https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อิสลามกับการหย่าร้าง MUSLIMTHAIPOST

 

อิสลามกับการหย่าร้าง


2,604 ผู้ชม


อิสลามกับการหย่าร้าง

อิสลามกับการหย่าร้าง


ถึงแม้อิสลามจะถือว่าความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว คือความมั่นคงแข็งแรงของสังคม และได้ทำให้การแต่งงานเป็นเรื่องง่ายสำหรับหนุ่มสาวมุสลิมที่ต้องการจะแต่งงานสร้างครอบครัว แต่อิสลามก็เป็นวิถีแห่งชีวิตที่ยอมรับความจริงว่าในบางครั้งคู่สมรสบางคู่อาจจะไม่สามารถดำเนินชีวิตเข้ากันได้ด้วยดี และมีปัญหาบางอย่างที่ทำให้การใช้ชีวิตร่วมกันมีแต่จะสร้างความปวดร้าวขมขื่นให้แก่กันและกัน และอาจจะสร้างปัญหาให้แก่ลูกและญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายด้วย   ดังนั้น ถ้าหากการหย่าร้างทั้งสองฝ่ายออกจากกันจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดของทั้งสองฝ่าย อิสลามก็อนุมัติให้มีการหย่าร้างกันได้ แต่การอนุมัตินี้ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า "อัลลอฮฺ ซ.บ. ทรงอนุมัติให้ด้วยความรังเกียจ และการหย่าร้างเป็นสิ่งที่ทำให้บัลลังก์ของพระองค์ต้องสั่นสะเทือน"

 

กฎเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่อิสลามวางไว้สำหรับการหย่าร้างมีดังนี้ :

1.  ในสถานการณ์ปกติแล้ว สามีเท่านั้นที่มีสิทธิจะขอหย่าร้างภรรยาของตน โดยการกล่าวออกมาด้วยวาจาหรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

2.  การกล่าวคำหย่าในขณะที่มีอารมณ์โกรธหรือโมโหถือว่าไม่มีผลในเมื่อพบรักกันด้วยดีแล้ว ถ้าจะจากก็ต้องจากกันด้วยดีและให้เกียรติแก่ภรรยา

3.  เมื่อกล่าวคำหย่าแล้ว มิใช่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะแยกขาดจากกันตรงนั้นเลย ฝ่ายสามีจะต้องรอให้ฝ่ายหญิงพ้น “อิดด๊ะฮฺ” คือพ้นจากการมีประจำเดือน 3 ครั้งเสียก่อน ในช่วงระยะเวลาแห่งการรอคอยให้ประจำเดือนพ้น 3 ครั้งนี้ ภรรยาจะไปแต่งงานใหม่ยังไม่ได้ ในขณะที่ฝ่ายชายยังคงต้องให้การเลี้ยงดูภรรยาตามปกติอยู่ การกำหนดระยะเวลาแห่งการรอคอยนี้ก็เพื่อที่จะดูว่าภรรยามีทารกอยู่ในครรภ์หรือไม่ หากมีก็จะได้รู้ว่าทารกในครรภ์เป็นลูกใคร เหตุผลอีกประการหนึ่ง ก็คือเพื่อที่จะประวิงเวลาสามีภรรยาที่คิดจะหย่าร้างกันไว้สักระยะหนึ่ง เผื่อว่าในช่วงเวลานี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายอาจจะทบทวนการกระทำของตัวเอง หรือเห็นความดีของอีกฝ่ายหนึ่งและหันกลับมาคืนดีกัน หากเป็นเช่นนั้น ทั้งสองฝ่ายก็สามารถกลับมาอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาตามปกติได้ ถ้ายังไม่เกินช่วงเวลา ”อิดด๊ะฮฺ”

4.  ถ้าเกินช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้ว หากทั้งสองฝ่ายต้องการจะคืนดีกันและหันกลับมาอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาอีก ทั้งคู่จะต้องทำพิธีแต่งงานใหม่ตามหลักศาสนาก่อนจึงจะอยู่ร่วมกันได้

5.  ถ้าหากการหย่าร้างเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกถึง 3 ครั้ง อิสลามได้กำหนดบทลงโทษสามีผู้นั้นไว้โดยการไม่อนุญาตให้กลับมาแต่งงานกับภรรยาที่ตัวเองหย่าไปแล้วได้อีก จนกว่าภรรยาของตนไปแต่งงานกับชายอื่นและอยู่กินฉันสามีภรรยาจริง ๆ ก่อน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ภรรยาได้เลือกสามีใหม่ ถ้านางพอใจที่จะอยู่กับสามีใหม่นางก็มีสิทธิ์ที่จะปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากความทุกข์จากสามีเก่าได้ แต่ถ้านางต้องการจะกลับมาหาสามีเก่า นางก็จะต้องให้สามีใหม่หย่าร้างตนเองเสียก่อน สามีเก่าถึงจะได้รับอนุญาตให้กลับมาแต่งงานกับภรรยาเก่าของตัวเองได้

หมายเหตุสำคัญ

นอกจากการหย่าร้างจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สามีภรรยาต้องแยกทางกันแล้ว ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความเป็นสามีภรรยากันต้องขาดสบั้นลงทันที โดยที่ไม่ต้องมีการหย่ากัน นั่นคือ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตกศาสนาไปไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม เช่น การปฏิเสธหลักศรัทธาของอิสลาม การไปกราบไหว้สิ่งเคารพบูชาอื่น ๆ การเชื่อหมอดู และดูหมอ การเชื่อในวัตถุมงคล หรือของขลัง การเข้าไปบวชพระหรือบวชชี และอื่น ๆ เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ การอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาต่อไปถือว่าเป็นการผิดประเวณีที่จะมีแต่บาปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากจะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาต่อไป ฝ่ายที่ตกศาสนาออกไปจะต้อง “เตาบัต” ตัวเสียก่อน นั่นคือ สำนึกผิด เสียใจในสิ่งที่ทำผิดไป ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺและสัญญาต่อพระองค์ว่าจะไม่กลับไปกระทำอีก หลังจากนั้นก็กล่าวคำปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามเสียก่อน จึงจะแต่งงานอยู่ร่วมกันต่อไปได้


อัพเดทล่าสุด