รู้ก่อนสาย! ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย


980 ผู้ชม

ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่


พนักงานตรวจแรงงานเชิญกรรมการผู้จัดการของจำเลยไปพบ เนื่องจากโจทก์ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถึงวันนัดจึงได้ทำบันทึกข้อความขึ้น เห็นได้ว่าบันทึกข้อความดังกล่าวทำขึ้น สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องได้ในกรณีจำเลยผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ. นี้ เงินที่โจทก์รับจากจำเลยตามที่ปรากฏในบันทึกข้อความคือเงินตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานดังกล่าวอันเป็นเงินที่อยู่ในกรอบสิทธิที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ตาม มาตรา 123 วรรคหนึ่ง และพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ตามมาตรา 124 ไม่มีข้อความในบันทึก ข้อความว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกร้องจากจำเลยตามกฎหมายอื่นอีก เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดย ไม่เป็นธรรมเป็นการฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไม่ได้ และไม่อยู่ในอำนาจดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อความดังกล่าวเป็นการประนีประนอมยอมความรวมไปถึงให้ระงับข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายและค่าเสียโอกาส ดังกล่าวด้วย


ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียโอกาสตามฟ้องหรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไป

เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งของดสืบพยานทำให้ข้อเท็จจริงไม่พอวินิจฉัยมีปัญหาดังกล่าว เป็นสมควร ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์จำเลยเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไป

| --------------------- |

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อัพเดทล่าสุด