.00 น. ของวันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 [87]

  • ประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โรงเรียนช่างไหม ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผลจากการชำระข้อมูลทางประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ภายหลังที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราโชวาทถึงประวัติศาสตร์ในการศึกษาเกี่ยวกับการเกษตร ว่า

ในเวลาต่อมาข้าพเจ้าได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ก็ทรงเห็นความสำคัญของชาวนาชาวไร่ จนถึงกับทรงส่งพระราชโอรสคือ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงเดินทางฝ่าความทุรกันดารไปตั้งศูนย์การเลี้ยงไหมที่จังหวัดบุรีรัมย์

[88]


  • ตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น มีลักษณะสำคัญเหมือนกัน คือ รูปพระพิรุณ เนื่องจาก ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน โดยในปี พ.ศ. 2481 กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่ อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ตั้งวิทยาเขตหลักของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน และได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแม่โจ้มาบางเขน[89]

อัพเดทล่าสุด