ส่องการบริหารคนสไตล์ญี่ปุ่นเรียนรู้เพื่อปรับใช้กับองค์กร
ผ่านมาจะเห็นว่าในแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยได้มีการนำเข้าเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ปัจจุบันการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นหัวใจสำคัญคือ คน เพราะการพัฒนาคนเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความสามารถในการแข่งขันทุกๆ ด้าน
ศ.ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพาณิชกุล ประธานสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ได้ให้ข้อมูลการพัฒนาคนสไตล์ญี่ปุ่น ว่า ญี่ปุ่นได้วางแผนพัฒนาคนตั้งแต่ระบบการศึกษา เริ่มจากการศึกษาในโรงเรียนทั่วไป และการศึกษานอกระบบ เช่น การฝึกอบรมต่างๆ ซึ่งให้ความสำคัญตั้งแต่ประถม มัธยม ซึ่งเป็นการศึกษาที่เคร่งครัดตลอดระยะเวลา 12 ปีเต็มและได้เริ่มผ่อนคลายเมื่อสามารถสอบเข้ามหาวิทยาได้
การให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคนยังต่อเนื่องมาสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยการฝึกอบรมจากบริษัท แต่สิ่งเหล่านี้พอเข้าระบบการทำงาน ไม่ว่าจบมหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ละบริษัทจะมีการอบรมที่ดี ส่งศึกษาดูงาน สร้างสิ่งจูงใจคนเมื่อเข้าบริษัทคือ เงินเดือนเริ่มแรกทุกคนเท่ากันหมดไม่ว่าจบสาขาวิชาไหนหรือมหาวิทยาลัยอะไร จากนั้นจะเริ่มฝึกอบรมและแสดงฝีมือ จากนั้นความก้าวหน้าก็จะต่างกันเพราะฝีมือต่างกันซึ่งเป็นกลไกการสร้างคนด้วยระบบบริษัท
ญี่ปุ่นมีระบบเทรนนิ่งไม่จะเป็น TQC QCC พยายามสอนให้คนคอยสังเกต หาสาเหตุ และปรับปรุงไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ที่ว่า productivity ได้แค่นี้พอใจแล้วหยุดพัฒนา แต่เขาจะพัฒนาไปเรื่อยๆ คือวิธีระบบสอนให้ทำงานเป็นทีม ซึ่งมาจากวัฒนาธรรม อย่างแข่งกีฬา ซึ่งกีฬาที่เน้นมากๆ คือแข่งเป็นทีม ปลูกฝั่งมาตั้งแต่เด็ก
นอกจากนี้การเติบโตในสายอาชีพ องค์กรญี่ปุ่นจะพัฒนาพนักงานที่วัดจากคุณภาพไม่ว่าจะจบการศึกษาในสายบริหารหรือสายวิชาชีพ และ จะมีการการพัฒนาตลอดเวลา คนส่วนใหญ่จะอยู่ในตำแหน่งเดิมไม่เกิน 4 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่การเรียนรู้งาน สร้างผลงานและย้ายไปสู่การเรียนรู้แผนกอื่น บางครั้งย้ายข้ามแผนกทำให้คนรู้งานหลากหลายขึ้น
แต่ทั้งนี้การพัฒนาคนสไตล์ญี่ปุ่นก็มีจุดอ่อน คือ วัฒนธรรมการสร้างทีมเวิร์ค วัฒนธรรมที่เห็นชอบทำในรูปแบบเดียวกันแต่ถ้าใครที่ผิดแพรก โดดเด่นมากๆ จะถูกคนอิจฉา เหมือนสำนวนของญี่ปุ่นที่ว่า
ถ้าตะปูโผล่หัวจะถูกตอกกลับลงไป สังเกตเห็นว่าการพัฒนาของญี่ปุ่นจะทำอย่างช้าๆ ถ้าเร็วเกินไปคนจะต่อต้าน เปรียบเทียบกับอเมริกาคือการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะคนมีหลากหลายมีความคิดเห็นต่างกัน ถ้ามีอะไรดีพิสูจน์ได้เห็นก็จะเติบโตแบบก้าวกระโดด
ที่ผ่านมา ส.ท.ท. ตระหนักให้องค์กรไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร จะห็นว่าตลอดระยะเวลา 35 ปีที่ได้ก่อตั้งมานั้น จะเริ่มพัฒนาคนเทคนิค ไม่ว่าเรื่องประหยัดพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพงาน ขณะเดียวกันได้เพิ่มหลักสูตรพัฒนาคนที่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการ เพราะคนนอกจากความรู้ด้านเทคนิคที่ดีแล้วต้องเติบโตเป็นผู้บริหารต่อไป ดังนั้นความรู้ด้านการจัดการจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อพัฒนาคนในหลายมิติ
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์